Show simple item record

dc.contributor.authorทรงชัย ทองปานth
dc.date.accessioned2022-07-20T02:01:53Z
dc.date.available2022-07-20T02:01:53Z
dc.date.issued2565-07-20
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1090
dc.description.abstractจากการดำเนินโครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครองประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สามารถสรุปได้ว่า (1) ในภาพรวมประชาชนร้อยละ 90.37 มีความเชื่อมั่นต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง โดยประชาชนมีความเชื่อมั่นในทุกด้าน และประชาชนร้อยละ 89.36 มีความเชื่อมั่นต่อการอำนวยความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมของศาลปกครอง โดยประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อการอำนวยความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมของศาลปกครองในระดับเชื่อมั่นทุกด้าน (2) ในภาพรวมประชาชนร้อยละ 98.73 มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ และการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง (3) ในภาพรวมผู้รับบริการร้อยละ 57.45 มีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการศาลปกครอง โดยประชาชนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในทุกด้านยกเว้นด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (4) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาท โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และเขตอำนาจศาล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพหลัก หน่วยงานของศาลปกครองที่เคยติดต่อ ฐานะในการใช้บริการด้านคดี ประเภทเรื่องที่เป็นคู่กรณีในคดีและการใช้บริการอื่นที่ไม่ใช่การฟ้องคดี แหล่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการของศาลปกครอง ได้แก่ ตัวแปรอายุ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก หน่วยงานของศาลปกครองที่เคยติดต่อ แหล่งการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ได้แก่ ตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพหลัก หน่วยงานของศาลปกครองที่เคยติดต่อ การใช้บริการด้านคดี ประเภทเรื่องที่เป็นคู่กรณีผลการพิจารณาพิพากษาคดีในคดีที่ผ่านมาการใช้บริการอื่นที่ไม่ใช่การฟ้องคดี รวมถึงตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับแหล่ง การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และ (5) ปัจจัยระดับความรู้ ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับบทบาท โครงสร้าง อำนาจศาลและเขตอำนาจศาล รวมทั้งการดำเนินงานในมิติต่าง ๆ ของศาลปกครอง ปัจจัยระดับความพึงพอใจของผู้ที่เคยใช้บริการศาลปกครอง และปัจจัยระดับความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครองมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน สำหรับแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มและ/หรือธำรงรักษาความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง กล่าวคือ (1) ด้านการสื่อสาร ได้แก่ การเน้นการสื่อสารผ่านทางช่องทางที่ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากศาลปกครองมากที่สุด ปรับปรุงและประชาสัมพันธ์ช่องทางการสื่อสารที่ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากศาลปกครองน้อย เน้นนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ประชาชนต้องการทราบ ใช้กลไกการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน (2) ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน ได้แก่ เน้นการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในประเด็นที่ประชาชนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนมากที่สุด เน้นการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในประเด็นที่ประชาชนไม่ทราบมากที่สุด ควรมีการปรับปรุงช่องทางการให้ความรู้และเนื้อหาของความรู้ การให้ความรู้ควรแตกต่างกันไปตามคุณลักษณะของประชาชน การมุ่งเน้นในการให้ความรู้ในเรื่องการบังคับคดีแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาเครือข่ายเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน ปรับปรุงระบบการสืบค้นข้อมูลแนวคำพิพากษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บริการ การให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านประสบการณ์ในการเข้าสู่คดีต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ความเข้าใจแก่กลุ่มเด็กและเยาวชน (3) ด้านการพัฒนาระบบการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ประสานงานในจังหวัดที่ไม่มีศาลปกครอง การปรับปรุงและพัฒนาระบบการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามคดี ด้านการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน (4) ด้านการรักษาภาพลักษณ์ของศาลปกครอง ได้แก่ ศาลปกครองจะต้องมีการเผยแพร่คำพิพากษาของศาลปกครองให้แพร่หลายมากที่สุด ควรกำหนดเงื่อนไขของการอุทธรณ์ในคดีปกครองให้ชัดเจนและเข้มงวดมากขึ้นเพื่อช่วยลดปริมาณคดีที่ขึ้นสู่ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองจะต้องให้ความสำคัญอย่างสูงในการสร้างระบบรักษาความปลอดภัยของบรรดาข้อมูลต่าง ๆ ที่เก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ การขโมย หรือรั่วไหลของข้อมูลต่าง ๆ From the implementation of the project to survey people's confidence in the administration of justice of the Administrative Court for the fiscal year 2021, it can be concluded that (1) Overall, 90.37% of people have confidence in the administration of justice by the Administrative Court. The people have confidence in every aspect and 89.36% of the people are confident in the administration of environmental justice by the Administrative Court. The people have confidence in the administration of