Show simple item record

dc.contributor.authorอัครนัย ขวัญอยู่th
dc.date.accessioned2022-03-30T03:27:24Z
dc.date.available2022-03-30T03:27:24Z
dc.date.issued2565-03-30
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1069
dc.description.abstractการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตามแนวทางระบบราชการ 4.0 ประจำปี พ.ศ.2564 ของกรมบังคับคดี มีวัตถุประสงค์หลักคือ การประเมินคุณภาพการให้บริการ เพื่อให้ทราบถึงความเชื่อมั่น ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ตลอดจนทราบถึงความคิดเห็นต่อระบบงานและกระบวนการทำงาน อันจะนำมาซึ่งแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและส่งผลให้กรมบังคับคดีมีแนวทางในการขับเคลื่อนกระบวนการทำงานตามยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ของกรมบังคับคดี สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการบริการประชาชนและประสิทธิภาพภาครัฐ (พ.ศ.2561-2580) โดยการสำรวจนี้ใช้แบบสอบถามในการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการของกรมบังคับคดีทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ครอบคลุม 7 กระบวนการ รวมทั้งสิ้น 2,716 ตัวอย่าง ผลการสำรวจพบว่า ด้านการรับรู้และความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่ของกรมบังคับคดี ผู้ตอบแบบสำรวจรับรู้ว่ากรมบังคับคดีมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่งตามคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 95.71 ในด้านการรับรู้บทบาทหน้าที่และการทำงานของกรมบังคับคดีที่ส่งผลดีหรือเป็นประโยชน์ พบว่า กรมบังคับคดีมีบทบาทหน้าที่และการทำงานเกี่ยวกับด้านปฏิบัติตามคำพิพากษา (เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้) ของกรมบังคับคดีส่งผลดีหรือเป็นประโยชน์มากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 9.39 ในส่วนของความเชื่อมั่นของประชาชนผู้รับบริการต่อกระบวนการบังคับคดี พบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการบังคับคดีโดยภาพรวม ที่ค่าเฉลี่ย 9.10 ในส่วนของความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการต่อกระบวนการบังคับคดี พบว่า ที่ค่าเฉลี่ย 9.23 ความพึงพอใจต่อกระบวนการบังคับคดีโดยภาพรวม และในส่วนของความพึงพอใจต่อสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกของกรมบังคับคดี เมื่อเข้ามารับบริการในหน่วยงานของกรมบังคับคดีในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่แล้วให้ความพึงพอใจในด้านการมีบริการแสดงสถานการณ์ทำงานของเจ้าหน้าที่มากที่สุด ค่าเฉลี่ย 8.00 คะแนน The survey of the confident of the public service recipients to improve service efficiency following the Government 4.0 guideline of Legal Execution Department in Fiscal 2021 has the main objective on Service Quality Assessment to know the confidence, opinions, suggestions, guidelines for improvement and development, as well as to know the opinions on the work system and work processes. This will lead to a guideline to improve service efficiency and result in the Legal Execution Department’s guideline to drive the work process according to the 20-year strategy (2017-2036) of the Legal Execution Department in line with the Master Plan under National Strategy on the issues of public service and government efficiency (2018 - 2037). In this survey, questionnaires were used to survey samples of service users of both the central and provincial Legal Execution Departments covering 7 processes, totaling 2,716 samples. The results of the survey found that perception and understanding of the roles and duties of the Legal Execution Department Survey respondents perceived the Legal Execution Department's role in enforcing civil case judgment or court orders accounted for 95.71 percent. Regarding the perception of the roles, duties and functions of the Legal Execution Department that had good or beneficial results, it was found that the role and function in relation to the enforcement of judgments (creditors have been repaid and debtors have paid debts) of the Legal had the best or most beneficial with an average score of 9.39. As for the confidence of the service recipients in the enforcement process, it was found that the public confidence in the enforcement process, it was found that the overall satisfaction with the enforcement process was at an average of 9.23, In the term of satisfaction with the location and facilities of the Legal Execution Department when receiving service in the Department of Legal Execution in the past 12 months, it showed that most were satisfied with the service showing the work situation of the officers at an average of 8.00 points.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectความเชื่อมั่นth
dc.subjectการรับรู้th
dc.subjectความพึงพอใจth
dc.subjectกรมบังคับคดีth
dc.subjectReliabilityth
dc.subjectPerceptionth
dc.subjectSatisfactionth
dc.subjectLegal Execution Departmentth
dc.titleสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนเเละการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตามเเนวทางระบบราชการ 4.0 ของกรมบังคับคดี ปีงบประมาณ พ.ศ.2564th
dc.title.alternativeThe survey of public confident and improvement of service efficiency following the Government 4.0 guideline of Legal Execution Department in Fiscal 2021th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมบังคับคดีth
cerif.cfProj-cfProjId2564A00614th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการบริหารและการพัฒนาองค์กร (Management and Institutional Development sector : MID)th
turac.contributor.clientกรมบังคับคดี
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนเเละการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตามเเนวทางระบบราชการ 4.0 ของกรมบังคับคดี ปีงบประมาณ พ.ศ.2564th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record