Now showing items 733-752 of 1119

    • type-icon

      พัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษเชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน 

      รุธิร์ พนมยงค์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-10)

      ปัจจุบัน การค้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงได้ลงนามเข้าเป็นภาคในความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement: GMS CBTA) โดยมีวัตถุประสงค์ในการอำนวยความสะดวกและขจัดอุปสรรคในการขนส่งข้ามพรมแดนระหว่างกัน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ พบว่ายังคงมีอุปสรรคหลายประการ โดยเฉพาะในด้านกฎระเบียบ มาตรฐาน และกระบวนการข้ามแดนและผ่านแดนที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ กรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ...
    • type-icon

      พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม 

      สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-03-23)

      โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม บ่งชี้ว่าผู้ประกอบการเล็งเห็นถึงประโยชน์การใช้เทคโนโลยีธุรกิจอัจฉริยะ (Business intelligence: BI) เพื่อลดต้นทุน และความเร็วในการบริหารจัดการธุรกิจ การออกแบบรายงานถือว่าเป็นสิ่งสำคัญช่วยธุรกิจดำเนินไปได้อย่างถูกต้องแม่นยำ นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้ประกอบการยังขาดความเข้าใจในการใช้เครื่องมือด้านดิจิทัลสนับสนุนในการดำเนินธุรกิจและการจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้องตามหลักการจัดเก็บข้อมูลที่จะช่วยให้การใช้ข้อมูลในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด การนำข้อมูลที่มีคุณภาพมาจัดทำรายงานผ่านเทคโนโลยีธุร ...
    • type-icon

      พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นเพื่อรองรับโอกาสเเละผลกระทบจากการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามเเนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ 

      แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-11)

      วัตถุประสงค์ของงานศึกษาประกอบด้วย 1) เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นสู่ ความยั่งยืนของจังหวัดในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ โดยพิจารณาความเชื่อมโยงระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน 2) เพื่อประเมินโอกาสและผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้และการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน 3) เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นสู่ความยั่งยืนเพื่อรองรับโอกาสและผลกระทบจากการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ และ 4) เพื่อนำองค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยมา ...
    • type-icon

      พัฒนาแนวคิดที่ได้รับรางวัลเพชรวายุภักษ์ ครั้งที่ 6 

      แก้วตา โรหิตรัตนะ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561)

      กระทรวงการคลัง ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2560-2564 โดยมีเป้าหมายสำคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการ แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถแสดงศักยภาพของตนออกมาสร้างนวัตกรรม อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง กระทรวงจึงได้มีโครงการประกวดรางวัลเพชรวายุภักษ์ขึ้น โดยให้หน่วยงานในสังกัดทั้งระดับกรม ระดับสำนัก และระดับบุคคล ส่งผลงานประกวด ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบกระบวนการทำงานของกระทรวงตามเป้าหมาย และเพื่อให้สามารถขยายผลประโยชน์ ผลกระทบต่อเศรษ ...
    • type-icon

      พัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในขั้นที่ 2 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

      อรพรรณ คงมาลัย; อัญณิฐา ดิษฐานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      งานวิจัยนี้มุ่งหมายที่จะพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนทฤษฎีใหม่เพื่อการพัฒนาพื้นที่ในขั้นที่ 2 ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพได้ถูกนำมาใช้ทั้งการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ โดยการทบทวนวรรณกรรมมุ่งทำความเข้าใจแนวคิดและหลักการพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืนทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทฤษฎีใหม่ การรวมกลุ่มทางสังคม (social cohesion) วิสาหกิจชุมชน (community enterprise) และสหกรณ์ (cooperative) ทั้งนี้ ได้มีการคัดเลือกกรณีศึกษา 10 แห่งจากภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศเพื่อถอดบทเรียนการนำทฤษฎีให ...
    • type-icon

      พัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 1 

      กฤดายุทธ์ ชมพูมิ่ง; สายันต์ ศิริมนตรี; บุรฉัตร ฉัตรวีระ; นรินทร์ วัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ในปัจจุบันโครงสร้างสะพานขนาดใหญ่หลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลให้สภาพการใช้งานของโครงสร้างมีการเปลี่ยนแปลงและแตกต่างไปจากสภาวะหรือเงื่อนไขที่พิจารณาในการออกแบบและก่อสร้างสะพาน นอกจากนี้สะพานยังเกิดการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้นและมีความชำรุดเสียหาย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการใช้งาน (Serviceability) และความมั่นคงแข็งแรง (Strength) ตลอดจนอายุการใช้งานหรือความทนทานของสะพาน (Durability) รวมถึงความปลอดภัยและความพอใจของผู้ใช้สะพาน (Public Safety and Comfort) จึงมีความจำเป็นในการพัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์คว ...
    • type-icon

      พัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 2 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทหลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและรองรับปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้โครงสร้างสะพานเกิดการเสื่อมสภาพและมีความชำรุดเสียหาย การตรวจสอบและประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานเหล่านี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายและความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างในสภาพปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาสะพานจึงได้ริเริ่มและดำเนินโครงการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบ ...
    • type-icon

      พัฒนาแบบจำลองและระบบตรวจวิเคราะห์ความมั่นคงแข็งแรงสะพาน ระยะที่ 3 

      กฤดายุทธ์ ชมภูมิ่ง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ในปัจจุบันสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่และอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบทหลายแห่งได้มีการใช้งานมาอย่างต่อเนื่องยาวนานและรองรับปริมาณการจราจรและน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มมากขึ้นทุกๆ ปี จึงทำให้โครงสร้างสะพานเกิดการเสื่อมสภาพและมีความชำรุดเสียหาย การตรวจสอบและประเมินความมั่นคงแข็งแรงของโครงสร้างสะพานเหล่านี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้ทราบถึงสภาพความชำรุดเสียหายและความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของโครงสร้างในสภาพปัจจุบัน กรมทางหลวงชนบทซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลและบำรุงรักษาสะพานจึงได้ริเริ่มและดำเนินโครงการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบต ...
    • type-icon

      พัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 

      สมคิด เลิศไพฑูรย์; สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดทำโครงการพัฒนาและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานด้านการต่างประเทศภายใต้กรอบอาเซียนของสำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดำเนินการแปลและเรียบเรียงแผนยุทธศาสตร์ การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559-2568 (ASEAN Tourism Strategic Plan (ATSP) 2016-2025) ให้เป็นภาษาไทย และเผยแพร่แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559-2568 (ATSP) ไปยังผู้มีส่วนได้ ...
    • type-icon

      พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปี 2561 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-10)

      วัตถุประสงค์ของโครงการ : 1. เพื่อให้การปฏิบัติงานของกองทุนฯ สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีทิศทางการดำเนินงานระยะยาวที่ชัดเจน สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาพลังงานของประเทศ การอนุรักษ์พลังงาน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินการของกองทุนฯ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับทิศทางของยุทธศาสตร์อนุรักษ์พลังงาน ระเบียบ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนฯ และเกณฑ์การชี้วัดของกรมบัญชีกลาง 3. เพื่ออำนวยการให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น ร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนฯ และดำเนินการในแผนต่าง ...
    • type-icon

      พัฒนาและให้บริการของหน่วยบริการธุรกิจ/SMEs และวิสาหกิจชุมชน (BSC) 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      สำนักงานศูนย์วิจัย ได้ดำเนินการบริหารจัดการหน่วยบริการธุรกิจ/SMEs และวิสาหกิจชุมชน (Business Service Center : BSC) เพื่อให้เชื่อมโยงหน่วยงาน BDS (Business Development Service) ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจัดให้มีที่ปรึกษาให้บริการ SMEs อย่างต่อเนื่องที่ศูนย์บริการ BSC นำร่องคือ ที่ (กรุงเทพ-พระรามหก และ กล้วยน้ำไท) ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จ.ขอนแก่น และศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 จ.สงขลา จัดทำและปรับปรุงข้อมูลเพื่อให้การบริการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนอย่างน้อย 6 เรื่องหลัก ...
    • type-icon

      พัฒนาและให้บริการช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาทางธุรกิจ 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center) ดำเนินงานโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่าย 14 แห่ง เพื่อให้บริการข้อมูลและปรึกษาแนะนำ และเชื่อมโยงส่งต่อผู้รับบริการให้หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้การช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจจากปัจจัยต่างๆ รวมทั้งทางการเงิน ให้สามารถพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมาดำเนินธุรกิจต่อไป 2) เพื่อให้มีหน่วยเชื่อมโยงการบริการ SMEs กับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ...
    • type-icon

      พัฒนาและให้บริการช่วยเหลือ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาทางธุรกิจ ประจำปีงบประมาณ 2559 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      ศูนย์ช่วยเหลือ SMEs (SME Rescue Center) ดำเนินงานโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และความร่วมมือของหน่วยงานเครือข่าย 14 แห่ง เพื่อให้บริการข้อมูลและปรึกษาแนะนำ และเชื่อมโยงส่งต่อผู้รับบริการให้หน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อให้การช่วยเหลือ SMEs ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจจากปัจจัยต่างๆ รวมทั้งทางการเงิน ให้สามารถพลิกฟื้นธุรกิจให้กลับมาดำเนินธุรกิจต่อไป 2) เพื่อให้มีหน่วยเชื่อมโยงการบริการ SMEs กับหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ...
    • type-icon

      พัฒนาแอปพลิเคชั่นส่งเสริมพัฒนาการเด็กบ้านอุ่นรัก ของ บริษัท แอคทิวิที วิลเลจ จำกัด 

