Show simple item record

dc.contributor.authorอุรุยา วีสกุลth
dc.date.accessioned2021-08-31T06:23:24Z
dc.date.available2021-08-31T06:23:24Z
dc.date.issued2564-08-31
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1020
dc.description.abstractกรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทาง ในความรับผิดชอบประมาณ 74,786.100 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 73,165.825 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 66,711.865 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,406.886 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 47.074 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,614.275 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ที่ผ่านมากรมทางหลวง ได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทางโดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง TPMS Budgeting Module เป็นโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์วิธีการและงบประมาณที่ใช้ในการซ่อมบำรุงทางจากสภาพความเสียหายตั้งแต่ ปี 2549 เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนบำรุงทางของสำนักงานทางหลวงและแขวงทางหลวงจากนั้น เมื่อปี 2552 ได้พัฒนาเป็น TPMS Optimization Model พัฒนาแนวทางของ World bank โดยข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ ประกอบด้วย ข้อมูลค่าดัชนีความขรุขระสากล (International Roughness Index: IRI) ข้อมูล ค่าความลึกร่องล้อ (Rutting) ข้อมูลค่าความหยาบเฉลี่ยของพื้นผิวทาง (Mean Profile Depth: MPD) ตลอดจนข้อมูลสภาพความเสียหายประเภทต่าง ๆ ที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวลาดยางและผิวคอนกรีต และข้อมูลบนภาพถ่ายผิวทาง ข้อมูลทั้งหมดจัดเก็บในระบบฐานข้อมูลพร้อมแสดงข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง (Roadnet) ที่สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีความถูกต้อง โดยได้เปิดให้บริการข้อมูลต่อหน่วยงานอื่นหรือเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ ภายในกรมทางหลวง และมีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ในการดำเนินงานดังกล่าว ไม่สามารถดำเนินการเพื่อให้ผลลัพธ์แผนบริหารงานซ่อมบำรุงทางหลวงและงบประมาณที่ต้องใช้ครบ 74,786.100 กิโลเมตร (ระยะทางต่อ 2 ช่องจราจร) ภายใน 1 ปี เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านระยะเวลาดำเนินงาน จำนวนเครื่องมืออุปกรณ์ที่ได้ และงบประมาณจัดซื้อจัดจ้าง จึงได้จัดทำแผนการดำเนินงานระยะยาว 3 ปี และในปัจจุบันได้อยู่ระหว่างระยะเวลาดำเนินงานระยะปีที่ 2 โดย มีกลุ่มที่ปรึกษาร่วม ได้แก่ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด เป็นกลุ่มที่ปรึกษา ที่เหมาะสมและได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้ดำเนินการ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานภายใต้เงื่อนไขหลัก ที่สำคัญ ในการคัดเลือกสายทางที่จะทำการสำรวจแต่ละปี The Department of Highways is the main unit responsible for the nationwide highway network. Now there is a distance approximately 74,786.100 kilometers (per 2 lanes) in responsibility. The maintenance roads are divided into 73,165.825 kilometers, which consist of approximately 66,711.865 kilometers of paved surfaces, 6,406.886 kilometers of concrete and 47.074 kilometers of gravel, and also construction and maintenance roads. 1,614.275 kilometers (road surface account data as of December 14, 2020). In the past the Department of Highways had the implementation of the road maintenance management system by using the TPMS Budgeting Module, is a program that analyzes the methods and budgets used in road maintenance from the damage condition since 2006 in order to consider making road maintenance plans. Then, in 2009, it was developed as a TPMS Optimization Model to develop the World Bank guidelines. The data analyzed includes the international roughness index data (International Roughness Index: IRI), rutting data (Rutting), Mean Profile Depth (MPD) data, as well as various types of damage data obtained from the survey and analysis of highway conditions. Paved and concrete surfaces and information on pavement photographs. All data is stored in a database with geographic information (GIS) displayed in the highway network information system (Roadnet) that can be used with ease, speed and accuracy. By providing information services to other agencies or linking with other information systems within the Department of Highways And has been continuously utilized until now. In this regard unable to perform operations to yield maintenance management plan results. Highway and the budget required to complete 74,786.100 kilometers (distance per 2 lanes) within 1 year due to time limitations, number of tools, equipment obtained and procurement budget. Therefore, the 3-year long-term operation plan has been prepared and is now in the process of operating for the second year with a joint consultant group, namely Chulalongkorn University Transportation Institute, Thammasat University Research and Consultancy Institute and STS Engineering Consultants Co., Ltd. are a group of appropriate advisors and is considered to be an operator. The operations are planned under the key criteria for selecting the routes to be surveyed each year.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectสำรวจและประเมินth
dc.subjectโครงข่ายทางหลวงth
dc.subjectงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงth
dc.subjectSurvey and Assessth
dc.subjectHighway road networkth
dc.subjectHighway maintenance budgetth
dc.titleค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2563th
dc.title.alternativeThe analysis of highways network conditions to improve the efficiency of highways maintenance budgeting 2020th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderกรมทางหลวงth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00229th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)th
turac.contributor.clientกรมทางหลวง
turac.fieldOfStudyวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีth
cerif.cfProj-cfTitleค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2563th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record