Show simple item record

dc.contributor.authorวีริศ อัมระปาล
dc.contributor.otherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2018-11-06T04:32:31Z
dc.date.available2018-11-06T04:32:31Z
dc.date.issued2015
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/468
dc.description.abstractปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศไทย ได้ส่งผลกระทบต่อสภาพบริบทแวดล้อมของกรมทางหลวงชนบทเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทั้งจากสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมนอก รวมถึงสภาพปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายใน งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแนวทางและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากรมทางหลวงชนบท พ.ศ. 2560-2569 ที่เป็นแผนในระยะ10 ปี และแผนยุทธศาสตร์กรมทางหลวงชนบท พ.ศ. 2560-2569 ที่เป็นแผนในระยะ 4 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติโดยอาศัยกรอบแนวคิดของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management, NPM) แนวคิดการจัดทำยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ที่ให้ความสำคัญการปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) โดยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ PESTEL Analysis และ Seven-S ของ McKinney แล้วนำผลการศึกษาวิเคราะห์ไปดำเนินการต่อในการจัดทำ SWOT Analysis ซึ่งสามารถกำหนดแผนยุทธศาสตร์ของกรมทางหลวงชนบทได้ดังนี้ 1. วิสัยทัศน์ (Vision) : “พัฒนา และดูแลรักษาโครงข่ายทางอย่างมีคุณภาพ เพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืน ของประชาชน” 2. พันธกิจ (Mission) :“พัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทให้เชื่อมโยงและสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อให้ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนมีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยการบริหารจัดการองค์กรที่มีสมรรถนะสูงและมีธรรมาภิบาล ตลอดจนส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่น” 3. ค่านิยม (Value) : “เรียบง่าย ใช้เหตุผล ทำงานเป็นทีมที่ดี เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน” 4. ยุทธศาสตร์กรมทางหลวงชนบท (Strategic) 4.1 พัฒนาโครงข่ายชนบทเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึงและใช้งานอย่างปลอดภัย พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนทางหลวงท้องถิ่น เพื่อความมั่นคงของประเทศ (Stability) โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อมีโครงข่ายทางหลวงชนบทที่ทั่วถึง เสมอภาคเพียงพอ และมีมาตรฐานเพื่อสามารถพัฒนาประเทศอย่างมั่งคง แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 4.1.1 พัฒนาโครงข่ายทางหลวงชนบทเข้าสู่พื้นที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง 4.1.2 อำนวยความปลอดภัยงานทางบนโครงข่ายทางหลวงชนบท 4.1.3 ส่งเสริมและสนับสนุนโครงข่ายทางหลวงท้องถิ่น 4.2 เชื่อมโยงโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของประเทศ (Prosperity) โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อเป็นโครงข่ายทางหลวงชนบทที่มีศักยภาพและส่งเสริมให้ประเทศมีการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งส่งผลให้สังคม ชุมชนประชาชนมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 4.2.1 แก้ไขปัญหาการจราจรในเขตเมืองและเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางขนส่ง 4.2.2 พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการเติบโตทางด้านการท่องเที่ยว การเกษตร การค้า และการลงทุน 4.3 บำรุงรักษาและเพิ่มคุณค่าโครงข่ายทางหลวงชนบท เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน (Sustainability) โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้ประเทศมีการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 4.3.1 บำรุงรักษาทางและสะพานอย่างทั่วถึง 4.3.2 พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มประโยชน์ใช้สอย (Function) ของสายทาง 4.3.3 พัฒนาสายทางให้สวยงามและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4.3.4 บริหารจัดการด้านความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ 4.4 พัฒนาองค์กร เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงที่ยึดมั่นในหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี (High Performance Organization) โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อกรมทางหลวงชนบทเป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูงที่ยึดมั่นหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วยกลยุทธ์ดังนี้ 4.4.1 เสริมสร้างสมรรถนะการบริหารจัดการองค์กร 4.4.2 บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ 4.4.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและจัดหาเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน 4.4.4 พัฒนาระบบประกันคุณภาพงานให้มีมาตรฐานระดับสากล 4.4.5 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ 4.4.6 เสริมสร้างคุณธรรมและความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ 4.4.7 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเครือข่ายภาคประชาชน 4.4.8 เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายทางหลวงth
dc.description.abstractCurrent changes in the world and in Thailand have had their influence on surrounding of the Department of Rural Road (DRR). These changes are from both internal as well as external aspects. Therefore, this study aims to provide the strategic planning for developing the DRR, namely the strategic planning in 2017-2026 (10 years) and the strategic planning in 2017-2020 (4 years). This approach has been studied based on the conceptual model of the New Public Management (NPM) and the conceptual model of the office of the Public Sector Development Commission (OPDC) in order to emphasize the developing of government departments’ performance according to the Public Sector Management Quality Award (PMQA). The PESTEL analysis and Seven-S of McKinney are applied as research methodology. After that the data is analyzed by using SWOT Analysis. The strategic planning is determined as following. 1. Vision: “Development and maintenance of the national road network for the sustainable happiness and welfare of the people” 2. Mission: “To develop national road network and to support the national infrastructure and logistics development for the stability, prosperity, and sustainability of Thailand as well as ASEAN by focusing on organization management, good governance, and encouraging local administrative organizations to develop local roads” 3. Value: “Simplicity, reasonability, collaboration for continual and sustainable development” 4. Strategies: 4.1 The first strategy is to develop the rural road network throughout the area and safe to use, to encourage and to support the local roads in order to provide the stability of the nation. The objectives are to provide rural road network across the country with a sufficient routes and rural road standard for a stable development of the nation. The strategic planning is included the following strategy. 4.1.1 To develop in rural road network expansion 4.1.2 To facilitate the safety environment for working on the rural road network 4.1.3 To encourage and support the local rural road network 4.2 The second strategy is to provide the rural road network in order to support the economic development and the national stability. The objectives are to provide a good rural road network and support the national economic growth, and to improve the national income and welfare. The strategic planning is included the following strategy. 4.2.1 To improve the traffic problem in city, to improve the transportation versatility 4.2.2 To develop the logistics system in order to support the growth in tourism, agriculture, trade and investment 4.3 The third strategy is to maintain and improve the rural road network in order to provide the sustainability in the country development. The objective is to maintain continually in order to support the sustainability in the country development. The strategic planning is included the following strategy. 4.3.1 To maintain roads and bridges 4.3.2 To develop the facilities for enhancing the road function 4.3.3 To improve the visual of the road, to be friendly to the environment 4.3.4 To manage the risk of national disaster 4.4 The last strategy is to develop the high performance organization. The objective is to upgrade the DDR’s performance according the approach of high performance organization. The strategic planning is included the following strategy. 4.4.1 To reinforce the ability of organization management 4.4.2 To provide the efficiency and quality of human research management and development 4.4.3 To develop the information technology and provide modern tools, machinery and equipment for operation 4.4.4 To develop the process of quality assurance system according the international standard 4.4.5 To promote research and innovation 4.4.6 To promote the ethnics and transparency in the government sectors 4.4.7 To promote the participation and network forming 4.4.8 To improve the efficiency of highway law enforcementth
dc.description.sponsorshipกรมทางหลวงชนบท
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothaen
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
dc.subjectแผนพัฒนาทางหลวงชนบทth
dc.titleที่ปรึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางหลวงชนบทประจำกรม กลุ่มที่ 8
dc.title.alternativeThe Project of Rural Road Strategy Development for Department of Rural Road (Group No. 8 : Thammasat University)
dc.typeText
dcterms.accessRightsสงวนสิทธิ์ในการเข้าถึงเฉพาะบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
dc.rights.holderกรมทางหลวงชนบท
cerif.cfProj-cfProjId2558A00360
mods.genreบทความ
mods.location.physicalLocationสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษา
turac.researchSectorสาขาการคมนาคมขนส่ง (Transportation sector : TR)
turac.contributor.clientกรมทางหลวงชนบท
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการ


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record