Show simple item record

dc.contributor.authorปกป้อง ศรีสนิทth
dc.date.accessioned2020-06-04T02:39:48Z
dc.date.available2020-06-04T02:39:48Z
dc.date.issued2563-06-04
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/811
dc.description.abstractบุคคลผู้เคยรับโทษจำคุกมาแล้วจะถูกบันทึกในทะเบียนประวัตอาชญากรจนกว่าบุคคลนั้นจะถึงแก่ความตาย แม้เคยกระทำความผิดมาตอนวัยรุ่นแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พ้นโทษมาแล้วเป็นเวลาหลายสิบปี บุคคลนั้นก็ไม่อาจคัดแยก ลบ หรือ ปิดบังประวัติของตนเองได้ หน่วยราชการ นายจ้างหรือบุคคลทั่วไปก็สามารถเข้าถึงประวัติอาชญากรของบุคคลดังกล่าวและเป็นเหตุปฏิเสธบุคคลนั้นไม่ให้ทำงาน ซึ่งไม่สอดคลองกับการลงโทษผู้กระทำความผิดที่ต้องเป็นไปเพื่อฟื้นฟูแก้ไขให้บุคคลนั้นกลับเข้าสู่สังคมอย่างปกติตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองหรือสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 10 วรรค 3 หน่วยงานของรัฐควรเป็นผู้นำในการเปิดโอกาสให้ผู้เคยต้องโทษสามารถเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐได้ เพื่อเป็นแนวทางให้กับหน่วยงานเอกชน โดยการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบ ก.พ.ว่าด้วยการขอยกเว้นให้เข้ารับราชการกรณีมีลักษณะต้องห้ามเป็นข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ... โดยการกำหนดหลักการสองประการ คือ ประการที่หนึ่ง กำหนดให้มีการยกเว้นลักษณะต้องห้ามในการเข้ารับราชการเป็นการทั่วไป สำหรับกรณีความผิดบางประเภทที่มีใช้ความผิดร้ายแรงและผู้เคยต้องโทษพ้นโทษมาเกินระยะเวลาปลอดอาชญากรรมแล้วโดยไม่กลับไปกระทำความผิดอีก และประการที่สอง แก้ไขรายละเอียดของการยกเว้นเฉพาะรายใหม่หลักเกณฑ์การพิจารณาที่กว้างขวางขึ้นในด้านของการกลับตัวเข้าสู่สังคม ระยะเวลาหลังพ้นโทษที่ไม่หวนกลับไปกระทำความผิดอีก และความสัมพันธ์ของลักษณะงานในตำแหน่งที่ประสงค์จะรับราชการกับประเภทคดีอาญาที่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ในส่วนของหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตกเป็นบุคคลล้มละลาย จากการศึกษาบทบัญญัติของประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law) และประเทศที่ใช้กฎหมายระบบซีวิลลอว์ (Civil law) พบว่า ในประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนีและประเทศญี่ปุ่น สำหรับกรณีของข้าราชการไม่พบการวางข้อจำกัดสิทธิในการเข้ารับราชการหรือการกำหนดให้เป็นเหตุในการออกจากราชการด้วยเหตุของการขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามแต่อย่างใด ทั้งในส่วนของกฎหมายล้มละลาย และกฎหมายกลางที่เกี่ยวกับข้าราชการของทั้ง 3 ประเทศ แต่จะพบบทบัญญัติในลักษณะดังกล่าวในกรณีของประเทศมาเลเซียเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความชัดเจนและความเข้าใจต่อแนวคิดพื้นฐานตลอดจนวัตถุประสงค์ของกระบวนการล้มละลายที่มิได้มีวัตถุประสงค์ในการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ หากแต่ต้องการให้บุคคลที่ประสบปัญหาในทางการเงินและตกเป็นบุคคลล้มละลายนั้นมีโอกาสเริ่มต้นใหม่ในทางเศรษฐกิจ การติดโอกาสในการประกอบอาชีพทั้งตามกฎหมายล้มละลายเองหรือตามกฎหมายฉบับอันนอกจากจะเป็นสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายแล้ว ยังเป็นการสร้างบทบัญญัติที่อาศัยผลของการดำเนินคดีล้มละลายไปใช้และส่งผลในทำงานที่ขาดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายโดยชัดเจน หากพิจารณาในกรณีของประเทศไทยการจำกัดสิทธิของบุคคลที่ศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายในการเข้ารับราชการหรือต้องออกจากราชการ มีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกันกับหลักเสรีภาพในการทำงานซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มาตรา 40 และไม่สอดคล้องกับกฎหมายล้มละลายในปัจจุบัน เพราะเจตนารมณ์ของกฎหมายล้มละลายในปัจจุบันอยู่ที่การให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหาทางการเงินและศาลได้มีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายสามารถพ้นจากสถานะเป็นบุคคลล้มละลายได้อย่างรวดเร็วและกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในทางเศรษฐกิจได้ การที่กฎหมายใด ๆ กำหนดให้บุคคลที่ถูกศาลพิพากษาให้ตกเป็นบุคคลล้มละลายไม่สามารถเข้ารับราชการหรือต้องออกจากตำแหน่งนั้น