Show simple item record

dc.contributor.authorอุรุยา วีสกุลth
dc.date.accessioned2022-01-19T08:12:14Z
dc.date.available2022-01-19T08:12:14Z
dc.date.issued2565-01-19
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1052
dc.description.abstractกรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบประมาณ 76,200.640 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 74,740.721 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 67,921.906 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,777.792 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 41.023 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,450.684 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564) ข้อมูลระยะทางดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีและเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงเพิ่มระยะทาง เนื่องมาจากสาเหตุของการพัฒนาประสิทธิภาพโดยการขยายช่องจราจร หรือการปรับปรุงสภาพผิวทางของกรมทางหลวงนั้น เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ จึงมีการพัฒนาศักยภาพถนนให้รองรับการใช้งานของผู้ใช้ทางให้มีความปลอดภัย สะดวก และรวดเร็ว อีกทั้งที่ผ่านมากรมทางหลวงได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทางโดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง TPMS Budgeting Module เป็นโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์วิธีการและงบประมาณที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทางจากสภาพความเสียหายตั้งแต่ปี 2549 เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนบำรุงทางของสำนักงานทางหลวงและแขวงทางหลวงจากนั้นเมื่อปี 2552 ได้พัฒนาเป็น TPMS Optimization Model พัฒนาแนวทางของ World bank โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ประกอบด้วย ข้อมูลค่าดัชนีความขรุขระสากล (International Roughness Index: IRI) ข้อมูลค่าความลึกร่องล้อ (Rutting) ข้อมูลค่าความหยาบเฉลี่ยของพื้นผิวทาง (Mean Profile Depth: MPD) ตลอดจนข้อมูลสภาพความเสียหายประเภทต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวลาดยางและผิวคอนกรีต และข้อมูลบนภาพถ่ายผิวทาง ข้อมูลทั้งหมดจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลพร้อมแสดงข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง (Roadnet) ที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความถูกต้อง โดยได้เปิดให้บริการข้อมูลต่อหน่วยงานอื่นหรือเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ ภายในกรมทางหลวง และมีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน The mission of the Department of Highways (DOH) is to develop of highway infrastructure in terms of integration in response to a national agenda, maintain the standards to provide the highway network to the satisfaction of highway users and encourage academically engineering work and supervise the administration of highways. The Department of Highways is the main agency responsible for overseeing the highway networks throughout the country. Currently, it is responsible for 76,200.640 kilometers (per 2 lanes). With recent expansion of traffic lanes nationwide, the DOH is expected to see an increasing number of distance (kilometers). As a result, the DOH is aiming to improve its serviceability to road users by emphasizing on road safety issues which is the main infrastructure of the country. Therefore, the road potential has been developed to support the use of road users to be safe, convenient and fast. In the past, the DOH adopted a road maintenance management system using the TPMS Budgeting Module maintenance management program to analyze methods and budgets in the maintenance of roads from damage conditions. DOH has developed a highway maintenance system, referred to as TPMS Optimization Model, which followed the guideline provided by the World Bank. This system has been a main source of highway maintenance plans for both short term and long term. The analysis includes the utilizations of the international roughness index data (International Roughness Index: IRI), rutting data (Rutting), Mean Profile Depth (MPD) data, various types of damage data obtained from the survey and analysis of highway conditions; for instance, paved or concrete surfaces and information obtained by photographing pavement surfaces. All collected data is stored in a database with geographic information (GIS) displayed in the highway network information system (Roadnet). The collected data are significant to the analysis of highway maintenance plans as accurate data is served as good input, which lead to accurate and optimum maintenance planes for DOH.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectโครงข่ายทางหลวงth
dc.subjectค่าสำรวจและประเมินสภาพth
dc.subjectกรมทางหลวงth
dc.titleค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2564th
dc.title.alternativeThe analysis of highways network conditions to improve the efficiency of highways maintenance budgeting 2021th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมทางหลวงth
cerif.cfProj-cfProjId2564A00005th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)th
turac.contributor.clientกรมทางหลวง
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2564th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record