Now showing items 274-293 of 1119

    • type-icon

      ขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 6 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโลกอย่างรุนแรงและต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาภาวะโลกร้อนนั้นเกิดจากการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มากเกินไปสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) จึงเป็นแนวคิดในการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั้งทางตรงและทางอ้อม คำนวณออกมาให้อยู่ในหน่วย “คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent)” ซึ่งจะทำให้ ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ 

      ชวนัสถ์ เจนการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      โครงการขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์แห่งชาติในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการระยะที่สองตามกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงยุติธรรมที่กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างพื้นที่และส่วนกลาง สำหรับการประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงเพื่อให้เกิดการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรมควบคู่กันไป โดยในระยะที่สองนี้ ทางโครงการได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง ภายใต้ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ 

      พ.ต.ต. ดร.ชวนัสถ์ เจนการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและlมานฉันท์เป็นโครงการของกระทรวงยุติธรรมโดยสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ตามกรอบยุทธศาสตร์20 ปี กระทรวงยุติธรรม ที่กำหนดให้มีหน่วยงานประสานงานระดับพื้นที่กับส่วนกลางเป็นศูนย์ประสานงานในการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ และส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และสันติ วัฒนธรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองวางระบบในการจัดการความขัดแย้งให้กับสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉ ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนการบริหารราชการ แบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง 

      วสันต์ เหลืองประภัสร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-28)

      โครงการขับเคลื่อนการบริหารราชการแบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อศึกษารูปแบบหรือวิธีการเปิดให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการจัดบริการสาธารณะ รวมถึงเพื่อเป็นแนวทางและต้นแบบในการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหวางภาครัฐกับภาคประชาสังคม/ชุมชน อันจะเป็นกลไกในการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งมอบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้กับประชาชนหรือผู้รับบริการอย่างทั่วถึง โดยโครงการวิจัยนี้มีขอบเขตการศึกษา คือ การสร้างภาคความร่วมมือจากส่วนราชการภาคประชาสังคม/ชุมชนที่เกี่ยวข้อง โดยนำรูปแบบหรือวิธีการในการเปิดให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้า ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กิจกรรมที่ 3 การดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ : จัดทำห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) ในระดับพื้นที่ 

      ศิญาณี หิรัญสาลี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การจัดทำห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐในระดับพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัดอันได้แก่ 1) อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ในประเด็นสังคมผู้สูงอายุ 2) อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน 3) อำเภอ เลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในประเด็นเกษตรอินทรีย์ และ 4) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในประเด็นวิสาหกิจชุมชน โดยได้ใช้เครื่องมือในกระบวนการคิดเชิงออกแบบเข้าไปสร้างให้เกิดการระดมความคิดเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหา ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 5 เดือนที่ผ่านมาเกิดขึ้นใน 2 ระดับ ทั้งในระดับ ผลลัพธ์ในเชิงกระบวนการ ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน 

      นิฤมน รัตนะรัต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      โครงการวิจัย "การขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน" เป็นโครงการวิจัยระยะที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อผลักดันนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อหนุนเสริมเครือข่ายภาคีความร่วมมือ ในการนำนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครสู่การปฏิบัติ และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระบบการดูแล ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (ระยะที่ 1) 

      ณรงค์ ใจหาญ; Narong Jaiharn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกคือ ศึกษารูปแบบ มาตรการ กลไก หรือเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอาญา และปัญหาอุปสรรคที่มีในประเทศไทย และพัฒนากฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับแผนปฏิรูปการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประการที่สอง ศึกษาและพัฒนากฎหมาย รูปแบบ มาตรการ กลไก เครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ CSR ไปสู่ CSR 4.0 และแผนการดำเนินงานด้าน CG/CSR ปี 2562-2564 

