Show simple item record

dc.contributor.authorประภัสสร์ เทพชาตรี
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2017-06-30T08:26:30Z
dc.date.available2017-06-30T08:26:30Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/328
dc.description.abstractการวิเคราะห์ผลกระทบของการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ต่ออุตสาหกรรมไมซ์มีความสำคัญเนื่องจากความตกลง AEC เป็นความตกลงที่มีเงื่อนไขของการเปิดเสรีที่กว้างขวางกว่าความตกลงเปิดเสรีทางการค้า กล่าวคือ มีเนื้อหาสาระครอบคลุมไม่เพียงแต่การเปิดให้สินค้าสามารถเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนได้โดยมีอุปสรรคน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย แต่เปิดให้มีการค้าบริการได้อย่างเสรีมากขึ้น มีการเคลื่อนย้ายของเงินทุนระหว่างประเทศสะดวกขึ้น และเปิดเสรีทางด้านการลงทุนมากขึ้นด้วย ประกอบกับการที่อุตสาหกรรมไมซ์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจมากขึ้นในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจากเดิมที่เคยเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศพัฒนาแล้วให้ความสำคัญเพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้มาก มีผลประโยชน์ที่กระจายไปสู่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เชื่อมโยง และเกี่ยวข้องได้กว้างขวาง รวมทั้งการที่ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงเป็นสารสนเทศ (information) ที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการวางแผนและขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย การศึกษานี้ ได้ชี้ให้เห็นว่า ความตกลง AEC เป็นความตกลงที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนการพัฒนาของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยโดยการเพิ่มอุปสงค์ของอุตสาหกรรมไมซ์ระหว่างภูมิภาค (Inter-regional demand) และอุปสงค์ภายในภูมิภาค (intra-regional demand) การเพิ่มการแข่งขันของอุตสาหกรรมไมซ์ในภูมิภาคจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้อาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์สูงสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมไมซ์ได้ (Regional MICE Hub) นอกจากนี้ AEC ยังส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมไมซ์ไปสู่ภาคส่วนอื่นของประเทศที่สามารถพัฒนาเพื่อสนับสนุนการกระจายผลประโยชน์จากอุตสาหกรรมไมซ์ไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนดังกล่าวยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน โดย สสปน. ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการประสาน อำนวยความสะดวกให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมได้ การเปิดเสรีในสาขาภาคบริการและการลงทุนมากขึ้นภายใต้ AEC ยังทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ และการจัดสรรทรัพยากรการผลิตของอุตสาหกรรมไมซ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการขยายตัวของการลงทุนอุตสาหกรรมไมซ์ในอาเซียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นย่อมทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไมซ์ต้องมีการปรับตัว ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศให้เป็นมาตรฐานที่ยอมรับ และทัดเทียมระดับสากล เพิ่มประสิทธิภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน และท้ายที่สุด AEC ยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนในการแสวงหาความร่วมมือกันใจะนการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ไปด้วยกัน แทนการแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงฐานลูกค้า หรือความได้เปรียบระหว่างกันโดยการแข่งขันกันเสนอผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการดึงดูดกิจกรรมไมซ์มายังประเทศของตน ความร่วมมือระหว่างกันขิงการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ของอาเซียนจะทำให้การพัฒนาของอุตสาหกรรมมีความยั่งยืน ประชาชนของภูมิภาคอาเซียนเองได้รับประโยชน์จากมูลค่าเพิ่มที่สร้างขึ้นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยในฐานะที่เป็นเจ้าของมรัพยากรการผลิต อีกทั้งยังจะเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมไมซ์ไทยได้อีกทางหนึ่งด้วยth
dc.description.abstractAn economic impact analysis of the ASEAN Economic Community (AEC) on MICE industry has recently received a greater share of interests for at least two reasons. First, AEC basically served as an extension of ASEAN Free Trade Area (AFTA) which not only provides more liberalization of trade in goods but also services, investment, and freer movement of capital. Secondly, MICE industry has increasingly been developed into a crucial industry in developing economies relative to the past when it was viewed as a high caliber industry for advanced economies. The industry has a great ability to generate high value added activities and spread out the benefits to supporting as well as related industries. Perceived as a much deeper regional economic integration, AEC promises to deliver wilder range of inter-regional and intra-regional demand for MICE activities. An increasing competition in the market can accommodate and propel ASEAN, which is a region with high potential for MICE industry, to be regional MICE hub. In addition, as the ASEAN becomes more economically integrated, AEC allows for the development of MICE industry throughout other potential area of the country by increasing border economic activities. However, to realize the opportunities enhanced by AEC, corporations between related entities both private sectors and government authorities are needed with Thailand Convention and Exhibition Bureau (TCEB) acts as a coordinator and facilitator. Liberalization of service sectors and investment under AEC encourages better efficiency allocation of resources used in MICE industry as investment expands because of a freely movements of labor and capital. Competition in the ASEAN MICE industry also serves as an extra drive for MICE entrepreneurs to improve service standards and enhance their competitiveness. Finally, AEC provide a forum for ASEAN members to establish a collaboration mechanism instead of an competing environment to take advantage of each other such that it facilitates the development of ASEAN MICE industry as a whole.th
dc.description.sponsorshipสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectประเมินผลกระทบth
dc.subjectอุตสาหกรรมไมซ์ไทยth
dc.titleประเมินผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไมซ์ไทยจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
dc.title.alternativeASEAN Economic Community's Impacts on Thailand's Mice Industry
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
cerif.cfProj-cfProjId2559A00273
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)
turac.contributor.clientสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record