Show simple item record

dc.contributor.authorวิไลภรณ์ โคตรบึงแกth
dc.date.accessioned2021-02-03T02:19:18Z
dc.date.available2021-02-03T02:19:18Z
dc.date.issued2564-02-03
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/978
dc.description.abstractประเทศไทย โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการในระดับอาเซียน โดยเมื่อปี พ.ศ. 2554 ได้มีการยกร่างเอกสารหลักการของการประกาศทศวรรษคนพิการอาเซียนและแผนในการขับเคลื่อนทศวรรษคนพิการแห่งอาเซียน พ.ศ. 2554 - 2563: ปีแห่งการส่งเสริมการพัฒนางานด้านคนพิการแบบบูรณาการในอาเซียน (Concept Note and Mobilization Plan of ASEAN Decade for Persons with Disabilities: The Thematic Years to Promote Disability Inclusive Development in ASEAN) และนำเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสด้านสังคมและการพัฒนา (Senior Official Meeting on Social Welfare and Development (SOMSWD) ครั้งที่ 6 และการประชุมระดับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Senior Official Meeting on ASEAN Socio Cultural Community) ครั้งที่ 8 กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จนกระทั่งได้มีการประกาศทศวรรษคนพิการอาเซียน ในคราวการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 19 ที่จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อให้การขับเคลื่อนงานด้านคนพิการในระดับอาเซียนมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งหลังจากการประกาศทศวรรษคนอาเซียน ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีการขับเคลื่อนทศวรรษผ่านโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องในระดับอาเซียนและในระดับประเทศ ที่สนับสนุนการเข้าถึงสิทธิของคนพิการ การสร้างสังคมที่ไม่เลือกปฏิบัติต่อคนพิการและคนพิการถูกนับรวมในฐานะผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของการพัฒนา และเสริมสร้างความตระหนักรู้และเจตคติเชิงบวกต่อความพิการ เป็นต้น ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการกำหนดให้มีกรอบนโยบายในการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการในอาเซียนเพื่อประกันว่าประเด็นด้านคนพิการจะได้รับความสำคัญและพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนากระแสหลัก และด้วยทศวรรษคนพิการอาเซียนจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2563 ดังนั้น เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับการจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการในอาเซียนในระยะต่อไป โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินผลการดำเนินการตามทศวรรษคนพิการอาเซียน พ.ศ. 2554-2563 และการขับเคลื่อนในระยะต่อไป จึงดำเนินการทบทวน และวิเคราะห์การดำเนินการตามทศวรรษคนพิการอาเซียน พ.ศ. 2554 - 2563 และผลที่ได้รับจากการดำเนินการตามทศวรรษฯ ในภูมิภาคอาเซียน ทบทวนทิศทางการพัฒนากระแสหลักที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจข้อมูลจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมทั้งจัดทำแผนทศวรรษคนพิการอาเซียนในระยะต่อไป เพื่อนำเสนอในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนสวัสดิการสังคมและการพัฒนาต่อไป ผลจาการศึกษาเอกสารพบว่ากรอบการพัฒนาระดับสากลฉบับหนึ่งที่สำคัญ ได้แก่ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ ซึ่งขณะนี้ทุกประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาเรียบร้อยแล้ว อีกทั้งผลจากการศึกษาซึ่งได้พยายามเทียบเคียงกรอบการพัฒนาระดับสากล ภูมิภาค และอาเซียน พบว่า กรอบการพัฒนาทุกระดับมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน ดังนั้น หากอาเซียนสามารถสังเคราะห์และกำหนดประเด็นการขับเคลื่อนงานด้านคนพิการในอาเซียนให้สอดรับไปกับกรอบการพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะทำให้การขับเคลื่อนประเด็นด้านคนพิการไม่ถูกวางเป็นลำดับรองและสามารถตอบโจทย์ทั้งการอนุวัติอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการและการดำเนินงานตามกรอบการพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไปพร้อมกัน การประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเบื้องต้นจากผู้มีส่วนเสีย ให้ความเห็นเกี่ยวกับช่องว่างของการขับเคลื่อนประเด็นด้านคนพิการจากทศวรรษที่ผ่านมา และให้ความสำคัญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่เป็นประเด็นฉุกเฉินเร่งด่วนและส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วโลก พร้อมเน้นย้ำถึงการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ทางสังคม