environmental justice of the Administrative Court at the same level of confidence in all aspects. (2) Overall, 98.73% of people have a correct understanding of the roles, duties, and administration of justice of the Administrative Courts. (3) Overall, 57.45% of the service recipients are satisfied with the quality of the Administrative Court services. The people had the highest level of satisfaction in all aspects except the information technology system. (4) Factors related to knowledge and understanding of roles, structure, powers, duties and jurisdiction, i.e. gender, age, highest level of education, main occupation, agency of the Administrative Court that had been contacted. Status of litigation services Types of matters that are parties to the lawsuit and the use of services other than litigation source of information awareness. Factors related to satisfaction with the service quality of the Administrative Courts were age, education level, main occupation, agency of the Administrative Court that had been contacted. source of information awareness. Factors related to the confidence in the administration of justice of the Administrative Court were gender, age, highest level of education, main occupation, agency of the Administrative Court that had been contacted. use of litigation services types of matters that are parties, results of trials in past cases, use of services other than litigation including variables related to the source perception of information. (5) knowledge level factor. public understanding of roles, structures, jurisdictions and jurisdictions. including the operation in various dimensions of the Administrative Court, the level of satisfaction of those who have used the services of the Administrative Court and the factors of the people's confidence in the administration of justice of the Administrative Court are related to each other. For management guidelines To increase and/or maintain public confidence in the administration of justice of the Administrative Court, namely: (1) Communication, emphasis is placed on communication through channels through which people can receive information from the Administrative Court as much as possible. Improve and publicize the communication channels that people receive information from the Minority Administrative Court. Emphasis is placed on presenting information that people want to know. Use public relations mechanisms in the area to provide information to the public. (2) Building knowledge and understanding for the people, including emphasizing on educating people on issues that people have the most misunderstandings. Emphasis is placed on educating people on issues that people don't know the most. Knowledge channels and content of knowledge should be improved. Education should vary according to the characteristics of the people. The focus is on educating the relevant departments on legal enforcement. Developing a network to educate people Improve the system of searching for judgments in accordance with the needs of service users. Educating the public through the experience of entering various cases places an emphasis on educating children and youth groups. (3) The development of operating systems to respond to the needs of the people, such as the establishment of coordination centers in provinces that do not have an administrative court; Improvement and development of various operating systems to make people more convenient development of information systems for tracking cases Building confidence for the people. (4) In terms of maintaining the image of the Administrative Court, i.e., the Administrative Court must disseminate the Administrative Court's judgment as widely as possible. The conditions for appeals in administrative cases should be clearer and more stringent to help reduce the number of cases brought to the Supreme Administrative Court. The Administrative Court must attach great importance to the creation of a security system for all information. stored in the computer system To prevent cyber attacks, theft or leaks of information.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนth
dc.subjectการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครองth
dc.subjectสำนักงานศาลปกครองth
dc.titleจ้างที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจ วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล และสรุปผลการสำรวจฯ ภายใต้โครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564th
dc.title.alternativeSurvey the confidence of the people in the administration of justice of the Administrative court 2021th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานศาลปกครองth
cerif.cfProj-cfProjId2565A00094th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานศาลปกครอง
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleจ้างที่ปรึกษาดำเนินการสำรวจ วิเคราะห์ ประมวลผลข้อมูล และสรุปผลการสำรวจฯ ภายใต้โครงการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการอำนวยความยุติธรรมของศาลปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record