Show simple item record

dc.contributor.authorณรงค์ ใจหาญth
dc.date.accessioned2020-06-04T02:02:56Z
dc.date.available2020-06-04T02:02:56Z
dc.date.issued2563-06-04
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/809
dc.description.abstractโครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ คือ ประการแรก จัดหมวดหมู่อาชญากรรมในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาของไทย ให้เข้ากับหมวดหมู่ ๐๗ การกระทำเกี่ยวกับการฉ้อฉล การหลอกลวง หรือการทุจริต หมวดหมู่ ๐๘ การกระทำความผิดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน อำนาจรัฐ และบทบัญญัติแห่งรัฐ หมวดหมู่ ๐๙ การกระทำความผิดต่อความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคงของรัฐ และหมวดหมู่ ๑๑ การกระทำความผิดทางอาญาในลักษณะอื่นซึ่งไม่ได้จัดประเภทไว้ในหมวด ๑-๑๐ ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ( ICCS version 1.0) ประการที่สอง หาแนวทางที่มีประสิทธิภาพและแนวทางการแก้ไขปัญหาหากมีในการจัดทำหมวดอื่นที่เหลือของมาตรฐานระหว่างประเทศ วิธีการศึกษา (๑) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา และแนววินิจฉัยของศาลฎีกา และข้อมูลกฎหมายทางเว็บไซด์ที่เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่อาชญากรรมตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรม และความหมายและองค์ประกอบของความผิดในประเทศไทยและต่างประเทศ (๒) จัดความผิดในกฎหมายไทยตามแนวทางของการจัดหมวดหมู่ตามมาตรฐานสากล และรับฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญสามครั้ง แล้วมาสรุปและจัดทำรายงานสมบูรณ์พร้อมด้วยคำอธิบายในการจัดทำหมวดหมู่อาชญากรรม รวมถึงข้อสังเกตต่างๆ ผลการศึกษา: ๑.การจัดหมวดหมู่อาชญากรรมในหมวด ๐๗ จัดความผิดได้ทั้งในประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษ มีปัญหาในหมวดฉ้อโกงซึ่งกฎหมายไทยไม่ได้แยกต่างหากจากความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ในหมวด ๐๔ ๐๕ จึงมีความซ้อนกัน และมีความยากในการจัดหมวด ๐๗๐๒๒ กับ ๐๕๐๓ ๒. การจัดหมวดหมู่ในหมวด ๐๘ มีความผิดกำหนดไว้ในกฎหมายพิเศษมาก เนื่องจากการกำหนดของสหประชาติฯ ไม่ได้กำหนดกรณีไม่นำมารวมไว้ชัดเจน จึงทำให้เกิดการจัดที่เป็นหมวดคาบเกี่ยวกับหมวดอื่นมาก คณะผู้วิจัยจึงจัดกรณีที่ต้องการจัดในหมวดนี้โดยเฉพาะไว้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว ๓. การจัดหมวดหมู่ ในหมวด ๐๙ มีความผิดที่จัดเข้ากับหมวดหมู่นี้มากเช่นเดียวกับหมวดหมู่ ๐๘ แต่มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับนโยบายด้านการกระทำความผิดเกี่ยวกับจราจรที่ไม่ได้รับอันตราย จึงมีปัญหาในการตีความและปรับใช้ ๔. การจัดหมวดหมู่ ๑๑ ในหมวดนี้เป็นบทที่ไม่เข้ากรณีในหมวด ๑-๑๐ ซึ่งบางความผิดซึ่งเป็นกฎหมายอาญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศไม่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายไทย แต่ในบางความผิดที่มีก็ไปทับซ้อนกับประมวลกฎหมายอาญาทหาร จึงเกิดความคาบเกี่ยวกันหลายฐานความผิด This Research project has two aims: firstly, to classification Thai criminal offences in Penal Code and others Acts harmonized to section 07, acts involving fraud, deception or corruption, section 08 acts against public order, authority and provisions of the state, section 09 acts against public safety and state security, and section 11 Other criminal acts not elsewhere classified under ICCS) version 1.0 and secondly, to explore an efficacy guidelines and the way to solve any problems in classification on left of others section of ICCS. Methodology: the research has done in terms of qualitative research by (1) reviewing documentary : textbooks, Thai Supreme court decisions and legal information in website relating to the classification of offences under The International Classification of Crime for Statistical Purposes (ICCS) version 1.0. In addition, explores meaning and element of crimes in Thai and Foreign Penal Laws. (2) to classify offences in Thai penal laws which relate to sections 02 ,04,05 and 06 of ICCS and presenting to three experts seminars and get their comments and recommends to improve the final report of this research. Research outcomes: 1. Section 07 can be fit under Penal Code and others Acts. However, in the fraud section Thai laws do not separate these offenses from property crimes in section 04, 05 so there are confused and difficulty to classified on section 07022 and 0503. 2. Section 08 has been matched with a lot of offenses in Thai acts. Due to no clearly definition of exclusion under ICCS, we have to classified these offences to partial matches with others sections. However, to prevent above mentioned problem our recommendation that some of offenses should be classified specific only this section. 3. Section 09 has been matches with a lot of Thai penal laws as section 08. However it is any problems on policy to classified on traffic offences with no injury so it is the problem of interpretation and implementation of this subsection. 4. section 11 which has been classified on others offenses beyond section 01-10. In thai penal laws there is not yet provided offenses against humanity but any offenses of Thai laws have been matched with section 11 are partial match with Military penal Code.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectมาตรฐานระหว่างประเทศในการจัดหมวดหมู่อาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ๐๗ ๐๘ ๐๙ และ ๑๑th
dc.subjectThe International Classification of Crime for Statistical Purposes, section 07,08,09,11th
dc.titleจัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 3th
dc.title.alternativeThe International Classification of Crime for Statistical Purposes - ICCS version 1.0th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)th
cerif.cfProj-cfProjId2562A00927th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)th
turac.contributor.clientสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleจัดหมวดหมู่อาชญากรรมในกฎหมายไทยเข้ากับหมวดหมู่ตามมาตรฐานระหว่างประเทศว่าด้วยการจำแนกประเภทอาชญากรรมเพื่อประโยชน์ทางสถิติ ระยะที่ 3th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record