Show simple item record

dc.contributor.authorเกียรติอนันต์ ล้วนแก้วth
dc.date.accessioned2021-08-27T09:23:48Z
dc.date.available2021-08-27T09:23:48Z
dc.date.issued2564-08-27
dc.identifier.urihttps://repository.turac.tu.ac.th/handle/6626133120/1015
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อด้วยกัน คือ 1) เพื่อศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดน และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน และ 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน โดยคณะผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินงานด้วยการศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาของประเทศจีน อินเดีย เวียดนาม และมาเลเซีย จากนั้นจึงเป็นการศึกษาการจัดการศึกษาของจังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดหนองคาย และจังหวัดเชียงราย โดยเริ่มจากการนำข้อมูลทุติยภูมิระดับจังหวัดมาวิเคราะห์โครงสร้างประชากร โครงสร้างเศรษฐกิจ ศักยภาพทางเศรษฐกิจของจังหวัด โครงสร้างตลาดแรงงาน แนวโน้มการจ้างงาน ตลอดจนถึงปัญหาช่องว่างทักษะในระดับพื้นที่ จากนั้นจึงนำผลที่ได้ไปนำเสนอและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน 5 จังหวัดข้างต้น โดยประกอบไปด้วยตัวแทนของสถานศึกษา ตัวแทนของสถานประกอบการ ตัวแทนของผู้ปกครอง และตัวแทนของนักเรียน/นักศึกษา ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ เพื่อให้ทราบถึงสภาพการจัดการศึกษาในปัจจุบัน และความคาดหวังที่มีต่อการจัดการศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จากนั้น คณะผู้วิจัยจึงได้เอาผลการศึกษาจากข้อมูลทุติภูมิ ผลจากการประชุมกลุ่มย่อย และผลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาเป็นข้อมูลประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษต่อไป จากการศึกษา พบว่า การจัดการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดน มีข้อค้นพบที่สำคัญ ดังนี้ ประเด็นที่ 1 การจัดการศึกษายังขึ้นอยู่กับสถานศึกษาเป็นหลัก ทั้งในด้านของบุคลากร ทรัพยากร หลักสูตร และการจัดการเรียนรู้ เนื่องจากสถานศึกษาเองมีข้อจำกัดด้านทรัพยากร ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และเครือข่าย รวมถึงภาระงานที่ต้องทำเป็นประจำ จึงมีข้อจำกัดไม่สามารถพัฒนาบุคลากรของตนเองให้มีความเชี่ยวชาญได้ในทุกด้าน ส่งผลให้ไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานของจังหวัดได้ สถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษา มักจะเป็นการจัดการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ สถานศึกษาอื่น และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามาช่วยในการจัดการศึกษาตามความพร้อมของแต่ละภาคส่วน ประเด็นที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ส่วนหนึ่งยังไม่ทราบถึงทิศทางของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษว่าจะพัฒนาไปอย่างไร จังหวัดของตนเองจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในจังหวัดซึ่งมีรายได้ต่อหัวไม่สูงนัก เช่น สระแก้ว และหนองคาย เมื่อขาดความเข้าใจในเรื่องนี้ ประกอบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ ไม่ทราบถึงแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่เห็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมของการพัฒนา จึงไม่ทราบว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ประเด็นที่ 3 ทัศนคติของผู้ปกครองและผู้เรียนบางส่วนยังให้ความสำคัญกับการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ทัศนคติที่มองว่าการศึกษาเพื่ออาชีพเป็นทางเลือกรองหากไม่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยได้โดยไม่ได้มีข้อมูลเพียงพอว่าตลาดแรงงานในจังหวัดมีความต้องการแรงงานระดับใด สาขาใดบ้าง ทำให้แม้สถานศึกษาจะมีการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพก็อาจไม่ได้รับความสนใจหรือร่วมมือจากผู้ปกครองและผู้เรียน นอกจากนี้แล้ว การศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยนอกพื้นที่ยังทำให้จังหวัดสูญเสียแรงงานรุ่นใหม่ จึงส่งผลต่อการขาดแคลนแรงงานได้หากมีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประเด็นที่ 4 สถานประกอบการในพื้นที่ไม่มีความพร้อมในการร่วมจัดการเรียนการสอน ผู้ที่รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนยังขาดทักษะในการจัดการเรียนรู้ จึงไม่สามารถจัดการเรียนรู้ให้กับผู้ที่เข้ามาฝึกงานในสถานประกอบการได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งสถานประกอบการส่วนใหญ่ในพื้นที่เหล่านี้เป็นสถานประกอบการขนาดเล็ก จึงมีบุคลากรไม่เพียงพอที่จะจัดสรรมาช่วยจัดการเรียนรู้ ประกอบกับลักษณะของสถานประกอบการยังไม่ได้มีความซับซ้อนมาก ทักษะที่เรียนรู้จึงไม่มากนัก อาจไม่เพียงพอสำหรับการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับงานที่จะมาพร้อมกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ ประเด็นที่ 5 สถานศึกษายังไม่มีเกณฑ์การประเมินความสำเร็จในการจัดการศึกษาสำหรับพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากภาพอนาคตของจังหวัดยังไม่ชัดเจน ทั้งในด้านเศรษฐกิจภาพรวม และความต้องการตลาดแรงงาน ประกอบกับการประเมินความสำเร็จของทักษะในการทำงานมีวิธีการคิดและการประเมินที่แตกต่างจากผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ เมื่อไม่ทราบถึงเกณฑ์ที่เหมาะสม จึงไม่สามารถกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกันได้ ข้อเสนอแนะด้านการระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อจัดการเรียนรู้ในระบบนิเวศการเรียนรู้ สาระสำคัญของระบบนิเวศน์แห่งการเรียนรู้อยู่ที่การเปลี่ยนแนวคิดในการจัดการศึกษาแบบเดิมที่ยึดเอาสถานศึกษาเป็นแหล่งจัดการศึกษาหลัก มาเป็นการใช้พื้นที่หรือชุมชนเป็นฐานในการจัดการศึกษา นั่นหมายถึงการเปลี่ยนแนวทางจากการใช้ครูเป็นผู้จัดการเรียนรู้เป็นหลัก