Show simple item record

dc.contributor.authorณรงค์ ใจหาญth
dc.date.accessioned2022-07-04T07:30:22Z
dc.date.available2022-07-04T07:30:22Z
dc.date.issued2565-07-04
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1085
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ สองประการ คือ ยกร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... พร้อมด้วยร่างอนุบัญญัติ โดยดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามแนวทางของสอดคล้องตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ประการที่สอง กำหนดมาตรการ กลไก หรือเครื่องมือต่าง ๆ ด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ และสามารถการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างยั่งยืน วิธีการศึกษา สัมภาษณ์ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... และร่างกฎหมายลำดับรอง จัดทำแบบสอบถามเพื่อรับฟังความเห็นตามแนวทางการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ และรับฟังความเห็นผู้เกี่ยวของจำนวน ๔ ภาคทางออนไลน์ และปรับปรุงร่างกฎหมายเพื่อรับฟ้งระดับชาติทางออนไลน์อีกครั้ง และนำเสนอรายงานการศึกษาต่อกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วยจัดทำรายงานประเมินผลกระทบต่อการออกกฎหมาย โดยมีระยะเวลาดำเนินการระหว่างวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ถึง ๒๕ กันยายน ๒๕๖๔ ผลการศึกษา ได้รายงานผลการศึกษาซึ่งประกอบด้วยร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... พร้อมด้วยร่างกฎหมายลำดับรอง จำนวน ๑๓ ฉบับ ซึ่งในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีจำนวน ๘ หมวด ประกอบด้วยมาตรการที่ใช้บังคับเพื่อให้เกิดการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน การขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและแผนปฏิบัติการธุรกิจและสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองและป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงการตรวจสอบการละเมิดสิทธิและการเยียวยาให้แก่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้มีกลไกในการประสานงานและบูรณาการร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม รวมถึงการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีที่ประเทศไทยต้องดำเนินการตามหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ส่วนเนื้อหาในร่างกฎหมายมีหลักการและเหตุผล สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติและรายงานประเมินผลกระทบในการออกกฎหมายตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๖๒ This research project is two aims: firstly, drafting Human Rights Act and its regulations, in addition providing public hearings and participation from all stakeholders as required under section 77 of The Constitution and Law Drafting and Regulatory Impact Assessment Act B.E. 2562. Secondly, to propose suitable measures, mechanism, and tools for delivering, systematic development and sustainable in the same manner on human rights all of the country. Methodology: this research has been done both interview top executives of Ministry of Justice and presenting Draft Human Rights Act and its regulations in four webinar meetings for public hearing in four part of Thailand and the final webinar National level meeting in Bangkok. Then, all of recommends had been analysed and modified to the Final Draft Human Rights Act and regulation. This research has been studied during 29 May to 25 September B.E. 2564 (2021). The Research outcomes: The research report proposed the Draft Human Rights Act and 13 regulations. This Draft consisted of 8 chapters provided legal measures for protection and promotion of Human Rights, implementation of National Human Rights Plan and National Action Plan on Business and Human Rights, prevention and protection of human rights, including the regulations for examination and remedy for the human rights violations, establishment institutions and mechanisms to promote and cooperation with all sectors for develop human rights and implementation of state obligations on international human rights treaties. As for the content of the Draft Human Rights Act is concerned, it has contained, principle and rationale of this act, the essential of each sections and its regulations company with the report on regulatory impact assessment in conformity with Law Drafting and Regulatory Impact Assessment Act B.E. 2562.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectกฎหมายสิทธิมนุษยชนth
dc.subjectกลไกคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแห่งชาติth
dc.subjectHuman rights lawsth
dc.subjectmechanism for protection and promotion of human rightsth
dc.titleขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกิจกรรมที่ 4 การศึกษาความเหมาะสมในการตรากฎหมายรองรับกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระยะที่ 2th
dc.title.alternativeThe Study of Suitable for Promulgation of Law to Promote National Human rights Plan Mechanism Phase 2th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพth
cerif.cfProj-cfProjId2564A00619th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขากฎหมาย (Law sector : LW)th
turac.contributor.clientกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกิจกรรมที่ 4 การศึกษาความเหมาะสมในการตรากฎหมายรองรับกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระยะที่ 2th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record