Show simple item record

dc.contributor.authorชัยวัฒน์ อุตตมากรth
dc.date.accessioned2019-12-11T04:40:49Z
dc.date.available2019-12-11T04:40:49Z
dc.date.issued2562
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/677
dc.description.abstractการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีความถี่และความรุนแรงมากขึ้น ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ได้แก่ ฝนตกหนัก วาตภัย อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ภัยแล้ง แผ่นดินไหว และสึนามิ เป็นต้น ซึ่งสร้างความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและสาธารณะอย่างมากมายรวมทั้งความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมในภาพรวมซึ่งรัฐบาลต้องใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู และบูรณะทรัพย์สินที่เสียหาย เป็นจำนวนมาก ภัยธรรมชาติดังกล่าว หากมีการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าได้แม่นยำและรวดเร็วขึ้น มีการวางแผนและเตรียมพร้อมรับมือที่ดี มีการบูรณาการข้อมูลและการบริหารจัดการที่ดีแล้ว จะสามารถป้องกันและบรรเทาความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างมาก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติและการแจ้งเตือนภัยพิบัติทุกประเภทที่อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศในวงกว้าง มีภารกิจในการให้บริการข้อมูลข่าวสารและการแจ้งเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติและภัยพิบัติอื่น ๆ ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างถูกต้องแม่นยำ ทั่วถึง และรวดเร็ว นอกจากนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีหน้าที่สั่งการในภาวะวิกฤติ จึงต้องมีโครงข่ายระบบสื่อสารและระบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงปลอดภัย มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ เนื่องจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีความสำคัญยิ่งดังได้กล่าวแล้วข้างต้นดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานและการพัฒนากิจการแจ้งเตือนภัยเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพสูง สามารถให้บริการที่มีคุณภาพแก่ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติภายใต้กรอบการลดความเสี่ยงภัยพิบัติเซนได้ ที่กำหนดให้มีมิติของการลงทุนในการพัฒนาการจัดการระบบเตือนภัยในให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงเห็นควรดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาทบทวนและประเมินการดำเนินงานของการบริหารจัดการระบบการเตือนภัยของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งในด้านแนวคิดและแผนการดำเนินการ ความเชื่อมโยงต่อพันธกิจหลักในการจัดการสาธารณภัย โครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี ขีดความสามารถ ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และทรัพยากรบุคคล รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาแก่หน่วยงานในการจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยตามการดำเนินงานตามแนวปฏิบัติที่ดี (Best practice) และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนให้มีการจัดการอบรมพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานในการปฏิบัติงานระบบเตือนภัย เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาหน่วยงานให้เป็นศูนย์กลางความเป็นเลิศของภูมิภาคในการให้บริการและการวิจัยพัฒนาด้านการเฝ้าระวังติดตามและแจ้งเตือนภัยธรรมชาติต่อไป Thailand is located in the Pacific Rim in a tropical belt which is vulnerable to the influences of monsoons and tropical systems which enhance their vulnerability to natural disaster impacts such as, flooding, typhoons, landslides, droughts and earthquakes. While Thailand is less susceptible to natural hazards than many of the countries in the Indo-Asia-Pacific region, it remains vulnerable and the frequency of natural disasters in the country is due to seasonal weather and climate change in the region. Thailand has endured many major natural disasters. In 2004 the Indian Ocean Tsunami wreaked havoc on the nation and placed disaster preparedness at the forefront of the national agenda. Throughout history Thailand has experienced various natural disasters such as Typhoon Gay in 1989 which resulted in over 500 causalities. Landslides are also common in Thailand from seasonal monsoon precipitation and have resulted in loss of life and extensive damage to infrastructure and personal property. Thailand is most vulnerable to flooding and the majority of major disasters in Thailand have been a result of flooding. From 2002 to 2010 more than 1,000 persons perished from Thai floods which resulted in more than 40 billion Baht in damages and economic loss.45 In 2011, flooding which was triggered by heavy monsoon rains cost approximately US$ 46.5 billion in economic damage and losses. Department of Disaster Prevention and Mitigation (DDPM) was established on the 3rd of October 2002 as an agency under Ministry of Interior (MOI) to handle disaster management responsibilities. As disaster situations in Thailand got worse due to population increase, urbanization and impact of climate change, the establishment of DDPM is to have a better and more effective mechanism to prevent disaster damage and loss and to mitigate calamity due to man-made and natural disasters. The objectives are to 1) Formulate policy, guideline and measures on disaster prevention and mitigation; 2) Study, analyze, research and develop systems on disaster prevention, disaster warning and disaster mitigation; 3) Develop information technology on disaster prevention and mitigation; 4) Promote people participation on disaster management activities; 5) Build disaster risk awareness; 6) Provide training to build capacity and improve skills on disaster management and disaster relief; 7) Promote, support and implement programs for assisting disaster victims and disaster recovery; 8) Direct and coordinate operation to assist disaster victims in large-scale disasters; and Coordinate with domestic and international gencies/organizations; In this project, we has developed and proven technologies that have put us in the forefront of contributions to disaster management initiatives. We have significantly improved the capacity of national crisis management planning and by protecting the integrity of country infrastructure in the face of natural disasters. We cover all aspects of disaster management from preparedness to emergency response and recovery.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.titleศึกษาและสำรวจทรัพยากรเพื่อการเตือนภัยth
dc.title.alternativeConsultant Project for disaster alarm system designth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00378th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleศึกษาและสำรวจทรัพยากรเพื่อการเตือนภัยth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record