Show simple item record

dc.contributor.authorพีรดร แก้วลายth
dc.date.accessioned2022-07-22T07:33:11Z
dc.date.available2022-07-22T07:33:11Z
dc.date.issued2565-07-22
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1093
dc.description.abstractสืบเนื่องจากพื้นที่บริเวณชุมชนบ้านร่มเป็นพื้นที่ชุมชนที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนอย่างยาวนาน เป็นชุมชนที่มีศักยภาพในเชิงวัฒนธรรมในด้านอาหารและวัตถุดิบท้องถิ่น ประกอบกับทำเลที่ตั้งของชุมชนยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง เป็นพื้นที่ที่อยู่ติดกับพื้นที่บริเวณริมแม่น้ำปัตตานีมีความสมบูรณ์ในเชิงของระบบนิเวศทางธรรมชาติ และเป็นพื้นที่ที่การกระจุกตัวของหน่วยงานภาครัฐ เหมาะแก่การเป็นพื้นที่สาธารณะของเมืองที่ผสมผสานระหว่างธรรมชาติ และวัฒนธรรมท้องถิ่น นอกจากนี้ชุมชนบ้านร่ม เป็นชุมชนดั้งเดิมที่อยู่คู่กับพื้นที่มาอย่างยาวนาน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและมีความพร้อมในการพัฒนา ประกอบกับแนวทางในการดำเนินงานของทางเทศบาลนครยะลา ซึ่งต้องการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของตนเอง เพื่อสร้างความหวงแหนและเชื่อมโยงกับการพัฒนา ด้วยเหตุนี้ ทางเทศบาลนครฯ จึงเล็งเห็นว่าชุมชนบ้านร่ม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลนครฯ มีความพร้อมและมีศักยภาพในหลากหลายด้าน ทั้งทำเลที่ตั้ง ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชน ความเข้มแข็งและความพร้อมในด้านโครงสร้างทางสังคมของชุมชน จึงเลือก (1) พื้นที่ท่าน้ำชุมชนบ้านร่ม (2) พื้นที่ต่อเนื่องบริเวณริมแม่น้ำปัตตานี และ (3)พื้นที่โรงเหล้าเก่าของกรมธนารักษ์ ในการเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาพื้นที่ โดยจัดทำทั้งผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่ในภาพรวมและการออกแบบพื้นที่ยุทธศาสตร์ดังกล่าวทั้ง 3 แห่ง การจัดทำผังแม่บทพัฒนาพื้นที่ การปรับปรุงภูมิทัศน์ และการออกแบบตลาดชุมชนบ้านร่ม เป็นแนวคิดการออกแบบที่มุ่งเน้นการมองหาต้นเหตุที่แท้จริงของปัญหาหรือประเด็นเฉพาะในพื้นที่ นำไปสู่การพัฒนาแนวคิดใหม่ ๆ ที่มีความสร้างสรรค์เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินทรัพย์ในพื้นที่ รวมถึงการสร้างต้นแบบเพื่อทดสอบแนวคิดก่อนที่จะนำไปปฏิบัติจริง โดยเป็นการนำเอากระบวนการคิดเชิงออกแบบ มาบูรณาการให้เป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อพัฒนาพื้นที่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนกันในวงกว้าง และเกิดความเป็นเจ้าของ พื้นที่สาธารณะที่ประสบความสำเร็จ มักมีการสร้างการมีส่วนร่วมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การประชุมกลุ่ม การจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการร่วมรังสรรค์ (co-creation) การสร้างกลุ่มและเครือข่าย การจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อทำให้เกิดการรับรู้ถึงโครงการในวงกว้างและเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย การสร้างการมีส่วนร่วมกับคนทุกช่วงวัยก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนมุมมองของคนต่างยุคสมัย ผลการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์นำร่องที่มีความพร้อมในการพัฒนาเป็นพื้นที่แรกคือ พื้นที่ตลาดท่าน้ำชุมชนบ้านร่ม โดยมีข้อสรุปการออกแบบพื้นที่ตลาดบ้านร่มดังนี้ จากข้อสรุปการทดลองจัดตลาดท่าร่มได้สรุปรายละเอียดการออกแบบของพื้นที่ตลาดบ้านร่มออกเป็น 4 พื้นที่ประกอบไปด้วย • พื้นที่ลานบ้านร่ม (Zone 1) ประกอบไปด้วย การจัดทำหลังคาสำหรับจัดตั้งร้านค้าพื้นที่จัดตลาดบริเวณลานบ้านร่มและพื้นที่ศาลาบ้านร่ม • พื้นที่ท่าน้ำบ้านร่ม (Zone 2) ประกอบไปด้วย ท่าน้ำบ้านร่มและพื้นที่ทางลงริมน้ำ บันได ทางลงชานริมน้ำ • ทางเดินป่าชุมชน (Zone 3) ประกอบด้วย Cover Walkway สำหรับทางเดินริมสันเขื่อน Cover Walkway ที่สามารถตกแต่งเป็นซุ้ม สูง 6 เมตร และ Cover Walkway ที่สามารถตกแต่งเป็นซุ้ม สูง 8 เมตร • พื้นที่บริการและสนับสนุน (Zone 4) ประกอบไปด้วย พื้นที่ห้องน้ำและการก่อสร้างทางเท้าสำหรับการเข้าถึงห้องน้ำ การมีส่วนร่วมกับโครงการทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ ส่งผลให้ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมกลายเป็นตัวแทนของโครงการ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเครือข่ายคอยช่วยเหลือให้การสนับสนุน ต่อยอดและสืบทอดแนวคิด