      สานิตย์ หนูนิล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      การดำเนินการให้คำปรึกษาในโครงการยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม CSR ปี 2562-2564 ทีมที่ปรึกษามีบทสรุปและข้อเสนอ ดังนี้ ข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์ : CG/CSR สอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์กรฉบับล่าสุด และมีความต่อเนื่องกับงาน CG/CSR ที่องค์กรได้พัฒนามาในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันเน้น CSR 4.0 ซึ่งมีการบูรณาการงานของฝ่ายต่าง ๆ โดยใช้ยุทธศาสตร์องค์กรเป็นตัวตั้ง ลดโครงการย่อย ๆ ที่เป็นงานเพิ่มและไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเพิ่มโครงการใหญ่ ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และจะก่อให้เกิดผลกระทบในมุมกว้างเพื่อตอบสนอง ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กิจกรรมที่ 2 การศึกษาความเหมาะสมการตรากฎหมายรองรับกลไกขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชน 

      ณรงค์ ใจหาญ; รณกรณ์ บุญมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-04)

      โครงการนี้มีวัตถุประสงค์สองประการคือ ประการแรก เพื่อให้การดำเนินงานของฝ่ายบริหารมีกฎหมายมารองรับมาตรการ กลไก หรือเครื่องมือต่าง ๆ ในด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ และเพื่อให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นรูปธรรม มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันและมีความยั่งยืน วิธีการศึกษา (1) ศึกษาวิจัยเอกสาร ตำรา กฎหมายของไทยและต่างประเทศ 5 ประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สวีเดน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (2) รับฟังความคิดเห็นผู้ที่เกี่ยวข้องในร่างกฎหมาย และข้อเสนอกลไกในการดำเนินงาน ในแต่ละภาค ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกิจกรรมที่ 4 การศึกษาความเหมาะสมในการตรากฎหมายรองรับกลไกการขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติระยะที่ 2 

      ณรงค์ ใจหาญ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-04)

      โครงการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ สองประการ คือ ยกร่างพระราชบัญญัติสิทธิมนุษยชน พ.ศ. .... พร้อมด้วยร่างอนุบัญญัติ โดยดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามแนวทางของสอดคล้องตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติจัดทำร่างกฎหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ประการที่สอง กำหนดมาตรการ กลไก หรือเครื่องมือต่าง ๆ ด้านสิทธิมนุษยชนในภาพรวมของประเทศ และสามารถการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างยั่งยืน วิธีการศึกษา สัมภาษณ์ผู้บริหารกระทรวงยุติธรรม และนำข้อเสนอแนะม ...
    • Thumbnail

      ขับเคลื่อนและเสริมสร้างศักยภาพเพื่อบูรณาการแผนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

      บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย; รัชต์นรินทร์ นิติศรวุฒิ; Bundit Limmeechokchai; Rachnarin Nitisoravut (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)
    • type-icon

      ขึ้นทะเบียน ฝึกอบรมและทดสอบความรู้ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย 

      นพพร ลีปรีชานนท์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-04)

      กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) โดยสำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน ดำเนินโครงการขึ้นทะเบียน ฝึกอบรมและทดสอบความรู้ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการงานขึ้นทะเบียนผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน บริหารจัดการฝึกอบรม และทดสอบความรู้สำหรับผู้จะทำหน้าที่ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานเพื่อรองรับการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2552 ที่อยู่ระหว่างการแก้ไข ซึ่งจะกำหนดให้อาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้า ...
    • type-icon

      ความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง 

      เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-27)

      การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน เป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิควบคู่ไปกับข้อมูลปฐมภูมิเกี่ยวข้องกับความต้องการกำลังคนที่เชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ต่อยอดจากองค์ความรู้เรื่องแนวโน้มความต้องการกำลังคนที่ยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) ให้เห็นความเชื่อมโยงกับภาคเศรษฐกิจโดยยึดพื้นที่เป็นฐาน (Area-based) อันจะส่งผลให้มีข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ในการจัดทำข้อเสนอเชื่อมโยงกับภาคการทำงาน รวมถึงยังเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนางานกลไก ...
    • type-icon

      ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ปีที่ 3 (พ.ศ.2561-2562) 

