Show simple item record

dc.contributor.authorสรายุทธ์ นาทะพันธ์
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-03-18T07:59:00Z
dc.date.available2016-03-18T07:59:00Z
dc.date.issued2013
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/229
dc.description.abstractอ.อ.ป. ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร จากการระดมความเห็นผู้บริหารระดับสูงของ อ.อ.ป. เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556 ผู้บริหารระดับสูงมีความเห็นชอบร่วมกันที่จะกำหนดวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์กร โดยมุ่งเน้น การเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าไม้ในห่วงโซ่การผลิตให้มากขึ้น จากวิสัยทัศน์เดิมของ อ.อ.ป. ที่กำหนดว่า “เป็นองค์กรหลักในการพัฒนาสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน” มาเป็นวิสัยทัศน์ใหม่คือ "เป็น ผู้นำการจัดการสวนป่าเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไม้สู่สากล" ซึ่งเป็นการเพิ่มเติมกิจกรรม ด้านห่วงโซ่การผลิต และเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร โดยยังคงพันธกิจหลักตามปรัชญาการจัดตั้งองค์กร จากวิสัยทัศน์ข้างต้น นำมาสู่ 4 ยุทธศาสตร์ 11 กลยุทธ์ 28 โครงการสนับสนุน โดยคณะที่ปรึกษา นำเสนอยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มยุทธศาสตร์ : การจัดการห่วงโซ่การผลิต ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้ และการจัดการสวนป่าให้ได้มาตรฐานสากล ยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์และบริการสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าไม้ กลุ่มยุทธศาสตร์ : การจัดการทางการเงินและโครงสร้างองค์กร ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบการจัดการทางการเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพคล่อง ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับโครงสร้างองค์กรสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง และพนักงานมีความภูมิใจ สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาองค์ความรู้และการจัดการสวนป่าเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งเป็นการ ดูแล บำรุงรักษาสวนป่าไม้ประเภทต่างๆ ตามที่ อ.อ.ป. ได้ดำเนินการอยู่แล้ว และยุทธศาสตร์ที่ 2 ปรับ โครงสร้างผลิตภัณฑ์และบริการสู่อุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าไม้ เป็นการวางเป้าหมายและทิศทางให้กับองค์กร ก้าวสู่ความยั่งยืนภายใต้วิสัยทัศน์ที่วางไว้ ทั้งนี้กระแสเงินสดที่พอเพียงและต่อเนื่องเป็นอีกปัจจัยที่นำองค์กรสู่ความยั่งยืนและมั่งคั่ง โดยมีบุคลากร และโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสม สอดรับกับยุทธศาสตร์เชิงรุกเป็นสิ่งที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ต้องรีบดำเนินการ ดังนั้นการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ 2 3 และ 4 จึงเป็นการกำหนดทิศทางที่ผลักดันองค์กรก้าวไปข้างหน้าth
dc.description.abstractThe Forest Industry Organization (FIO) had assigned Thammasat University Research and Consultancy Institute (TURAC) as a consultant in formulating Corporate Strategic Plan. From a strategic plan workshop among top executives of FIO on September 23, 2013, it was unanimous to create a new organization vision emphasizing on focusing in industrialize activities and increasing proportion of value added products in its supply chain. Former vision of FIO was “Be a leading organization in sustainably economic forestry development” and was modified to be the new vision as “Be a leader in managing economic forestry for sustainability and uplift the wood industry internationally” by which both supply chain and efficiency activities promotions are added while maintaining organization missions to comply with philosophy of FIO. From the new vision, 4 strategies, 11 tactics, and 28 supporting projects are recommended. Four strategies are divided into two major groups as follows: Supply Chain of Production Strategic Group Strategy 1: Enhance knowledge body in economic forestry together with managerial knowledge body of economic managerial internationally. Strategy 2: Adjust product and service structure towards value added for wood industry Financial and Organization Structure Strategic Group Strategy 3: Develop financial management system aiming at solving liquidity problem Strategy 4: Reengineer organization structure for high competency organization to create proud for everyone in FIO Strategy 1 focuses on maintaining economic forest under FIO supervision. Strategic 2 set direction and target for the organization to follow aiming at sustainable organization under the new vision. Furthermore, adequate operating cash flow is one of the important factors leading any organization to a wealthy and sustainable organization with high quality personal and appropriate organization structure so that active strategic plans is what the FIO needs to formulates and implements as stated in strategy 2, 3, and 4. In sum, the suggested 4 strategies are pushing the FIO going forward toward a wealthy and sustainable organization.th
dc.description.sponsorshipองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectจัดทำแผนth
dc.subjectอุตสาหกรรมป่าไม้th
dc.subjectแผนยุทธศาสตร์th
dc.titleจัดทำแผนยุทธศาสตร์ขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
dc.title.alternativeThe Strategic Plan for Forest Industry Organization
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
cerif.cfProj-cfProjId2556A00463
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record