ในมิติของบุคคล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การพัฒนาศักยภาพเด็กพิการและการคุ้มครองทางสังคม ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงและทางด้านเศรษฐกิจคือประเด็นด้านการค้าและการเคลื่อนย้าย ประเด็นการลดความเหลื่อมล้ำและการสร้างความเท่าเทียมในทุกมิติ และระบบกลไกและการขับเคลื่อนการทำงาน เสนอว่าควรมีการพิจารณา วิเคราะห์ สังเคราะห์และกำหนดเป้าหมายร่วมระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียน การหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของเนื้องานกับส่วนงานระหว่างประเทศอื่น ๆ แต่ควรจะเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติงานให้เกิดระบบและกลไกการดำเนินงานที่สามารถปฏิบัติร่วมกันได้ เช่น กำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องมีความสอดคล้องและยืดหยุ่น รวมถึงการกำหนดตัวชี้วัดที่มีความชัดเจนและคำนึงถึงความเหมาะสมและบริบทของแต่ละประเทศ เพื่อให้ทุกประเทศสามารถขับเคลื่อนงานด้านคนพิการได้โดยอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างระบบและกลไกให้ทุกประเทศภูมิภาคมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน อีกทั้ง เนื่องจากปัจจุบันระบบฐานข้อมูลของคนพิการในกลุ่มประเทศอาเซียนยังไม่ใช่ฐานข้อมูลร่วม และยังไม่สามารถถ่ายโอนข้อมูล หรือเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการดำเนินงานด้านคนพิการได้ ดังนั้นในทศวรรษใหม่ของการดำเนินงานด้านคนพิการจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันให้เกิดการสร้างฐานข้อมูลทั้งในระดับชาติ และระดับภูมิภาค ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างแนวทางการปฏิบัติงานที่ถูกต้องตรงตามความต้องการและสถานการณ์จริง และแบ่งปันข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน จากการศึกษาข้อมูลเอกสาร และความเห็นจากการประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเบื้องต้นจากผู้มีส่วนเสีย ผู้ศึกษาจึงสรุปเป็นข้อเสนอประเด็นการขับเคลื่อนทศวรรษคนพิการอาเซียน 2021-2030 ใน 11 ประเด็นหลัก (Priorities) ได้แก่ 1) การยุติความยากจนและความหิวโหยสำหรับคนพิการทุกคน 2) การคุ้มครองทางสังคมและความช่วยเหลือทางสังคม 3) การศึกษาที่มีคุณภาพ 4) การส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพและการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีคุณภาพ 5) ความเสมอภาคทางเพศ และเด็กพิการ 6) การจ้างงานและงานที่ดี 7) การเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ 8) การมีส่วนร่วมของคนพิการ 9) การขจัดการเลือกปฏิบัติทุกรูปแบบต่อคนพิการ 10) ความเสี่ยง ภัยพิบัติ และโรคระบาด และ 11) สถิติด้านคนพิการ โดยเสนอให้อาเซียนกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาและตัวชี้วัดในภาพรวม และเปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินการตามทศวรรษอาเซียน ที่สอดคล้องกับบริบทของประเทศ โดยอาจจะแบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ตัวชี้วัดระดับ 4: การมีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่าคนพิการได้รับผล (Evidence-based outcomes) จากการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนด ตัวชี้วัดระดับ 3: การพัฒนา และ/หรือ การปรับปรุงกฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดระดับ 2: การกำหนดเป็นนโยบาย/แผนงานระดับชาติ การกำหนดระบบและกลไกในการขับเคลื่อน ตัวชี้วัดระดับ 1: การดำเนินกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับประเด็นหลักและเป้าหมาย โดยเสนอให้เอกสารเชิงหลักการและแนวทางการขับเคลื่อนของทศวรรษคนพิการอาเซียน (Concept paper and mobilization frame of ASEAN Decade of Persons with Disabilities 2021-2030) ได้รับการพิจารณาและเห็นชอบจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศ และเสนอให้มีการรับรองจากโดยที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในปี 2021 และเพื่อให้มีความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนจากทศวรรษคนพิการอาเซียน 2011-2020 จึงเห็นควรให้ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสด้านสังคมและการพัฒนา (Senior Official Meeting on Social Welfare and Development (SOMSWD) เป็นกลไกประสานงานหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามทศวรรษคนพิการอาเซียน 2021-2030 และให้คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights-AICHR) ) เป็นกลไกในการกระตุ้นและติดตามการดำเนินงานเพื่อบรรลุป้าหมายของทศวรรษฯ ในสามเสาประชาคมอาเซียน The Kingdom of Thailand, by the Department of Empowerment of Persons with Disabilities, Ministry of Social Development and Human