Now showing items 1-4 of 4

    • type-icon

      ศึกษาความเร็วปลอดภัยบนทางหลวงเพื่อการกำหนดความเร็วที่เหมาะสม 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      จากการสำรวจความเร็วของยานพาหนะบนทางหลวง จำนวน 380 จุดสำรวจพบว่า ผู้ขับขี่จำนวนมากไม่สามารถขับขี่ภายใต้ความเร็วที่กฎหมายกำหนด และมีการกระจายตัวของความเร็วมากจนเกินไป ซึ่งอาจส่งผลให้โอกาสของการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวงสูงขึ้นได้ นั่นเป็นผลสืบเนื่องมาจากค่าความเร็วจำกัดที่บังคับใช้ในปัจจุบันมีความไม่เหมาะสมกับทางหลวงในประเทศไทย ควรมีการนำลักษณะกายภาพของถนนไปเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณากำหนดความเร็วจำกัด นอกจากปัจจัยหลักที่นำไปใช้อ้างอิงในปัจจุบัน (เขตชุมชนและเขตนอกเมือง) สำหรับการศึกษาพฤติกรรมการใช้ความเร็ว ณ ตำแหน่งจุดเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุพบว่า ...
    • type-icon

      ศึกษารูปแบบและความเหมาะสมในการใช้ระบบตรวจสอบสภาพจราจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการจราจรบนทางหลวงชนบทในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาและพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานของกรมทางหลวงชนบท ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งจากการเก็บรวบรวมข้อมูลไม่พบว่า มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจนับปริมาณจราจรและระบบการสื่อสารข้อมูล ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขั้นพื้นฐานในการพัฒนาระบบการจราจรอัจฉริยะบนโครงข่ายถนนและโครงข่ายสะพานดังกล่าว งานศึกษานี้ยังพบว่า เทคโนโลยีตรวจนับปริมาณจราจร Microwave radar หรือ Video image processing และระบบการสื่อสารแบบมีสาย มีความเหมาะสมกับโครงข่ายถนนและสะพานในพื้นที่ศึกษานี้นอกจากนี้กรมทางหลวงยังควรพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์เฝ้ามองการจราจร ...
    • type-icon

      ศึกษาหลักเกณฑ์และเหตุอันควรในการพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยบนทางหลวง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้ทาง 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      หลักเกณฑ์และเหตุอันควรที่มีความเหมาะสมสําหรับการติดตั้งอุปกรณ์อํานวยความปลอดภัยบนท้องถนน จะส่งผลให้ทางหลวงมีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น ลดจํานวนและความรุนแรงของอุบัติเหตุ เกิดความคล่องตัวของการจราจรเป็นไปอย่างเหมาะสมตามความจุที่ออกแบบไว้อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นเกณฑ์ช่วยในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณอีกด้วย
    • type-icon

      ศึกษาและประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพมาตรฐานการเคลื่อนตัวของจราจรบริเวณทางแยกระยะที่ 1 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางแยกในพื้นที่เขตเมืองที่มีลักษณะเป็นโครงข่าย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ซึ่งการศึกษาพบว่า ระบบการควบคุมการจราจรแบบทำงานประสานสัมพันธ์กันที่มีระบบปรับเปลี่ยนตามสภาพการจราจร (บน 5 ทางแยกบนถนนประเสริฐมนูกิจ) ช่วยทำให้ระบบการควบคุมทางแยกทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการทำงานของตำรวจจราจรลดลงจากเดิมที่เคยทำงาน 13 ชั่วโมงต่อวันเหลือเพียง 8 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา (คิดเป็นลดลงร้อยละ 37.7) และลดจาก 7 ชั่วโมงต่อวันเป็นเหลือเพียง 2 ชั่วโมงต่อวันในวันอาทิตย์ (คิดเป็นร้อยละ 71.4) ...