ย่อมเป็นความย้อนแย้งกันกับความพยายามที่จะให้ลูกหนี้สามารถพ้นจากสถานะล้มละลายและกลับมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว ผู้วิจัยจึงเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 คือ ตัดมาตรา 36 ข. (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 โดยนำเหตุที่บุคคลใดเป็นบุคคลล้มละลายออกจาการเป็นลักษณะตองห้ามในการเข้ารับราชการพลเรือน เพื่อให้บุคคลล้มละลายสามารถมีโอกาสในการประกอบอาชีพในส่วนของการเป็นข้าราชการได้ และเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของแนวทางในการปรับเปลี่ยนแนวคิดต่อสถานะของบุคคลล้มละลายของประเทศไทยไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่เป็นที่เข้าใจและยอมรับอย่างสากล The ex-prisoners are recorded until their deaths. Although they committed benightedly crimes long time ago, their records could not be erased or concealed from public. The government agencies and employers can access to that record and refuse them from a job. As a result, the law is not conform to the principle of rehabilitation and resocialization of the offenders guaranteed by the Article 10 paragraph 3 of the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR). The Government agencies should be the pioneer to give opportunity to the ex-prisoners to have a job by amending Kor Por Regulation (edition 2) concerning the exemption for prohibited characteristics of being a civil services as follows : Firstly, imposing a general exemption for prohibited characteristics of being a government service for those who committed a non-serious crime and passed crime free period. ; Secondly, broaden the specific exemptions for prohibited characteristics of being a government service in aspect of resocialization, crime free period, and relation of expected job and type of recorded crime. As for whether bankruptcy should affect eligibility for being or becoming a civil servant, this research explores relevant English, German, and Japanese law and finds that there is no provision disqualifying a person from being or becoming a civil servant because of their bankruptcy. Only the Malaysian legislations, Public Officers Regulations 2012 and Bankruptcy Act 1967, disentitle a bankrupt to be or become a civil servant. To answer this question, the purposes of bankruptcy law and the freedom of occupational choice guaranteed by constitution law are taken into consideration. Bankruptcy law is intended to release a bankrupt from financial distress. Therefore, such restriction obstructs bankrupts from fresh start and is thus contrary to the bankruptcy law’s purpose. Moreover, under the Thai Constitution Section 40, disqualifying bankrupts from being or becoming a civil servant is in conflict with the guaranteed freedom of occupational choice. Thus, this research proposes an amendment of the Thai Civil Service Act B.E.2551 by repealing Section 36 b.(6) that precludes a bankrupt from being or becoming a civil servant to align the Act with the international recognized standards.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectผู้ต้องโทษในคดีอาญาth
dc.subjectบุคคลล้มละลายth
dc.titleร่างแนวทางการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องโทษในคดีอาญาและบุคคลล้มละลายให้สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆth
dc.title.alternativeA study on providing a second chance to the ex-prisoners and the bankrupts in working in government organisationsth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00663th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)th
turac.contributor.clientกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleร่างแนวทางการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องโทษในคดีอาญาและบุคคลล้มละลายให้สามารถเข้าทำงานในหน่วยงานต่าง ๆth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record