Show simple item record

dc.contributor.authorประจักษ์ ก้องกีรติth
dc.date.accessioned2022-10-18T08:17:32Z
dc.date.available2022-10-18T08:17:32Z
dc.date.issued2022-10-18
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1120
dc.description.abstractงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์หลักสองประการคือ ประการที่หนึ่ง เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของระบบเลือกตั้งที่ประเทศไทยใช้ตั้งแต่การปฏิรูปการเมืองปี 2540 ถึงรัฐธรรมนูญ 2560 และประการที่สอง ออกแบบระบบเลือกตั้งที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทยในปัจจุบันโดยคำนึงถึงเป้าหมายการลดความความขัดแย้งและการส่งเสริมคุณภาพประชาธิปไตยเป็นสำคัญ ระบบเลือกตั้งของไทยถูกเปลี่ยนบ่อยครั้งอันเนื่องมาจากความขัดแย้งและความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในรอบ 2 ทศวรรษประเทศไทยเปลี่ยนระบบเลือกตั้งถึง 4 ครั้ง คือ ระบบเลือกตั้งปี 2540, ระบบเลือกตั้งปี 2550, ระบบเลือกตั้งปี 2550 แก้ไขเพิ่มเติม และระบบเลือกตั้งจัดสรรปันส่วนผสมปี 2560 การเปลี่ยนระบบเลือกตั้งบ่อยครั้งเช่นนี้สะท้อนการขาดฉันทามติในสังคมไทยในเรื่องกติกาพื้นฐานในการขึ้นสู่อำนาจ และสะท้อนว่าระบบเลือกตั้งแต่ละระบบยังไม่ได้ตอบโจทย์ในเรื่องการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่าระบบเลือกตั้งแต่ละระบบมีจุดอ่อนและจุดแข็งที่ต่างกันไป และสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างกันต่อระบบการเมือง โดยระบบเลือกตั้งปี 2540 มีจุดเด่นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับรัฐบาลและพรรคการเมืองขนาดใหญ่ แต่มีจุดอ่อนเรื่องความเป็นสัดส่วนและการเปิดโอกาสให้พรรคขนาดเล็ก ในขณะที่ระบบเลือกตั้งปี 2560 มีจุดเด่นในการสร้างความเป็นสัดส่วน แต่มีจุดอ่อนในเรื่องการสร้างความเข้มแข็งของรัฐบาลและความเสถียรมั่นคงของระบบพรรคการเมือง และความยุ่งยากซับซ้อนในการทำความเข้าใจของประชาชน ผู้วิจัยได้สำรวจลักษณะเด่นของระบบเลือกตั้งผสมแบบสัดส่วนที่ประเทศเยอรมนีเป็นต้นแบบในการคิดค้น และประเทศอย่างนิวซีแลนด์ได้นำมาใช้จนประสบผลสำเร็จ ซึ่งระบบเลือกตั้งผสมแบบสัดส่วนมีข้อดีหลายประการที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของความขัดแย้งและสภาวะประชาธิปไตยของไทย งานวิจัยชิ้นนี้เสนอให้นำระบบเลือกตั้งผสมแบบสัดส่วนที่ปรับรายละเอียดจากตัวแบบเยอรมนีมาใช้ในประเทศไทยหากมีการปฏิรูปการเมืองและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับth
dc.description.abstractThis research has two main objectives: first, to compare the electoral systems that have been used in Thailand from the 1997 political reform to the 2017 constitution, and second, to design the new electoral system that can solve the conflict and strengthen the quality of democracy. Electoral system in Thailand has been frequently changed due to political conflict and instability. Within two decades, Thailand has changed electoral system four times: the 1997 system, the 2007 system, the 2007 system with the amendment, and the 2017 system. Frequent changes of electoral system reflect the lack of consensus on the basic rule of the game regarding the means to power and show that electoral system has not yet function as a conflict resolution mechanism. The research finding shows that each electoral system has different weakness and strength, and thus produces different impacts on political system. The 1997 system strengthens the government and major political parties, but has weakness in terms of proportionality and representation of small parties. The 2017 system does better in term of proportionality, but produces weak coalition government and unstable politics, and it is too complicated for general voters. Additionally, this research studies the mixed-member proportional system (MMP) originated in Germany and successfully adopted by New Zealand. The research finds that the MMP system has several strong features and is suitable to the context of current conflict and state of democracy in Thailand. Therefore, this research proposes that Thailand should adopt the MMP system, with slight modification, when the country reforms political system and drafts a new constitution in the future.th
dc.description.sponsorshipสถาบันพระปกเกล้าth
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectระบบเลือกตั้งth
dc.subjectส่งเสริมประชาธิปไตยth
dc.titleระบบเลือกตั้งเพื่อลดความขัดแย้งและส่งเสริมคุณภาพประชาธิปไตยth
dc.title.alternativeElectoral system designed for fostering peace and strengthening the quality of democracyth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสถาบันพระปกเกล้าth
cerif.cfProj-cfProjId2565A00211th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสถาบันพระปกเกล้า
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleระบบเลือกตั้งเพื่อลดความขัดแย้งและส่งเสริมคุณภาพประชาธิปไตยth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record