หรือแม้กระทั่งเป็นหนึ่งในคณะทำงาน Banrom community, Yala Province has a long history and potential in culinary culture using local ingredients. The location of Banrom Community also has distinct quality in adjacency with Pattani river with rich environmental ecosystem together with a clusters of government offices. The area could potentially be one of the city’s new public spaces with mixes of nature and local culture. In addition, Banrom Community has its origin at this location for a long period of time, which makes this community strong and ready for development that comply with Yala Municipality administrative approach which emphasizes participatory process in community development. Therefore, the Yala Municipality has acknowledge Banrom as one of the most equipped community with full of potentials such as location, history, community culture, strength and readiness in community social structure and decided to select 3 areas for development; 1) Banrom Community Pier, 2) Pattani River’s riverfront, and 3) Old Brewery Building own by the Treasury Department, Ministry of Finance to be strategic locations through the master planning and design process of these 3 locations. The Master Planning, Landscape Improvement, and Design of Banrom Community Market uses design tools that unravel complex relationships, searching for the origin of problems or the specific issues of the area. This would lead to the forming of new concepts of value-creation from local assets as well as prototyping the ideas prior to put into the implementation. Through the use of design thinking process and tools in participatory design process, this will create an exchange platform among stakeholders and a sense of ownership. The success of public space often use various forms of participatory processes such as creating coalition, introducing co-creation process, forming of new working group/task force and networking, and appointing a committee which can create awareness among participants and experts. An engagement of various age groups is crucial as it opens up a dialog between generations. The result of a participatory design process and prototyping of community market and public spaces discovered that the location that has the most potential to develop is the Banrom Community Pier and has 4 design areas as follows: 1.) Banrom Community Plaza (Zone 1) The design of new additional roof around existing sala to accommodate future community market. 2.) Banrom Pier (Zone 2) The re-design of waterfront steps and access. 3.) Community Forest Walk (Zone 3) The design of new covered walkway along existing river wall. There are 2 areas of new cover walkway which have 6 and 8 meters height that can be decorated as entrance gateway. 4.) Service and Support Areas (Zone 4) The designated area of toilet and sidewalk. The participatory process of this project creates a sense of ownership among stakeholders who become the representative and spoke person of the project and create a network that will become part of the future working group.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectผังแม่บทพัฒนาพื้นที่th
dc.subjectการปรับปรุงภูมิทัศน์th
dc.subjectการออกแบบตลาดชุมชนบ้านร่มth
dc.titleจัดทำผังแม่บทพัฒนาพื้นที่ การปรับปรุงภูมิทัศน์ และการออกแบบตลาดชุมชนบ้านร่มth
dc.title.alternativeMasterplanning, Landscape Improvement, and Design of Banrom Community Marketth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานเทศบาลนครยะลาth
cerif.cfProj-cfProjId2564A00871th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)th
turac.contributor.clientสำนักงานเทศบาลนครยะลา
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleจัดทำผังแม่บทพัฒนาพื้นที่ การปรับปรุงภูมิทัศน์ และการออกแบบตลาดชุมชนบ้านร่มth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record