      ปกป้อง ส่องเมือง (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      ศูนย์กระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิสติก “บ้านอุ่นรัก” เป็นศูนย์กระตุ้นพัฒนาการสำหรับเด็กออทิสติกเพื่อให้เด็กได้รับการกระตุ้นพัฒนาการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้จดทะเบียนธุรกิจในนาม บริษัท แอคทิวิทีวิลเลจ จำกัด ตั้งแต่ปี 2559 โดยที่ผ่านมาบ้านอุ่นรักได้มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้บริษัท ซัมซุงได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่น LOOK AT ME สำหรับการฝึกพัฒนาการสำหรับเด็กโดยเฉพาะแต่จากการค้นหาข้อมูลในประเทศไทยนั้นยังไม่มีการพัฒนาโปรแกรม หรือ แอปพลิเคชั่นในรูปแบบนี้อย่างจริงจัง ดังนั้นด้วยประสบการณ์ให้บริการและการสอ ...
    • Thumbnail

      พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับสนับสนุนการดำเนินธุรกิจ จำนวน 5 แอพพลิเคชั่น 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)
    • Thumbnail
    • type-icon

      พัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 

      รณรงค์ จันใด (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-01-05)

      โครงการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างตัวอย่างสภาวัฒนธรรมและข้อเสนอเชิงนโยบายและการนำไปสู่การปฏิบัติในการพัฒนาหรือปรับปรุงการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรมจังหวัด และพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาโครงสร้างคณะกรรมการบริหารสภาวัฒนธรรม ด้วยพลังการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในพื้นที่ ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 รวมทั้งการประเมินการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาวัฒนธรรม และการนำนโยบายไปขับเคลื่อนในพื้นที่ รวมถึงปัจจัยที่ ...
    • type-icon

      พัฒนาไฮโดรเจลแบบผงเพื่อการประยุกต์ใช้งานทางด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง 

      ศรุต อำมาตย์โยธิน (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      วัสดุเชิงประกอบไฮโดรเจลแบบผงนั้นสามารถ เตรียมได้จากพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแบคทีเรียเซลลูโลสด้วยกระบวนการ freeze dry ซึ่งมีอัตราส่วนระหว่างพอลิไวนิลแอลกอฮอล์และแบคทีเรียเซลลูโลสในอัตราส่วน 3:1 5:1 และ 10:1 ตามลำดับ โดยภายในโครงสร้างนั้นได้เกิดพันธะไฮโดรเจลเชื่อมขวางกันระหว่างวัสดุทั้ง 2 ประเภท ซึ่งวัสดุทั้ง 2 ประเภทนั้นมีความเข้ากันได้เป็นอย่างดีและสามารถทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้สูงถึง 200C และจากการถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดนั้นพบว่า ภายในโครงสร้างนั้นจะประกอบไปด้วยรูพรุนในขนาดต่าง ๆ กันมากมาย ในเบื้องต้นนั้นพบว่าว ...
    • type-icon

      พันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในการแข่งขัน (Born Strong) ปี 2563 

      อัญณิฐา ดิษฐานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-03-04)

      หน่วยร่วมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดำเนินโครงการพันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน (Born Strong) โดยโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมผู้ประกอบการใน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการใหม่และผู้ประกอบการรายย่อยที่มีแนวคิดทำผลิตภัณฑ์ ในกลุ่ม Health & Beauty และ 2) ผู้ประกอบการรับจ้างการผลิต OEM ตัวจริง ที่มีโรงงานและมีนวัตกรรมการผลิตที่มีคุณภาพและถูกต้องตามกฎหมาย เช่น โรงงานรับผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, โรงงานรับผลิตเครื่องสำอาง เป็นต้น โดยการส่งเสริมและยกระดับผู้ประกอบการภาค ...
    • type-icon

      พิพิธภัณฑ์เสมือน (Virtual Museum) การเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย 

      ชาวี บุษยรัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-30)

      การพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันนั้นมีการแสวงหาแนวทางใหม่ให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อการอยู่อาศัยเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้มากขึ้น ซึ่งแนวทางในการพัฒนาเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยองค์ความรู้ในการพัฒนาที่ผ่านการศึกษาและพัฒนาที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจสภาพสังคม ทัศนคติ ค่านิยม วัฒนธรรม รวมถึงนโยบายของภาครัฐ การเรียนรู้ข้อดีและข้ออุปสรรคของวิวัฒนาการที่อยู่อาศัยในประเทศไทยสามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยในอนาคตต่อไป ซึ่งผลการศึกษาที่เกิดขึ้นนั้นจำเป็นต้องมีการจัดการองค์ความรู้ในเรื่องของวิวัฒนาการการพัฒนาทอ ...