Security, has played an important role in pushing forward issues and works related to persons with disabilities in ASEAN. Particularly, in 2011, Thailand’s input on the Concept Note and Mobilization Plan on ASEAN Decade of Persons with Disabilities (2011–2020): the Thematic Years to Promote Disability Inclusive Development in ASEAN was presented during the 6th Senior Official Meeting on Social Welfare and Development (SOMSWD) and the 8th Senior Official Meeting on ASEAN Socio Cultural Community, held in Jakarta, Indonesia, leading to the official pronouncement of the ASEAN Decade for Persons with Disabilities (ADPD) (2011–2020) in the 19th ASEAN Summit, held in November 2011 in Bali, Indonesia, to provide a clearer direction on the implementation of the plan to empower disabled people at the ASEAN level. Following the proclamation of ADPD, efforts were made over the past 10 years to realize the Decade through relevant projects and activities both at the ASEAN and national levels. The works include, for instance, promoting access to the rights of persons with disabilities (PWD), creating societies that prohibit discrimination against PWDs, promoting disability inclusive development, and building awareness and positive perception towards disability, etc. Thailand recognizes the importance of establishing a policy framework to advance PWD affairs in ASEAN to ensure that disability issues are prioritized and developed in parallel with mainstream development. In addition, as ADPD is coming to an end in 2020, it is necessary to conduct a study on the Evaluation of the Implementation of the ASEAN Decade for Persons with Disabilities (2011–2020) and Future Mobilization Plan to provide empirical evidence for further advancing activities related to PWDs in ASEAN. This current study reviews and analyzes the implementation of ADPD (2011–2020) and its resulting outcomes across ASEAN region, reviews relevant mainstream development directions with a survey of data from 10 ASEAN member states, as well as formulates a plan for the next phase of ADPD to report to the SOMSWD. The findings of the documentary study showed that one of the most significant international development frameworks—the Sustainable Development Goals—was consistent and interconnected with the Convention on the Rights of Persons with Disabilities, which has been ratified by all ASEAN Member States already. In addition, the results of the comparative synthesis of international, regional and ASEAN development frameworks showed that the development frameworks at all levels were well coherent. Therefore, should ASEAN happen to synthesize and address the ASEAN disability mobilization framework in line with other relevant development frameworks, disability mobilization in the region would not be placed as a second priority and could accommodate the synchronized implementation of the Convention on the Rights of Persons with Disabilities and other development frameworks. During the initial brainstorming sessions, stakeholders put in their comments on the gaps in the process of disability mobilization in the previous Decade, extended their concerns about the Covid-19 pandemic status which is an urgent matter that affects people around the world, and stressed on changes of social situations, particularly in terms of individuals, demographic shifts, capacity building for children with disabilities and social protection. The epidemic of this fatal communicable disease and economic situation affected trade and migration, reduction of inequalities and creation of equity in all dimensions, and mechanism systems and mobilization frameworks. It was proposed that ASEAN subregional common goals be considered, analyzed, synthesized and established in order to avoid any duplication of efforts and the same works as other international organizations. Instead, supports should be provided to ensure that operating systems and mechanisms are in place to enable a common subregional implementation framework. For instance, a