Show simple item record

dc.contributor.authorจิตตาภรณ์ ศรีบุญจิตต์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-12-23T02:21:59Z
dc.date.available2016-12-23T02:21:59Z
dc.date.issued2016
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/292
dc.description.abstractการศึกษาความเป็นไปได้ “โครงการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางกรมการแพทย์ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership)” (โครงการฯ) นี้ได้จัดทำขึ้นตามที่กรมการแพทย์ มีความประสงค์ให้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์การแพทย์เฉพาะทางกรมการแพทย์ (DMS Medical Complex) ภายใต้หลักการของการร่วมทุนภาครัฐและเอกชน ซึ่งกรมการแพทย์มีความต้องการช่วยลดความแออัด ลดระยะเวลารอคอยสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐบาลเดิม และเพิ่มการเข้าถึงบริการ สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ ด้วยแนวคิดให้มีการกระจายผู้ป่วยส่วนหนึ่งไปยังศูนย์การแพทย์ แห่งใหม่ที่มีศักยภาพเทคโนโลยีสูงและมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญครบทุกสาขาจากทุกโรงพยาบาล สถาบันของกรมการแพทย์มาร่วมให้บริการรักษาผู้ป่วยที่ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางแห่งใหม่ ซึ่งสร้างให้ได้รับมาตรฐานตามหลักของ Joint Commission International (JCI) โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกสบายของผู้ป่วยเป็นอันดับแรก สำหรับการศึกษาโครงการฯ เป็นการวิเคราะห์ตามหลักการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์สูงสุดและดีที่สุด (Highest and Best Use Analysis : HBU) โดยใช้ทั้งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิในการวิเคราะห์ ซึ่งขอบเขตของการศึกษาครอบคลุมการศึกษาความสอดคล้องของโครงการการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางกายภาพของพื้นที่การเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกการศึกษาความต้องการของตลาดและการวิเคราะห์เชิงปริมาณจากผลของแบบสอบถาม การศึกษาข้อมูลตลาดและวิเคราะห์ อุปสงค์ และอุปทานของธุรกิจโรงพยาบาล การวิเคราะห์กลยุทธ์ทางการตลาด แนวคิดการพัฒนาออกแบบโครงการด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมและประมาณการต้นทุนโครงการการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางการเงินและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ การศึกษารูปแบบการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนและการจัดสัมมนาถ่ายทอดความรู้ ผลการศึกษาตามขอบเขตการศึกษาดังกล่าว พบว่า ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง กรมการแพทย์ มีความเหมาะสมในการพัฒนาในทุกด้าน ทั้งด้านกฏหมาย การตลาด แนวคิดการออกแบบและวิศวกรรมงานระบบและผลตอบแทนทางการเงินและเศรษฐศาสตร์ โดยพัฒนาเป็นอาคารสถานพยาบาลสูง 30 ชั้น ซึ่งมีการให้บริการทางการแพทย์ เฉพาะทางครบถ้วนในทุกสาขา ในระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) พร้อมด้วยองค์ประกอบสนับสนุนอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ โดยทำการพัฒนาออกแบบโครงการ ทั้งด้านวิศวกรรมงานระบบและสถาปัตยกรรมตามลักษณะการดำเนินงานของสถานพยาบาล ระดับตติยภูมิ และข้อกำหนดตามมาตรฐาน JCI เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงคุณภาพของการให้บริการในทุกแง่มุม และรูปแบบการร่วมทุนที่มีความเหมาะสมกับโครงการมากที่สุด ได้แก่ รูปแบบ Design-Build-Finance-Operate/Maintain หรือ DBFO/M เนื่องจากเป็นรูปแบบที่มีความยืดหยุ่นและลดภาระในการจัดหาแหล่งเงินทุนในการจัดทำโครงการของหน่วยงานเจ้าของโครงการหรือกรมการแพทย์อีกด้วยth
dc.description.sponsorshipกรมการแพทย์
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectศึกษาความเป็นไปได้th
dc.subjectPublic Private Partnershipth
dc.subjectศูนย์การแพทย์เฉพาะทางth
dc.titleศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการศูนย์การแพทย์เฉพาะทางกรมการแพทย์โดยให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership)
dc.title.alternativeFeasibility Study on the Special Treatment Medical Center (Public Private Partner Ship)
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมการแพทย์
cerif.cfProj-cfProjId2559A00386
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาสาธารณสุข (Health sector : HE)
turac.contributor.clientกรมการแพทย์
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record