Show simple item record

dc.contributor.authorอุรุยา วีสกุลth
dc.date.accessioned2019-12-13T04:36:13Z
dc.date.available2019-12-13T04:36:13Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/690
dc.description.abstractโครงการปรับปรุงปากแม่น้ำโก-ลก เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2539 เพื่อก่อสร้างคันกันคลื่นป้องกันทรายทับถมปากแม่น้ำ เพิ่มเสถียรภาพด้านพรมแดน บรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำโก-ลก รักษาร่องน้ำของแม่น้ำโก-ลก สำหรับเดินเรือ ส่งเสริมการประมงและเพิ่มรายได้ของประชาชนจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการรวมงานก่อสร้างรอกันคลื่นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทยและงานป้องกันอาคารหลักเล็ง B ( Transit Point B) ตำแหน่งอ้างอิงกำหนดพรมแดน ต่อมามีการเสริมรอป้องกันชายฝั่งประเทศไทยเพิ่มเติม และมีคณะทำงานร่วมสองประเทศเพื่อประเมินผลสำรวจความลึกท้องทะเลบริเวณปากแม่น้ำโก-ลก หลังจากมีการปรับปรุงโครงการ ปัจจุบันโครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงจากการปรับปรุงปากแม่น้ำโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระยะที่ 1 นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของคันกันคลื่น รอป้องกันชายฝั่ง อาคารหลักเล็ง B และศึกษาปัญหาอุทกภัยรวมทั้งศึกษามาตรการปรับปรุงด้านวิศวกรรมและความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น มีงานออกแบบและประเมินราคาเบื้องต้น รวมทั้งเสนอแผนติดตามตรวจสอบและบำรุงโครงสร้าง ผลการศึกษาโดยใช้แบบจำลองชลศาสตร์เสนอการปรับปรุงโครงสร้างโดยต่อความยาวคันกันคลื่นและเสริมกำแพงบังคับน้ำฝั่งไทย เพื่อให้สภาพชลศาสตร์ที่ปากแม่น้ำไหลสม่ำเสมอขึ้น ปริมาณทรายตกตะกอนที่ปากแม่น้ำลดลง ปริมาตรการระบายน้ำเพิ่มร้อยละ 7 การคมนาคมทางน้ำปลอดภัยขึ้น ส่วนอาคารหลักเล็ง B มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะขนาดใหญ่อยู่กลางแม่น้ำ บีบกระแสน้ำมีความเร็วเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เกิดการกัดเซาะเฉพาะที่ฐาน การลดขนาดโครงสร้างเปลี่ยนเป็นโค้งวงรีลู่น้ำ หรือหกเหลี่ยม ลดการสูญเสียพลังงานลง ความเร็วกระแสน้ำเปลี่ยนแปลงเหลือเพียงร้อยละ 5 ลดการกัดเซาะ เพิ่มเสถียรภาพของโครงสร้าง สำหรับการป้องกันน้ำท่วมในโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลุ่มน้ำโก-ลกนั้น เสนอให้เสริมคันกั้นน้ำและถนนบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำติดแม่น้ำเพื่อลดน้ำหลากจากแม่น้ำโก-ลก ใช้ค่าระดับที่คาบการเกิด 50 ปี การปรับปรุงการระบายน้ำโดยชลอและระบายน้ำหลากจากพื้นที่พรุโต๊ะแดง ซึ่งมีขนาดใหญ่ ใกล้เคียงกับขนาดพื้นที่โครงการ ลงสู่คลองขุดใหม่ขนานคลองมูโนะ และเพิ่มสถานีสูบน้ำริมแม่น้ำ สามารถลดระยะเวลาน้ำท่วมในพื้นที่น้ำท่วมประจำ 40,000 ไร่ จาก 15 วันเหลือ 7 วัน สำหรับการป้องกันชายฝั่งประเทศไทยซึ่งมีอัตรากัดเซาะขนาดปานกลาง -3.51 เมตรต่อปี ศึกษาหลายแนวทางเลือก สุดท้ายเสนอให้ซื้อที่ดินบริเวณกัดเซาะและใกล้เคียงเพื่อถมทรายชายฝั่ง ฟื้นการเคลื่อนที่ของมวลทรายชายฝั่งตามธรรมชาติ ลดการกัดเซาะรวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างรอดักทรายทั้งหมดที่ชำรุด การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการเบื้องต้นแสดงผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่าค่ามาตราฐานเล็กน้อย แสดงว่าโครงการมีความเหมาะสมในการลงทุน The cooperation project between Thai and Malaysia “Improvement of Golok River Mouth” was developed in 1966 to improve the boundary line of two countries at Golok River Mouth using breakwaters to reduce natural deposited sediment forming sand bar which obstructed flow in river and consequent flooding occurred. The project objectives are stabilization of the border between Thailand and Malaysia, flood mitigation in the Golok River area, improve safety for navigation in the River throughout the year, promotion of fishery, increase the income of the people from aquaculture, and increase employment and investment in the area. In addition, project included shore protection in Thailand where addition works for supplemented Groins were conducted. Transit Point B , an important reference for boundary line was fixed and strengthen. The joint committee from both countries has been established and worked together to collect surveyed data at river mouth conducted since 2000. At present Thailand carries out a project entitled "Joint Hydraulic Model on the Assessment of the Golok River Mouth Improvement along Coastal Area" while Malaysia has a study “Joint Study on Coastal Flooding at Golok River”. Both studies carry out at the same time. The objective of present study is to evaluate the effectiveness and the stability of Breakwater, Groins, and the Protection Work of the Transit Point B, and related structures that constructed under the Golok River Mouth improvement project. Scopes of work includes analysis of the cause of flooding and proposes preliminary measures. Feasibility study for engineering, socio-economic and environment are conducted in the present study. Project results shows that the extension of breakwater and retaining walls in Thai side can improve hydraulic condition by increment of current velocity and uniformly distributed flow at river mouth. It can push deposited sediment at river mouth into nearshore area. Safety of marine transportation is improved. Flood volume drainage can be increased by 7%. Conceptual design of Transit Point B has been revisited. The existing large protection structures narrow down the river cross section and increase current velocity in the vicinity of structures by 23% causing local scour. The new proposed concept using elliptical or hexagon shape can reduce the changed velocity to be only 5%. Flood protection measures in Golok Basin Operation and Maintenance project (GBOM) has been proposed to heighten the existing road-diked along Golok river in the low lying area. A new aligned drainage canal is proposed to drain flooded water especially from Pa Phru To Daeng having the same large area as GBOM irrigation area. Increment of pumping capacity is introduced to reduce flood time in frequent inundation area 40,000 rai from 14 to 7 days. The coastal erosion occurred with the high rate at -3.51 m/year. Soft measures are proposed to purchase the eroded shoreline area in the vicinity of Groin no.30 and to have beach nourishment in order to maintain the natural sediment process. Preliminary socio-economic analysis of project is carried out and it shows a reasonable return rate with feasibility.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectอุทกภัยth
dc.subjectลุ่มน้ำโก-ลกth
dc.subjectแบบจำลองชลศาสตร์th
dc.titleจัดทำรายงานโครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงจากการปรับปรุงปากแม่น้ำโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระยะที่ 1th
dc.title.alternativeJoint Hydraulic Model on the Assessment of the Golok River Mouth Improvement along Coastal Areath
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมชลประทานth
cerif.cfProj-cfProjId2556A00024th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาสิ่งแวดล้อม (Environment sector : EV)th
turac.contributor.clientกรมชลประทาน
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleจัดทำรายงานโครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงจากการปรับปรุงปากแม่น้ำโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระยะที่ 1th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record