coherent, harmonized yet flexible set of indicators should be established with clarity that takes into account the suitability and contexts of each Member State so that they can execute an effective disability mobilization framework. Additionally, systems and mechanisms that give all ASEAN countries a sense of ownership should be created. Since the current databases of persons with disabilities in ASEAN countries are not yet a single shared database and data are still nontransferable or unlinkable to facilitate the development of disability implementation, it is imperative, for the new decade of disability implementation, to push forward the creation of such databases at the national and regional levels. This will result in the formation of practice guides that are accurate and in accord with actual needs and situations. Eventually, practical information could be shared among ASEAN countries. Based primarily on the documentary study findings and comments given by stakeholders during the initial brainstorming sessions, the authors can summarize the key areas for the mobilization framework of the ASEAN Decade of Persons with Disabilities (2021–2030) into 11 priorities: Priority 1: Ending poverty and hunger for all disabled people; Priority 2: Social protection and social assistance; Priority 3: Quality education; Priority 4: Promoting access to health services and quality rehabilitation; Priority 5: Gender equality and children with disabilities; Priority 6: Employment and decent work; Priority 7: Accessibility; Priority 8: Participation of persons with disabilities; Priority 9: Eradicating all form of discrimination against persons with disabilities; Priority 10: Risk, disaster, and pandemic; and Priority 11: Disability statistics. It is suggested that ASEAN establish overall development goals and indicators and encourage Member States to set their own indicators to evaluate their implementation of the ASEAN Decade that correspond with their respective contexts. The indicators might be classified into four tiers as follows: Tier 4 Indicators: Evidence-based outcomes that demonstrate how well the persons with disabilities have benefitted from the implementation in accord with the set goals. Tier 3 Indicators: Development and/or amendment of relevant laws, rules and regulations. Tier 2 Indicators: Formulation of national policies/plans. Establishment of mobilization and mechanism systems. Tier 1 Indicators: Implementation of activities that are consistent with the priorities and goals. It is proposed that the concept note and mobilization framework for the ASEAN Decade of Persons with Disabilities (2021–2030) be considered and approved by the ten Member States as well as be adopted by the ASEAN Summit 2021. In order to ensure a smooth, seamless continuity of the mobilization framework from the ASEAN Decade of Persons with Disabilities 2011–2020, it is recommended that the Senior Official Meeting on Social Welfare and Development (SOMSWD) should assume a role of coordinating mechanism in mobilizing the ASEAN Decade of Persons with Disabilities 2021–2030 while the ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights (AICHR) should take on a position of mechanism in impelling and monitoring the implementation to achieve the goals of the new Decade in the three pillars of the ASEAN Community.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการประเมินผลth
dc.subjectคนพิการอาเซียนth
dc.subjectกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการth
dc.subjectคนพิการth
dc.titleการประเมินผลการดำเนินการตามทศวรรษคนพิการอาเซียน พ.ศ.2554-2563 เพื่อการขับเคลื่อนในระยะต่อไปth
dc.title.alternativeEvaluation of ASEAN Decade of Persons with Disabilities 2011-2020 for next phase mobilizationth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00443th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการประเมินผลการดำเนินการตามทศวรรษคนพิการอาเซียน พ.ศ.2554-2563 เพื่อการขับเคลื่อนในระยะต่อไปth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record