Show simple item record

dc.contributor.authorฐิติพร ศิริพันธ์ พันธเสน
dc.contributor.authorศิรินทร์รัตน์ กาญจนกุญชร
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2015-11-10T02:44:36Z
dc.date.available2015-11-10T02:44:36Z
dc.date.issued2012
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/83
dc.description.abstractThe entitled “The Roles of Women and their Participation in People’s Politics” aims at understanding the participation of Thai women in people’s politics which comprises diverse dimensions. The research explores the levels of engagement in participating in various actions using different means and strategies in order to secure social change. Additionally, motivation, enabling and disabling factors to women’s participation in people’s politics are examined. The researchers conducted the research using mixed-methodology. For the quantitative method, questionnaires were used as instruments to investigate the level of participation and engagement of the research participants in various dimensions, the approaches and methods of participation, as well as factors that are both conducive and/or obstructive to their participation in people’s politics. Descriptive and analytic statistics employed were frequency, percentage, mean, weighted mean, standard deviation, t-test, and One-Way Anova. For the qualitative method, semi-structured as well as focus group discussion were used as techniques in data collection along with video documentation on life stories of a number of participants, so as to gain multiple perspectives of women participants and their lives pertaining to their engagement in people’s politics. Data analysis and interpretation yield a number of key findings concerning the level of engagement of women who participated in the study. The levels of engagement are found in 8 dimensions of people’s politics: social welfare, community and locality development, education & culture, environment, economics, law, mass media, and direct people’s politics respectively. However, findings suggest that the levels, characteristics as well as the means and strategies of engagement vary among participants from different regions of the country. In terms of motivation for political engagement, findings indicate that the majority of women participate in people’s politics due to the direct experience of injustice. Their struggles against distorted development manifest in the form of social action and social movement to protect their rights. Many participants take part in the mobilization of alternative development thinking and practice to address victimization of structural violence such as poverty and housing insecurity, the encroachment of corporations and capitalist investment on natural resource and discrimination faced by ethnic minorities. Partnership with academic institutions in light of knowledge generation is found to be one of the strategies women participants use in getting their goals achieved.en
dc.description.abstractการวิจัยเรื่อง”บทบาทสตรีกับการมีส่วนร่วมในการเมืองภาคพลเมือง” มีวัตถุประสงค์หลักคือการทำความเข้าใจการมีส่วนร่วมของสตรีไทยในการเมืองภาคพลเมืองในมิติต่างๆ โดยมุ่งหวังที่จะสร้างองค์ความรู้ที่สะท้อนให้เห็นระดับของความเข้มข้นในการมีส่วนร่วม แรงบันดาลใจ รูปแบบและกระบวนการในการมีส่วนร่วมของสตรีในการเมืองภาคพลเมือง รวมถึงเงื่อนไขปัจจัยต่างๆที่ทั้งสนับสนุนหรือเป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้ออกแบบการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานระเบียบวิธี (Mixed Methodologies) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณคณะผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมในมิติต่างๆของการมีส่วนร่วมในการเมืองภาคพลเมือง 8 มิติได้แก่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจ กฎหมาย สิ่งแวดล้อมสวัสดิการสังคม การศึกษาและวัฒนธรรม สื่อสารมวลชนและการเมืองภาคประชาชน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t - test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Group Discussion) การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) ควบคู่กับการถ่ายทำวิดิทัศน์สารคดีแนวชีวประวัติ (Life History Video Documentary) ผลการศึกษาพบว่าระดับความเข้มข้นของการมีส่วนร่วมในการเมืองภาคพลเมืองของสตรีในมิติต่างๆ ความเข้มข้นของการมีส่วนร่วมในการเมืองภาคพลเมืองของสตรีกลุ่มตัวอย่างใน 8 มิติ ปรากฏชัด ในมิติสวัสดิการสังคม มิติการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มิติการศึกษาและวัฒนธรรม มิติสิ่งแวดล้อม มิติเศรษฐกิจ มิติกฏหมาย มิติสื่อสารมวลชน และมิติการเมืองภาคประชาชน ตามลำดับ ผลจากการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่าบริบทการพัฒนาแบบทุนนิยมที่ขับเคลื่อนโดยอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่และบริบทการพัฒนาแบบทวนกระแสที่ขับเคลื่อนโดยกระบวนทัศน์การพัฒนาอย่างยั่งยืนกำหนดโจทย์ที่เป็นสถานการณ์ วิกฤติการณ์และความท้าทายต่างๆ ให้ประชาชนต้องขบคิดและแก้ไข รวมถึงเป็น แรงผลักดัน และแรงบันดาลใจในการก้าวเข้ามามีบทบาทในการเมืองภาคพลเมือง การเลือกเส้นทางและเป้าหมายในการพัฒนาประเทศโดยยึดเป้าหมายการพัฒนาประเทศอุตสาหกรรมเป็นหลักของประเทศไทย มีผลโดยตรงต่อเส้นทางการมีส่วนร่วมในการเมืองภาคพลเมืองของสตรีจำนวนหนึ่ง ข้อค้นพบจากการวิจัยชี้ชัดว่าการเผชิญความไม่เป็นธรรม อาทิ การถูกเลือกปฏิบัติ การเป็นเหยื่ออันเกิดจากปัญหาระดับโครงสร้างได้แก่ ความยากจน ความไม่มั่นคงในเรื่องอยู่อาศัย การรุกล้ำของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ต่อทรัพยากรธรรมชาติ การไร้สิทธิของประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์ คือสาเหตุหลักที่ทำให้สตรีผู้มีส่วนร่วมในการวิจัยต้องต่อสู้ด้วยการปฏิบัติการทางสังคมเพื่อนำความเป็นธรรมและสิทธิในฐานะพลเมืองกลับมาให้ตนเอง ครอบครัว ญาติพี่น้องและชุมชน ผู้มีส่วนร่วมจำนวนหนึ่งเข้าร่วมในการขับเคลื่อนในระดับความคิดและแนวปฏิบัติเพื่อตอบโต้ต่อภาวะการเป็นเหยื่อของความรุนแรงเชิงโครงสร้างด้วยกระบวนทัศน์การพัฒนาทางเลือก นอกจากนั้นการเป็นภาคีหุ้นส่วนกับสถาบันการศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ยังเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญในการทำให้เป้าหมายการต่อสู้ในทางความคิดบรรลุเป้าหมายth
dc.description.sponsorshipสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectบทบาทสตรีth
dc.subjectภาคพลเมืองth
dc.subjectการมีส่วนร่วมth
dc.titleบทบาทสตรีกับการมีส่วนร่วมในการเมืองภาคพลเมือง
dc.title.alternativeThe Roles of (Thai) Women in Participatory Politics
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
cerif.cfProj-cfProjId2555A00067
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการวิจัย
turac.researchSectorสาขาการพัฒนาเมือง (Urban Development sector : UD)
turac.contributor.clientสถาบันพระปกเกล้า. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

FilesSizeFormatView

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record