มาเป็นการทำงานร่วมกันของภาคส่วนในสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย บุคลากรของสถานศึกษา สมาชิกในครอบครัว/ชุมชน ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาสังคม การร่วมมือกันในลักษณะนี้จะช่วยขยายขอบเขตของทรัพยากรทางการศึกษาที่สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ จากเดิมที่ใช้ทรัพยากรของโรงเรียนเป็นหลัก (School-First Resource Mobilization) มาเป็นการระดมทรัพยากรทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินจากทุกภาคส่วนตามความพร้อมและความถนัดของแต่ละภาคส่วนเพื่อช่วยให้การจัดการศึกษา (Readiness-Based and Competency-Based Multi-Party Resource Mobilization) รายละเอียดตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 2 โดยจะมีทั้งการนำความชำนาญเฉพาะทางที่มีอยู่มาช่วยในการจัดรูปแบบการเรียนรู้ ร่วมกันสร้างพื้นที่การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้อง ออกแบบการประเมินผลที่เหมาะสม การนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้ร่วมกันเพื่อจัดการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่มีทั้งการเรียนรู้จากบุคคลสู่บุคคล การเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีออฟไลน์และออนไลน์ เพื่อให้รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการ ในเวลาที่ต้องการ มีชุดทักษะตามความต้องการของตลาดแรงงาน และความถนัดของแต่ละคนได้ This study has three objectives: 1) to conduct an extensive literature review on education management for the special economic zone (SEZ); 2) to develop an education model appropriate to the context of SEZ, and 3) to provide recommendations of education management in SEZ. The scope of this study covered 5 SEZ provinces: Songkhla, Kanchanburi, Sra Kaew, Nongkai, and Chiang Rai. One the first objective, an extensive literature review was carried out. The international literature review covered lessons learned in China, India, Vietnam, and Malaysia. It was found that these countries were aware of the importance of SEZ and the main engine for growth. Their education management in the SEZ area possessed similar characteristics. That was, the management was carried out jointly with local firms and firms in the SEZ areas, especially on the issues related to curriculum management and training in enterprises. They also placed greater emphasis on in-class teaching which aims primarily to increase work-related skills to ensure that graduates would have a better prospect of finding job placement. The second objective was on the education model. It was found that the most appropriate educational model of the Thai’s SEZ was the one with intensive stakeholder involvement on curriculum development, teaching provision as well as on resource mobilization base on stakeholder’s capacity to provide. The school would still be a primary platform for learning; however, the whole province should be thought of as a learning ecosystem utilizing all possible resources to meet the development objectives of the province. In addition, apart from technical skill formation, commensurate development of soft skills should be provided to increase employment transferability both intra-industry and inter-industries. The last objective on recommendations on SEZ education management are as follows: 1) schools should function as the primary learning platform with flexibility of changing learning environment based on the need of labor market; 2) more information on SEZ development progress should be provided to people in the province to increase their understanding and improve their sense of involvement; 3) promotion of positive mindset towards vocational education; 4) in-firm trainers should be equipped with teaching techniques to ensure that they will be able to effectively impart their knowledge to learners under their supervision, and 5) indicators for achievement should be developed by all the stakeholders involved and should be broader the one required by school KPIs.th
dc.format.mimetypeapplication/pdfth
dc.language.isothath
dc.publisherสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์th
dc.rightsเอกสารฉบับนี้สงวนสิทธิ์โดยผู้ให้ทุน ห้ามทำซ้ำ คัดลอก หรือนำไปเผยแพร่ตัดต่อโดยมิได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรth
dc.subjectการจัดการศึกษาth
dc.subjectพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษth
dc.subjectEducation Managementth
dc.subjectspecial economic zoneth
dc.titleการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษth
dc.title.alternativeEducation Management in Special Economic Zonesth
dc.typeTextth
dcterms.accessRightsบุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเอกสารนี้ได้th
dc.rights.holderสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาth
cerif.cfProj-cfProjId2561A00411th
mods.genreรายงานวิจัยth
turac.projectTypeโครงการที่ปรึกษาth
turac.researchSectorสาขาการศึกษา (Education sector : ED)th
turac.contributor.clientสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
turac.fieldOfStudyสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์th
cerif.cfProj-cfTitleการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษth
cerif.cfProj-cfProjStatusสิ้นสุดโครงการth


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record