Now showing items 21-25 of 25

    • type-icon

      ต้นแบบระบบเคลือบผิวสิ่งทอทางการแพทย์ให้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างยาวนาน 

      พิศุทธิ์สรัล ชิติโชติปัญญา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      โครงการวิจัยนี้เป็นการต่อยอดนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและป้องกันการระบาดของเชื้อโรค COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพ โดยทำให้พื้นผิววัสดุสิ่งทอมีสมบัติฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าด้วยตัวเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องและ ยาวนาน และสามารถขยายสเกลไปสู่ภาคอุตสาหกรรมได้ โดยทำการพัฒนาเพื่อให้ได้ 1. ต้นแบบน้ำยาเคลือบที่ใช้นวัตกรรม TiO2@Ag/WPU nanocomposite (Smart anti-coronavirus coating (SAC)) เป็นวัสดุฉลาดที่มีฤทธิ์ ฆ่าเชื้อโคโรน่าไวรัส ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องด้วยระบบการปลดปล่อยสารฆ่าเชื้อแบบควบคุม ที่ผ่านมาตรฐานสากล (Measurement of antiviral activity, ISO 18184: 2019) ...
    • type-icon

      เภสัชพันธุศาสตร์ของยา 5-ฟลูออโรยูราซิลกับผลกระทบทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไทย 

      เฉลิมพร อรรถศิลป์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-09-27)

      ความสำคัญงานวิจัยชิ้นนี้คือการเกิดความหลากหลายทางพั นธุกรรมของยีน DPYD มีความสัมพันธ์กับการเกิดพิษจาการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิล เช่นเดียวกับการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน MTHFR พบว่าอาจส่งผลต่อการเกิดพิษจาการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิลในผู้ป่วยมะเร็งได้ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน DPYD ทั้งหมด 5 สนิปส์และการเกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมของยีน MTHFR ทั้งหมด 2 สนิปส์กับการเกิดพิษทางโลหิตวิทยาจากการใช้ยา 5-ฟลูออโรยูราซิลในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักไทย ขั้นตอนการทดลอง: ...
    • type-icon

      ตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมและการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัย ณ จุดดูแลผู้ป่วยเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุ 

      เกศรา ณ บางช้าง (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

      แผนงานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจความชุกของยีนสำคัญที่มีรายงานความสัมพันธ์กับการเกิด ภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ยีน APP, APOE, PSEN1 และ PSEN2 และศึกษาสารเมตาบอไลท์ในพลาสมาของ อาสาสมัครที่มีรูปแบบยีน APOE ต่างๆ และพัฒนาไบโอเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดน้ำตาลสะสม (Hemoglobin A1c: HbA1c) ในเลือดเพื่อใช้ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point-of-care test) การศึกษาความชุกของยีนที่ความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อมในอาสาสมัครสุขภาพดีที่อายุ น้อยกว่า 50 ปี จำนวน 97 คน อาสาสมัครดีที่อายุมากกว่า 50 ปี จำนวน 77 คน และอาสาสมัครกลุ่ม สมองเสื่อม จำนวน 74 คน ไม่พบการกลายพันธุ์ของยีน ...
    • type-icon

      การพัฒนานวัตกรรมการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกและฟันขึ้นใหม่โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากช่องปากและวัสดุจากธรรมชาติเพื่อบูรณะการบดเคี้ยวและส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ 

      เปรมจิต อาภรณ์แม่กลอง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

      ปัญหา เนื่องจากการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุให้เกิดการละลายตัวของกระดูกเบ้า ทำให้ผู้สูงอายุมีกระดูกเบ้าฟันที่มีขนาดไม่เพียงพอในการรองรับรากฟันเทียมและฟันเทียม จำเป็นต้องใช้วัสดุทดแทนกระดูก ที่มีราคาสูงและยังต้องปรับปรุงคุณภาพเพื่อการปลูกกระดูกทดแทน ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาจากการสูญเสียฟันอย่างทั่วถึง วัตถุประสงค์ แผนการวิจัยนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกเพื่อใช้ส่งเสริมการสร้างปลูกกระดูกเบ้าฟัน และกระดูกขากรรไกร โดยใช้วัสดุทางธรรมชาติ ที่หาได้ภายในประเทศ วิธีดำเนินการ การวิจัยดำเนินงานโดย 4 โครงการย่อยภายใต้แผนงาน ...
    • Thumbnail

      การส่งเสริมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของแรงงานข้ามชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาร์ ในประเทศไทยผ่านการสื่อสารสุขภาพดิจิทัล 

      จิโรจ สินธวานนท์ (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-26)

      รายละเอียดตามไฟล์แนบ