Show simple item record

dc.contributor.authorธีระ สินเดชารักษ์
dc.contributor.authorอรอุมา เตพละกุล
dc.contributor.authorจุฑาศินี ธัญปราณีตกุล
dc.contributor.authorTeera Sindecharak
dc.contributor.authorOrnuma Teparakul
dc.contributor.authorJuthasinee Thanyapraneedkul
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-01T03:36:25Z
dc.date.available2019-03-01T03:36:25Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/545
dc.description.abstractการท่องเที่ยวแบบ Low Carbon Tourism เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของ อพท. เป็นการท่องเที่ยวที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมการท่องเที่ยวทางเลือกในการช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง เมื่อเทียบกับการท่องเที่ยวแบบปกติ ในขณะที่นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมในการลดโลกร้อน โดยยังคงไว้ซึ่งความสะดวกสบายและความสุขที่ได้รับจากการท่องเที่ยวที่มีความแตกต่างกับการดำเนินการตาม ๔ มาตรการลดภาวะโลกร้อน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่เน้นให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการ โดยเป้าหมายหลัก คือ ลดการใช้ทรัพยากร หรือลด Carbon Emission ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๘ อพท. มีการส่งเสริมสถานประกอบการสถานประกอบการภาคีเครือข่ายที่พักภาคีเครือข่ายให้มีการพัฒนากิจกรรม Low Carbon Tourism ให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการ โดยการสร้างการรับรู้ให้นักท่องเที่ยวเกิดพฤติกรรมหรือมีการตัดสินใจในการเป็นนักท่องเที่ยวแบบ Low Carbon โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดวิธีการศึกษาการรับรู้ฯ และเครื่องมือในการประเมินที่มีความเหมาะสมในการนำไปประเมินผลการรับรู้ในสถานประกอบการสถานประกอบการภาคีเครือข่ายที่พักที่เข้าร่วมการประเมินในพื้นที่พิเศษทั้ง ๖ แห่ง เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยว ในสถานประกอบการที่พักที่เป็นภาคีเครือข่ายของ อพท. และสรุปผลการศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวและข้อเสนอแนะจากโครงการการศึกษาการรับรู้ด้าน Low Carbon Tourism ของนักท่องเที่ยวที่เลือกพักในสถานประกอบการภาคีเครือข่ายที่พักภาคีเครือข่ายของ อพท. มีวิธีการศึกษาการรับรู้ฯ ด้วยการสร้างแบบสำรวจเป็นเครื่องมือในการประเมิน เพื่อให้สะดวกกับนักท่องเที่ยวที่มาเข้าพัก มีกลุ่มตัวอย่างเป้าหมายคือนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสถานประกอบการภาคีเครือข่าย จากการลงสำรวจพื้นที่พิเศษทั้ง ๖ แห่ง มีสถานประกอบการที่พักที่ดำเนินการในรูปแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) ทั้งสิ้นจำนวน ๔๕ แห่ง โดยมีจำนวนตัวอย่างนักท่องเที่ยวขั้นต่ำที่เข้าพักในสถานประกอบการที่พัก ๕๐๒ ราย และเมื่อทำการสำรวจพบว่า มีจำนวนข้อมูลที่ได้รับกลับมาจากการสำรวจการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในสถานประกอบการที่พักที่ดำเนินการในรูปแบบการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ๗๑๘ ราย โดยจำแนกออกเป็นจำนวนที่เก็บได้จากภาคสนามและจากการติดตามจำนวน ๗๐๑ ราย และจำนวนจากข้อมูลที่คาดว่าจะเป็นข้อมูลที่ได้มาจากแบบสำรวจออนไลน์ (Google Doc) จำนวน ๑๗ ราย ผลการรับรู้ของนักท่องเที่ยวด้าน Low Carbon Tourism ในภาพรวม ซึ่งได้จากการจัดกิจกรรมภาคปฏิบัติของ อพท. ทั้งส่วนกลาง และทั้ง ๖ พื้นที่พิเศษ พบว่า ในภาพรวมการรับรู้ด้าน Low Carbon Tourism นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่รับรู้ทุกข้อ หากมองเป็นระดับการรับรู้ พบว่า นักท่องเที่ยวที่เลือกพักในสถานประกอบการภาคีเครือข่ายที่พักภาคีเครือข่ายในพื้นที่ พื้นที่พิเศษหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท.๑) พื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (อพท.๓) พื้นที่พิเศษเลย (อพท.๕) พื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน (อพท.๖) และพื้นที่พิเศษเมืองโบราณอู่ทอง (อพท.