Show simple item record

dc.contributor.authorปริญญา เทวานฤมิตรกุลth
dc.date.accessioned2022-03-18T08:48:42Z
dc.date.available2022-03-18T08:48:42Z
dc.date.issued2565-03-18
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1068
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ทำการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ทั้งการสนทนากลุ่ม การเสวนาสัมภาษณ์เชิงลึก สำรวจแบบสอบถาม จากการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ผลการศึกษา พบว่า ในกระบวนการจัดการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีปัญหาหลายประการ ทั้งเกิดจากระบบเลือกตั้งที่มีผลให้มีงานธุรการในกระบวนการจัดการเลือกตั้งมากขึ้น ปัญหาด้านกฎหมาย ระเบียบการปฏิบัติงาน ตลอดจนการกำหนดแนวทางปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติงาน เช่น ปัญหาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเลือกตั้ง เช่น กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง กรรมการประจำเขตเลือกตั้ง ไม่เพียงพอกับภารกิจงานที่มากขึ้น การกำหนดให้มีผู้ตรวจการเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบการเลือกตั้งไม่สัมฤทธิ์ผลและไม่สามารถตรวจสอบการเลือกตั้งได้จริง และจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้ตรวจการเลือกตั้งมีความเป็นกลางไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมืองนั้นไม่อาจเป็นจริงได้เช่นกัน ในขณะที่การยกเลิกตำแหน่งกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดกลับทำให้การประสานเพื่อสนับสนุนงานในกระบวนการจัดการเลือกตั้งกับหน่วยงานราชการอื่น ๆ ในจังหวัดมีความยุ่งยากมากขึ้นให้เป็นสถาบันการเมืองที่มีความเข้มแข็ง อันจะเป็นการส่งเสริมให้ระบอบประชาธิปไตยมีความมั่นคงต่อไป นอกจากนี้ยังพบว่า มาตรการต่าง ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเลือกตั้งและการใช้สิทธิเลือกตั้งซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้มีผู้มาใช้มิสิทธิเลือกตั้งมากขึ้นนั้นกลับเป็นปัญหาอุปสรรคและมีผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเสียเอง เช่น การขยายเวลาเลือกตั้งออกไปกลับทำให้ประชาชนมีความเคลือบแคลงที่ในขั้นตอนการนับคะแนนเลือกตั้งต้องเนิ่นช้าออกไปเป็นเวลามืดค่ำ และยังทำให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องในกระบวนการจัดการเลือกตั้งต้องทำงานเสร็จช้าลงจนอาจมีผลต่อความถูกต้องในการจัดทำรายงานต่าง ๆ โดยการขยายเวลาดังกล่าวกลับไม่มีผลให้มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งมากขึ้นแต่อย่างใด ทั้งการกำหนดบัตรเลือกตั้งเป็นแบบต่างเขตต่างเบอร์ และการแบ่งเขตเลือกตั้ง ก็เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการจัดการเลือกตั้ง ทำให้พรรคการเมืองหาเสียงยาก และสร้างความสับสนให้แก่ประชาชน การศึกษาวิจัยนี้ยังพบว่า การรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งแบบไม่เป็นทางการมีข้อผิดพลาดจนอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นของคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงควรให้การรายงานผลการนับคะแนนเลือกตั้งแบบไม่เป็นทางการเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาคเอกชนเท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งล่วงหน้าในการเลือกตั้งครั้งนี้พบว่ามีปัญหาอุปสรรคมาก ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น การกำหนดพื้นที่เลือกตั้งล่วงหน้าโดยไม่ทราบตัวเลขผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า การกำหนดเวลาปิดหีบเลือกตั้งเป็นเวลา 17.00 น. ทั้งที่หน่วยเลือกตั้งนั้นอาจมีผู้ที่ลงทะเบียนมาใช้สิทธิครบถ้วนแล้ว และปัญหาในบางหน่วยเลือกตั้งมีผู้มาลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งมากจนทำให้ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งไม่อาจใช้สิทธิเลือกตั้งได้ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงมีข้อเสนอว่าควรกำหนดให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัดเท่านั้น สำหรับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนมีประเด็นที่น่าสนใจว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งโดยใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียว การเปลี่ยนแปลงนี้ย่อมมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้ง ซึ่งงานวิจัยนี้พบว่าประชาชนส่วนมากตัดสินใจเลือกตั้งจากการพิจารณานโยบายของพรรคการเมือง และจะตัดสินใจจะเลือกพรรคมากกว่าเลือกตัวบุคคล แต่เฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลับได้ข้อมูลตรงข้ามจากทุกภาคกล่าวคือประชาชนส่วนมากตัดสินใจเลือกตั้งโดยพิจารณาที่บุคคลที่พรรคการเมืองเสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังพบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ปัญหาการซื้อเสียงกลับมาแม้ว่าการซื้อเสียงจะไม่ได้ผลมากอย่างเช่นในอดีตก็ตาม จะเห็นได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้องค์กรที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งจะต้องทำงานหนักขึ้นเนื่องจากระบบเลือกตั้งนี้ทำให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งมากกว่าระบบเลือกตั้งเดิมถึงกว่า 4 เท่า และทำให้มีงานธุรการมากขึ้นด้วยโดยองค์กรที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งต้องทำการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับระบบเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้ง การขยายเวลาเลือกตั้ง โดยพบว่าประชาชนส่วนมากมีความรู้เรื่องบัตรเลือกตั้งที่เหลือบัตรใบเดียว แต่กลับพบว่าประชาชนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเลือกตั้งอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนมากยังเชื่อมั่นและพึงพอใจต่อการจัดการเลือกตั้งของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการ หรือในระดับหน่วยเลือกตั้ง เขตเลือกตั้ง แต่สำหรับในระดับนโยบาย เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้งนั้น ประชาชนเห็นว่าควรมีการสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชนมากขึ้น หรือชี้แจงในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้มากขึ้น บทสรุปของงานวิจัยนี้ พบว่าปัญหาต่าง ๆ หลายประการดังที่กล่าวมาข้างต้นอาจเกิดจากระเบียบกฎหมาย และเป็นปัญหาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติของคณะกรรมการการเลือกตั้งเอง แต่ต้นตอของปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเลือกตั้งครั้งนี้เกิดจากระบบเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญ โดยระบบเลือกตั้งนี้เป็นปัจจัยให้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มากขึ้นแต่ไม่มีการคัดคุณภาพให้ดีพอ เรื่องสูตรคำนวณที่มีปัญหาการตีความ เป็นต้น ทั้งระบบเลือกตั้งนี้ยังไม่ส่งเสริมความเป็นสถาบันของพรรคการเมือง และทำให้ปัญหาการซื้อเสียงกลับมาเมื่อกระบวนการจัดการการเลือกตั้งมีปัญหาและ ไม่สามารถสะท้อนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ การส่งเสริมการปกครองในระบบอบประชาธิปไตยโดยใช้ระบบเลือกตั้งนี้ย่อมไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลได้ This research study has collected both quality and quantity information including group discussions, dialogue, in-depth interviews survey questionnaire. From data collection and analysis, the results show that during the first election process according to the 2018 constitution, there are many problems caused by the election system which has resulted in more administrative work in the electoral process raised, legal issues, operational regulations as well as determining guidelines for various areas that are an obstacle to operations, such as the inadequateness of staffs, committee of polling station and committee of constituency. The determination of an election inspector to examine the election is not effective and is unable to actually examine the election. And the aim of the election inspector is neutral, unrelated to the political side, cannot be true either. While the termination of the provincial election commission has made the coordination to support the process of managing elections with other government agencies more complicated. In addition, it was found that the measures determined by the Election Commission with the intention of increasing the number of voting rights became problems and obstacles and affected the confidence of the public against the Election Commission for example, the extension of elections to the public is distrustful that the voting process must be delayed for a dark time and making people involved in the electoral process to work more slowly, which may affect the accuracy in the preparation of various reports. The extension of the time does not result in more people exercising the right to vote. Moreover, the setting of ballot papers in different territories, different numbers and constituency division are an obstacle to the electoral process and making political parties such a difficulty to campaign and finally causing confusion for the people. This research study also indicates that informing the informally election results with errors that may affect the confidence of the Election Commission. It is recommended that informing informal election results should be a duty of private sector agencies. As for the pre-election, it is also found that there are many obstacles. Which is caused by many factors, such as determining pre-election areas without knowing the number of registered voters using pre-election the time to close the polling box is at 5:00 pm, even though the polling station may have all registered users to exercise their rights. And in some polling stations, so many people have registered to exercise their voting rights but voters can not use the right to vote. These problems are suggested that elections should be scheduled in advance outside the province. As for the election behavior of the people, there is an interesting issue that this election, people have the right to vote by using one ticket. This change will affect election behavior. In this research, it is indicated that the majority of people decide to vote by considering the policy of political parties. And will decide to choose the party rather than the person. On the contrary, in the northeast region, there is different information from every region, that is, most people decide to vote by considering the person nominated by the political party as prime minister. In addition, it was found that this election had a problem of buying back the votes, even if the vote was not as effective as in the past. It can be seen that in this election, organizations that are responsible for organizing elections will have to work harder, because this electoral system makes the candidates more than 4 times compared to the previous election and also has more administrative work. To organize an election, need a publication to educate people about the election system Ballot, the extension of the election time. It is also found that most people are only knowledgeable about the remaining ballot papers. Only a small minority people actually understand the electoral system. However, most people are still confident and satisfied with the election of officials at the operational level or at the polling station level, but for the policy level, such as the Election Commission people think that there should be more communication and understanding with the people or to clarify on various problems that has occurred. The conclusion of this research is found that many of the problems mentioned above may be caused by legal regulations and problems with the rules of the Election Commission itself. But the root of the problems is the election system is an important part. The election system is a factor for more candidates, but not quality selection. Regarding to the formulas that may be interpreted in many ways. Finally, the electoral system does not yet promote the institution of political parties. And causing the problem of buying back. When the election management process has problems and cannot fully reflect the true will of the people Promoting governance in a democratic system using this electoral system is unlikely to be effective.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectประเมินผลth
dc.subjectการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562th
dc.subjectสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรth
dc.subjectGeneral Election of Membersth
dc.subjectสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งth
dc.subjectกกต.th
dc.titleวิจัยประเมินผลการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562th
dc.title.alternativeThe Research Project of the Evaluation of the Holding of the General Election of Members of the House of Representatives in Thailand 2019th
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งth
cerif.cfProj-cfProjId2562A00404th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการวิจัยth
turac.researchSectorสาขาการวิจัยและการประเมินผล (Research and Evaluation sector : RE)th
turac.contributor.clientสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleวิจัยประเมินผลการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562th
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record