Show simple item record

dc.contributor.authorสุพจน์ ชววิวรรธน์th
dc.date.accessioned2021-04-29T03:18:29Z
dc.date.available2021-04-29T03:18:29Z
dc.date.issued2564-04-29
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/994
dc.description.abstractการประเมินโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กลุ่มที่ 5 ประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง และลำพูน จำนวนทั้งสิ้น 830 หน่วยงาน พบว่าหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินมีการดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดได้อย่างครบถ้วนทุกตัวชี้วัด แต่ยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับแนวทางการตอบแบบวัดของแต่ละตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากผลคะแนนการประเมินที่ผ่านเกณฑ์เป้าหมายที่ร้อยละ 85 มีจำนวนเพียง 43 หน่วยงานหรือร้อยละ 5.18 ซึ่งถือว่ายังห่างไกลจากเป้าหมายของรัฐบาลที่กำหนดจำนวนหน่วยงานที่ผ่านเกณฑ์ประเมินอย่างน้อยร้อยละ 80 ของหน่วยงานที่เข้าร่วม จากจำนวนหน่วยงานที่มีผลคะแนนการประเมินผ่านการเกณฑ์เป้าหมาย 43 หน่วยงานนั้น เป็นหน่วยงานที่ได้คะแนนระดับ A ประกอบด้วย จังหวัด 7 หน่วยงาน เทศบาลนคร 1 หน่วยงาน เทศบาลตำบล 20 หน่วยงานและองค์การบริหารส่วนตำบล 15 หน่วยงาน การวิเคราะห์ผลคะแนนการประเมินรายตัวชี้วัดและประเภทของหน่วยงาน พบว่าในภาพรวมของการประเมินตามแบบวัดทั้ง 3 แบบนั้น ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นหนึ่งในการประเมินการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT) มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมสูงสุดคือ ร้อยละ 90.04 ส่วนการประเมินการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT) ตัวชี้วัดที่มีคะแนนสูงสุด คือ ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 81.85 สำหรับการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะบนเว็บไซต์ (OIT) ตัวชี้วัดที่มีคะแนนสูงสุด คือ ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล มีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 45.07 ขณะที่ เมื่อพิจารณาจากผลการประเมินเฉลี่ยจากทั้ง 10 ตัวชี้วัดของประเภทหน่วยงาน พบว่าจังหวัดมีผลคะแนนการประเมินเฉลี่ยสูงสุด คือ ร้อยละ 87.75 ถัดมาคือ เทศบาลนคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง เทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล โดยสรุป ผู้ประเมินเห็นว่าหน่วยงานผู้ดำเนินโครงการและผู้เข้าร่วมการประเมินควรทำความเข้าใจแนวทางการตอบแบบวัดของแต่ละตัวชี้วัดและเกณฑ์การประเมินร่วมกันในลักษณะของการประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) อันจะเป็นการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง (learning by doing) ระหว่างการชี้แจงแนวทางปฏิบัติสำหรับการเข้าร่วมโครงการในปีถัดไป ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงถ้อยความของข้อคำถามและระดับการให้คะแนนในแต่ละตัวชี้วัดให้ง่ายต่อการสื่อสารและทำความเข้าใจ โดยคำนึงถึงผู้ปฏิบัติและ/หรือผู้ตอบแบบวัดเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงอันจะเป็นผลต่อความแม่นตรงและความน่าเชื่อถือของกำรประเมินโดยรวมต่อไป The assessment integrity and transparency in the government sector for fiscal year B.E.2563 in Group 5 consists of Chiang Rai Province, Chiang Mai Province, Nan Province, Phrae Province, Phayao Province, Mae Hong Son Province, Lampang Province and Lamphun Province totaling 830 agencies.It is found that participating agencies have followed the procedure in all the indicators, but the lapse in understanding of how the indicators are to be answered is still prevalent, as seen by the fact that only 5.18 percent of the participating agencies have passed the desired 85 percent score, the goal of having 80 percent of participating agencies passing has still not been met. Among the agencies that receives 85 percent score or higher, 43 agencies receive A ranking (score of 85 – 100 percent). The agencies that passes can be categorized into the following categories: Provinces (7 agencies), City Municipalities (1 agency), Subdistrict Municipalities (20 agencies), and Subdistrict Administrative Organizations (15 agencies). Analysis of the Results by Indicators and Type of Agencies show that, in IIT, Indicator 1 has the highest average score of 90.04 percent, in EIT, Indicator 6 has the highest average score at 81.85 percent, and, in OIT, Indicator 9 has the highest average score at 45.07 percent. When considering all indicators, provinces (government agency) have the highest average score at 87.75 percent, follow by city municipalities, provincial administrative organizations, town municipalities, subdistrict administrative organizations, and subdistrict municipalities respectively. In conclusion, the researchers recommends that the project operators and participants jointly improve the understanding of how the indicators are to be answered and how the assessments are made by setting up workshops during the briefing of next year’s program which would be a process of learning by doing, as well as reviewing and improving the wording of the question and the assessment of each indicator by focusing on the ease of understand on the operators and participants’ part. This would improve the overall accuracy and reliability of the assessment.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินคุณธรรมth
dc.subjectความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐth
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติth
dc.titleประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563กลุ่มที่ 5th
dc.title.alternativeThe​ Evaluation​ on​ the​ Integrity and​ Transparency Assessment Project​ on​ the​ Performance of​ Public​ Sector in​ the​ Fiscal​ Year of​ 2020 Group 5th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติth
cerif.cfProj-cfProjId2563A00614th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563กลุ่มที่ 5th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record