Show simple item record

dc.contributor.authorนิพันธ์ วิเชียรน้อยth
dc.date.accessioned2020-07-09T06:49:52Z
dc.date.available2020-07-09T06:49:52Z
dc.date.issued2563-07-09
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/865
dc.description.abstractพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และในการประชุม รัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (Conference of the Parties to the United Nations Framework Convention on Climate Change: COP21) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส นายกรัฐมนตรีได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุม COP21 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ต่อที่ประชุมว่า “ประเทศไทยมีความตั้งใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีปกติ ภายในปี พ.ศ. 2573 ระดับของการมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 ขึ้นอยู่กับการเข้าถึงกลไกการสนับสนุนทางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพที่เพิ่มขึ้นและเพียงพอ ภายใต้กรอบข้อตกลงใหม่ ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)” จากสถานการณ์ดังกล่าว หน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จึงร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกภายในปี พ.ศ. 2573 โดย กระทรวงคมนาคม ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ประเทศสามารถบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกได้จากการดำเนินนโยบายด้านการลดการใช้พลังงานในภาคการขนส่ง การขนส่งที่ยั่งยืน และเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Marginal Abatement Cost) ของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่ง เพื่อเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจและวางแผนงานด้านการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคคมนาคมขนส่ง เป้าหมายของการดำเนินโครงการ มี 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Marginal Abatement Cost) ของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่งของประเทศไทย 2) จัดทำต้นทุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วย (บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) สำหรับโครงการและแผนงานในภาคคมนาคมขนส่ง 3) จัดทำแผนปฏิบัติการการดำเนินโครงการด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจัดทำแผนที่นำทางการดำเนินโครงการด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) ร้อยละ 20 ถึง 25 ภายในปี พ.ศ. 2573 ผลลัพธ์ของโครงการ พบว่า จากการประเมินศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกตามหลักการพัฒนาระบบการขนส่งอย่างยั่งยืน (Sustainable transport system) “ลด-เปลี่ยน-ปรับปรุง หรือ Avoid– Shift - Improve (A-S-I)” ของมาตรและโครงการในภาคคมนาคม พบว่า หากดำเนินโครงการและแผนงานปัจจุบันของกระทรวงคมนาคมครบถ้วน รวมทั้งโครงการและแผนงานที่เสนอแนะให้ควรมีการดำเนินงานเพิ่มเติม ภายในปี พ.ศ. 2573 จะทำให้ภาคคมนาคมสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวมทั้งสิ้น 35.42 MtCO2e จากค่าเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจก ในภาคคมนาคมขนส่งที่กำหนดไว้ คือ 31 MtCO2e และจากการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มการลดก๊าซเรือนกระจกของโครงการในภาคคมนาคม พบว่า โครงการรถไฟสายใหม่ (New Railway) เป็นโครงการที่มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดอยู่ที่ -302,808 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Baht/tCO2e) รองลงมาคือ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและรถไฟชานเมือง โครงการรถไฟทางคู่ และการปรับปรุงการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะด้วยการเดินทางที่ไม่ใช้เครื่องยนต์ (NMT) ซึ่งเป็นโครงการประเภทการเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง (Shift mode) และอยู่ภายใต้แผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2560 - 2564 มีค่าต้นทุนส่วนเพิ่มฯ (MAC) อยู่ระหว่าง -45,000 ถึง –138,000 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Baht/tCO2e) ซึ่งค่าติดลบของโครงการหมายถึง ผลตอบแทนของการดำเนินโครงการมีมากกว่าต้นทุน ในทำนองเดียวกัน หากโครงการมีค่าบวก หมายความว่าเป็นโครงการที่ได้รับผลตอบแทนต่ำ นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ “คู่มือและโปรแกรมการวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Marginal Abatement Cost Curve : MACC” ซึ่งเป็นผลการศึกษาภายใต้ “โครงการศึกษาและพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Marginal Abatement Cost) ของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่ง” เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าใจแนวทางและวิธีการในการประเมินต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่งของประเทศไทยและสามารถใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถวางแผนนโยบายและกำหนดแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและตั้งเป้าหมายปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างเหมาะสมต่อไป Today, there is greater global awareness of the impacts of climate change, triggered by an increase in greenhouse gas (GHG) emissions resulting primarily from burning. In Thailand, GHG emissions in the transport sector have become a major concern and deserve serious attention. From Thai economic growth forecast for the next two decades (or by 2030), the transport sector energy consumption and GHG emissions will steadily follow a worrisome upward trend. The cabinet resolution on November 25, 2014 approved an intention of Thailand’s Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) based on a voluntary basis to reduce GHG emissions in the range of 7-20% below the business-as-usual (BAU), in energy and transport sector in 2020, since Thailand is a member of the United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC). Therefore; the achievement depends on performance of GHG emission reduction in the sectors. The Nationally Appropriate Mitigation Actions (NAMAs) focuses on the operation of sector’s GHG emission reduction through various measures such as power generation from renewable energy, biofuel use, sustainable transport measures, creating database on GHG emission in national, local and branch levels, development of Measurement, Reporting and Verification ( MRV) system, as well as development of finance and market mechanism to support the GHG emission reduction, adaptation plan, development of related database and knowledge, etc. This “Executive Summary” is derived from the “Study and Development of Marginal Abatement Cost (MAC) Tool in GHG Emission Under Measures and Policies on Energy Efficient Transport”. To ensure tangible results of the implementation of sustainable transport and the elimination of problems in the transport sector energy consumption and GHG emission, the Office of Transport and Traffic Policy and planning (OTP) under Ministry of Transport has developed a Marginal Abatement Cost (MAC) Tool in GHG Emission Under Measures and Policies on Energy Efficient Transport which is necessary and important at the early stage in knowing the marginal abatement cost (MAC) of GHG emission reduction (baht per ton of carbon dioxide equivalent) as an indicator to achieve goals of the 12th National Economic and Social Development Plan in the 4th strategy, environmental friendly development for sustainable development, the 4th goal – increasing efficiency of GHG reduction and enhancement of capacity for climate change adaptation and the 7th strategy infrastructure and logistics development. This report is prepared to propose outcomes of the study and development of Marginal Abatement Cost (MAC) tool in GHG emission under measures and policies on energy efficient transport, whereby the results of the project could be achieved as expected, as well as to propose the analysis method in details and recommendations from the project, so as to be a guideline for the concerned agencies in decision and planning of projects relevant to reductions of energy consumption and GHG emission in the transport sector under the goal of GHG emission reduction in Thailand. The OTP hopes indeed that the results of this study could help to promote sustainable transport system development in conformity with the Energy Efficiency Plan 2015 - 2036 and the 12th National Economic and Social Development Plan and enable Thailand to have in place information for analyzing and evaluating a guideline on preparedness for the policy on reduction of transport sector energy consumption and GHG emission for the optimum efficiency.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มth
dc.subjectการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกth
dc.subjectมาตรการและนโยบายด้านการขนส่งth
dc.subjectสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)th
dc.titleศึกษาและพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่งเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพth
dc.title.alternativeThe Project of study and development on marginal abatement cost (MAC) tool in green houser GAS emission of measures and policies on transport for energy effictencyth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)th
cerif.cfProj-cfProjId2561A00133th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)th
turac.contributor.clientสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาและพัฒนาเครื่องมือวิเคราะห์ต้นทุนส่วนเพิ่มในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของมาตรการและนโยบายด้านการขนส่งเพื่อการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record