๗) มีการรับรู้ในระดับดีมากที่สุด แสดงว่าในภาพรวมทุกพื้นที่แล้วมีการรับรู้สูงถึงร้อยละ ๙๐ ขึ้นไป ในขณะที่พื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร (อพท.๔) มีการรับรู้ด้าน Low Carbon Tourism ในระดับต่ำ คณะทำงานมีข้อเสนอแนะ เพื่อให้ อพท. พิจารณานำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการรับรู้ด้าน Low Carbon Tourism คือ ถ้าจะทำให้นักท่องเที่ยวตระหนักถึงการรับรู้ การลดคาร์บอนเพื่อทำให้ธรรมชาติดีขึ้น ต้องทำให้นักท่องเที่ยวเกิดผัสสะ ประสบการณ์ตามกรอบความคิดของ อพท. และควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าใจ และทราบถึงที่มาของโครงการ และอพท. ควรมีการจัดการสัมมนาให้กับสถานประกอบการภาคีเครือข่าย สำหรับให้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของ Low Carbon Tourism กับสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อให้เจ้าของสถานประกอบการสามารถถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นประโยชน์เหล่านี้แก่นักท่องเที่ยวที่ยังไม่รู้จักโครงการนี้อย่างดีth
dc.description.abstractThis paper’s aim to study the perceptions and attitudes of tourists who choose to stay in hotels that cooperate with the Designated Area for Sustainable Tourism Administration (public organization) or DASTA, toward Low Carbon Tourism as one of the sustainable tourism. Low Carbon Tourism is one of DASTA’s projects that aimed to improve tourism destinations and to create an economic, social and environmental balance between economic, social and environment. By using ‘sample survey research’ on the tourists who stay in the hotel that cooperate with DASTA within 6 designated areas. The survey was conducted with 718 tourists from 93 hotels during 11-13 and 25-27 November, 2015.These were the designated areas such as designated area of Chang Island, designated area of Pattaya and related area, designated area of Sukhothai, - including Sri Stachanalai and - Kampang Petch, designated area of Loei, designated area of Nan old city and lastly designated area of U-Thong. The overall result shows that tourist perceptions and attitudes are very positive toward Low Carbon Tourism. Especially in the perception dimension because the designated areas had organized campaigns that encouraged tourist behavior to be more environmentally friendly. These campaigns encourage tourists to saving energy, to eating at restaurants that use local suppliers from the local and to using the environment- friendly vehicles for travel. Multiplier Regression analysis shows that the older tourists that have older ages have a lowest perception about Low Carbon Tourism. However, the tourists’ positive or negative attitudes don't have an effect on their perception about environmentally friendly tourism. The result of this study can be used as baseline information that would help in the campaign for future environmentally friendly projects. These environmentally friendly projects could help promote sustainable tourism as a new tourism trend of tourism in Thailand.th
dc.description.sponsorshipองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectLow Carbon Tourismth
dc.subjectการท่องเที่ยวth
dc.subjectการรับรู้th
dc.titleการศึกษาการรับรู้ด้าน Low Carbon Tourism ของนักท่องเที่ยวที่เลือกพักในโรงแรมที่พักภาคีเครือข่ายของ อพท.
dc.title.alternativeThe Study of Perception Regarding Low Carbon Tourism of Tourists who stay at the hotel related with DASTA
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
cerif.cfProj-cfProjId2558A00464
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการท่องเที่ยว (Tourism sector : TO)
turac.contributor.clientองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record