Show simple item record

dc.contributor.authorไพรัช อุศุภรัตน์
dc.contributor.authorUsubharatana, Phairat
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2016-02-25T07:43:38Z
dc.date.available2016-02-25T07:43:38Z
dc.date.issued2014
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/193
dc.description.abstractประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหัวข้อสำคัญที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคุณภาพสินค้าและระบบการบริหารจัดการ โดยเฉพาะโลกที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การค้าของ WTO สำหรับการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีแนวโน้มการใช้น้ำในปริมาณมาก เมื่อเทียบกับการผลิตจากอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ โดยการใช้น้ำอาจมาจากกิจกรรมต่างๆ อาจเป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมในรูปของน้ำเสียที่อุตสาหกรรมต้องทำการบำบัดให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้นก่อนปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ในปัจจุบันการศึกษาเกี่ยวกับร่องรอยการใช้น้ำ หรือ วอเตอร์ฟุตพริ้นท์จากการผลิตผลิตภัณฑ์ (water footprint of product) จึงเป็นโอกาสให้เกิดการวิเคราะห์ลักษณะของการใช้น้ำประเภทต่างๆ ในระหว่างการผลิตเพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีโอกาสปรับปรุงอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ตัวเลขดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจบนเวทีการค้าระดับโลกได้ ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันอาหาร ได้มอบหมายให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำโดยหัวหน้าคณะทำงานคือ ผศ.ดร.หาญพล พึ่งรัศมี ดำเนินการให้คำปรึกษาการประเมินวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ รวม 12 บริษัท โดยกิจกรรมการประเมินร่องรอยการใช้น้ำ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่ ประการแรก การจัดทำวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ ประการที่สอง เพื่อให้สถานประกอบการสามารถลดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพอย่างน้อยร้อยละ 5 และประการสุดท้ายคือ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับอุตสาหกรรมพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ระดับที่ 2: ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) ขึ้นไป สำหรับผลการประเมินระดับวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของอุตสาหกรรมอาหาร 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง และอาหาหรแปรรูป ได้สะท้อนให้เห็นถึงการใช้น้ำในกระบวนการผลิตภายในโรงงานในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งสาเหตุหลักของการใช้น้ำมักมาจากน้ำทางอ้อมที่ติดตัวมากับวัตถุดิบหลัก เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำตาล มีระดับวอเตอร์ฟุตพริ้นท์มาจากการผลิตอ้อย เป็นต้น เนื่องจากในอุตสาหกรรมอาหารมักใช้วัตถุดิบทางการเกษตร และเป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นภาคส่วนที่มีการใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ซึ่งวัตถุดิบเป็นปัจจัยที่ยากต่อการควบคุม แต่หากผู้ผลิตในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมี Supplier ภายใต้การควบคุมดูแล ระดับวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของวัตถุดิบก็สามารถปรับปรุงและพัฒนาให้มีระดับวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ต่ำลงได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ข้าวโพดวานกระป๋อง และได้จัดทำค่าอ้างอิงของผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายดิบ เพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการจัดทำค่าอ้างอิงในอนาคตต่อไป ในส่วนของการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพอย่างน้อยร้อยละ 5 โดยภาพรวมทั้ง 12 บริษัท สามารถลดการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพเฉลี่ยในภาพรวมตามเป้าหมาย และสามารถผลักดันให้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว แบ่งเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 2: ปฏิบัติการสีเขียว (Green Activity) 4 โรงงาน และอุตสาหกรรมสีเขียว ระดับที่ 3: ระบบสีเขียว (Green System) 8 โรงงาน Environment is currently an essential issue directly relating to the product’s quality and management system, especially when the world is under WTO trade policy and regulation. In the future, freshwater may not be sufficient to the constantly increasing population, particularly that needed for food and energy. Nowadays, freshwater sources encounter contamination caused by human, as well as the climate change which brings about more severe drought in several countries. Nowadays, the study on the tracking of water consumption or Water Footprint of Product) is an initiative means to analyze types of water usage during the production process, allowing the manufacturers to improve it to be more productive, the calculated amount can also be an underlying economic benefit in international trade level. Consequently, Office of Industrial Economics and national food institute has assigned the faculty of Engineering, Thammasat University and the leader of working group, Asst. Prof. Dr. Harnpon Phungrassami, to perform and give suggestion about Water footprint of products to 12 manufacturers. The water footprint assessment activity is to study 3 main purposes which are; 1.) to support preparation of water footprint analysis 2.) to efficiently reduce water usage of factories by at least 5 percent and 3.) to prepare development for Green Industry Level 2: Green Industry and upper levels. The evaluation of water footprint levels in 3 categories of food industry- sugary food products, tapioca starch products and processed food products- reflects the types of water usages in the production process of each category. Water is mostly used indirectly for raw materials. As for sugary products, for example, 90% of their water footprint level comes from the water substantially consumed during sugarcanes cultivation. As a food industry considerably relies on agricultural crops responsible for the significant amount of water consumption and rather hard to control. However, in the event that the manufacturers in each category have their own suppliers under their supervision, the level of water footprint can possibly be lessened. For instance, the crop productivity per rai has been increased by better fertilizers and chemicals management. Furthermore, Life Cycle Assessment of canned sweet corn product and benchmark of raw sugar is performed as a beneficial case study of Environmental Impact Assessment and benchmark in the future. To efficiently reduce water usage of factories by at least 5 percent, it can be concluded that if the participating companies has proceeded as instructed, they can effectively cut down the water usage by goal in average. And all concerned factories submit documents for certificate approval of Green Industry program, 4 factories apply for Level 2: Green Activity and 8 factories apply for Level 3: Green System.th
dc.description.sponsorshipสถาบันอาหาร
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectWater Footprintth
dc.subjectการจัดการทรัพยากรน้ำth
dc.titleโครงการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนด้วย Water Footprint ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการส่งออก ปี 2557
dc.title.alternativeSustainable Water Management for Thailand Exported Food Industries by Water Footprint Assessment
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสถาบันอาหาร
cerif.cfProj-cfProjId2557A00187
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาอุตสาหกรรม (Industry sector : IN)
turac.contributor.clientสถาบันอาหาร
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record