Now showing items 1-4 of 4

    • type-icon

      การพัฒนาย่านนวัตกรรมพัทยา (Pattaya Innovation District Development) 

      นิจ ตันติศิรินทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-01-21)

      ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลและเมืองพัทยา รวมถึงภาคธุรกิจและภาคประชาชนในท้องถิ่นต่างมีความเห็นร่วมกันในการพัฒนาเมืองพัทยา โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ จากการเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวสีเทา ให้กลายเป็นเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่ดี ในระดับภูมิภาคและระดับโลก สำหรับนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งชาวไทยและต่างชาติ นอกจากนี้การพัฒนาให้เมืองพัทยาเป็นเมืองที่สามารถดึงดูดการลงทุน เป็นที่ตั้งของธุรกิจที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความเป็นย่านนวัตกรรม เพื่อให้สามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร ...
    • type-icon

      จัดทำระบบแสดงผลวิเคราะห์ในเชิงนโยบาย (Policy Impact) 

      นิจ ตันติศิรินทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และอัญมณี โดยภาคตะวันออกนั้นเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมของประเทศไทยมาหลายทศวรรษ ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินในภูมิภาคจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โรงงานกลั่นน้ำมันและท่อก๊าซธรรมชาติ นิคมอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมแล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงการที่ดินในภาคการเกษตร โดยการเปลี่ยนแปลงภายใต้กา ...
    • type-icon

      ศึกษาวิสัยทัศน์ ศักยภาพ และบทบาทการพัฒนาย่านนวัตกรรม (Innovation District) ในระดับภูมิภาค (กรุงเทพมหานครและภาคตะวันออก) 

      นิจ ตันติศิรินทร์; สุวดี ทองสุกปลั่ง หรรษาสุขสิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      Innovator)” ร่วมรังสรรค์นวัตกรรมให้ตรงความต้องการของคนภายในย่าน สร้างมูลค่าเพิ่ม จัดสรรทรัพยากร และการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อประเทศชาติและประชาชน โดยย่านนวัตกรรมอาจเปรียบได้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองที่มุ่งสนับสนุนบุคคลากร ธุรกิจ กลุ่มคลัสเตอร์ และสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในพื้นที่ เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) โดยการพัฒนาสินทรัพย์ 3 ประเภท ได้แก่ สินทรัพย์ทางกายภาพ (Physical Assets) สินทรัพย์ทางเศรษฐกิจ (Economic Assets) และสินทรัพย์ทางเครือข่าย (Networking ...
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อจัดทําแผนภาคในการพัฒนาแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ ระยะที่ 1 

      นิจ ตันติศิรินทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      นวัตกรรมเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวพ้นประเทศกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (middle income trap) ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนและนโยบายในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาค (regional development plan) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ (1) วิเคราะห์ศักยภาพของจังหวัดในแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ และ (2) นำเสนอแผนพัฒนาระดับภูมิภาค (regional development plan) ในการพัฒนาแนวระเบียงนวัตกรรมตะวันออก–ตะวันตก ตอนใต้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ในระดับพื้นที่ ...