Now showing items 1-4 of 4

    • type-icon

      การวัดปริมาณชิ้นส่วนดีเอ็นเอชนิด signal-joint T cell receptor excision circles (sjTREC) ในเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อคาดคะเนอายุในประชากรไทย 

      ไพเราะ ไพรหิรัญกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      การคาดคะเนอายุเป็นหนึ่งในข้อมูลที่สำคัญในการสืบสวนและสอบสวนเพื่อระบุตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ งานวิจัยในหลายประเทศพบว่า ชิ้นส่วน DNA ในเม็ดเลือดขาวชนิด T cell ที่เรียกว่า Signal joint T-cell receptor excision circle (sjTREC) มีปริมาณลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาในประชากรไทยซึ่งมีปัจจัยทางด้านพันธุกรรมที่แตกต่างจากประชากรประเทศอื่น ๆ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปริมาณ sjTREC กับอายุในประชากรไทยที่มีสุขภาพแข็งแรง และเพื่อสร้างสมการสำหรับคาดคะเนอายุที่มีความจำเพาะในประชากรไทยจากปริมาณ ...
    • type-icon

      การออกแบบและพัฒนาเครือข่ายระบบแฟ้มข้อมูลแบบกระจายโดยใช้รหัสแถว 

      พิศาล แก้วประภา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      จากเทคโนโลยีที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ข้อมูลดิจิตอลถูกสร้างขึ้นอย่างมากมายในแต่ละวัน การจัดเก็บจึงเป็นงานที่ท้าทายโดยเฉพาะกับองค์กรขนาดกลางถึงเล็ก การจัดเก็บโดยให้ผู้ให้บริการ Clould Storage อาจจะมีอุปสรรคเนื่องจากความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ไม่เพียงพอถ้ามีข้อมูลขนาดใหญ่ ระบบแฟ้มบนเครือข่ายแบบกระจายที่มีความสามารถในการป้องกันความเสียหายกับอุปกรณ์และสามารถเพิ่มพื้นที่ได้มีให้เลือกใช้แต่ระบบเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกพัฒนามาใช้ในงานเฉพาะทาง อย่างเช่นการประมวลผลประสิทธิภาพสูง และยังใช้วิธีการปกป้องข้อมูลอย่างง่ายด้วยการทำซ้ำ ซึ่งบางครั้งไม่เหมาะกับองค ...
    • type-icon

      คุณค่าของการใช้ Five time sit to stand สำหรับการคัดกรองและการประเมินการหกล้มในผู้สูงอายุไทย 

      สุขวิดา มโนรังสรรค์; Manorangsan, Sukwida (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2012)

      วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่า sensitivity และ specificity รวมถึงหาค่าจุดตัด (cutoff score) ของการทดสอบ Five Times sit to stand (FTSTS) สําหรับคัดกรองผู้สูงอายุไทยสุขภาพดีที่มีแนวโน้มจะเสี่ยงต่อการหกล้ม วิธีการวิจัย อาสาสมัครผู้สูงอายุ60 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยตามชุมชนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานี จำนวน 330 คน สามารถเดินและทำกิจวัตรประจําวันได้ตามปกติได้รับการอธิบายขั้นตอนและยินดีเข้าร่วมวิจัย ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลสุขภาพและบันทึกประวัติการหกล้ม จากนั้นรับการทดสอบ FTSTS และการติดตามข้อมูลการหกล้ม โดยโทรศัพท์ สอบถามผู้สูงอายุทุก ๆ สองเดือน จนครบหกเดือน ...
    • type-icon

      ศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการออกแบบบ้านพักอาศัยระบบไฮบริด 

      พิมลมาศ วรรณคนาพล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      ปัจจุบันแนวโน้มในการศึกษาวิจัยหรือออกแบบอาคารพักอาศัยโดยเฉพาะโครงการจัดสรรส่วนใหญ่ มุ่งออกแบบโดยยึดแนวทางใดแนวทางหนึ่งเป็นหลัก ระหว่างการใช้แนวทางพึ่งพาธรรมชาติ (Passive Design) ที่2 เน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่ ในธรรมชาติรอบอาคารในการสร้างสภาวะน่าสบายโดยไม่พึ่งพาระบบปรับอากาศกับการใช้ระบบเครื่องกล (Active Design) ที่เน้นการออกแบบให้อาคารเป็นระบบปิดและอาศัยการทำงานของระบบปรับอากาศในการสร้างสภาวะน่าสบายให้กับอาคารเป็นหลัก การศึกษาวิจัยนี้ มุ่งศึกษาแนวทางการออกแบบบ้านระบบไฮบริด (Hybrid House) โดยวิธีผสมผสานแนวทางพึ่งพาธรรมชาติกับการใช้ระบบเ ...