      ปกป้อง ศรีสนิท (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-26)

      การดำเนินงานโครงการความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ปีที่ 3 (พ.ศ.2561-2562) มีดังนี้กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมตามมาตรา 12 - จัดร่วมกับหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข (8 ครั้ง) ได้แก่ 1) การสัมมนาวิชาการ “การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและสิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ” ร่วมกับ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2561 ณ ห้องประชุมนพเกล้า โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2) การสัมมนาวิชาการ “การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง และสิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ” ร่วมกับ ...
    • type-icon

      ความร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ปีที่ 2 (พ.ศ.2560-2561) 

      ปกป้อง ศรีสนิท (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมตามมาตรา 12 (1) การสัมมนาทางวิชาการร่วมกับ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ณ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (2) การสัมมนาทางวิชาการร่วมกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมหรือฝ่ายปกครองในประเด็นการเสียชีวิตที่บ้าน ได้แก่ จัดการเสวนาวิชาการ “สิทธิการตายดีตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ และแนวปฏิบัติกรณีการเสียชีวิตที่บ้าน” ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม เมื่อวันพุธที่ 11 ตุลาคม 2560 ณ ห้องชนกนันท์ โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ (ซ.วิภาวดีรังสิต 64) (3) ...
    • type-icon

      ความสำคัญของการกำกับดูแลเครื่องวัดสินค้าเกษตรที่ส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจและความเป็นธรรมในทางการค้า 

      ประชา คุณธรรมดี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-01-07)

      เครื่องมือวัดคุณภาพสินค้าเกษตรมีความสำคัญในการซื้อขายสินค้าเกษตร เพื่อกำหนดราคาสินค้าต่อหน่วยปริมาณ ความคลาดเคลื่อนจากการใช้เครื่องมือวัดที่ไม่ได้มาตรฐานหรือการไม่มีเครื่องมือวัดที่จำเป็นจะส่งผลต่อความเป็นธรรมในทางการค้า รายได้ของเกษตรกร ความน่าเชื่อถือด้านมาตรฐานของสินค้าและผลิตภัณฑ์การเกษตร ซึ่งเป็นพันธกิจของกรมการค้าภายในตามกฎหมาย ด้านการส่งเสริมและพัฒนาสินค้า ระบบและกลไกการตลาด ด้านการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ด้านการดูแลราคา ปริมาณ และด้านการพัฒนามาตรฐานการชั่งตวงวัดให้เทียบเท่าสากลและเป็นผู้นำอาเซียน การกำกับดูแลเครื่องวัดสินค้าเกษตร ...
    • type-icon

      ความหลากหลายของลักษณะสัณฐานวิทยาและสารพฤกษเคมีในหนอนตายหยาก Stemona aphylla Craib ในประเทศไทย 

      สุเมธ คงเกียรติไพบูลย์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-12-18)

      หนอนตายหยาก (Stemona aphylla Craib) เป็นพืชซึ่งมีสถานภาพเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียว (endemic species) พบในประเทศไทย มีการนำมาใช้ประโยชน์ในทางพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและจำหน่ายในท้องตลาด ใช้เป็นสารกำจัดแมลงศัตรูพืชจากธรรมชาติและใช้รักษาบรรเทาอาการโรคต่างๆ แต่ปัจจุบันยังขาดข้อมูลการศึกษาด้านคุณภาพสมุนไพรโดยเฉพาะข้อมูลด้านสารสำคัญของพืช นอกจากนี้ ยังพบความหลากหลายของสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบ ในขณะที่ข้อมูลการศึกษาดังกล่าวยังมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องลงพื้นที่สำรวจและศึกษาสารพฤกษเคมีที่เป็นองค์ประกอบของพืช เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการใช้ ...
    • type-icon

      ความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Construction Sector Transparency Initiative: CoST) โครงการย่อย โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบข้อมูล (Assurance Team) การดำเนินงานโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Construction Sector Transparency Initiative: CoST) 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล; วินัย รักสุนทร; ดามพ์เมษ บุณยะเวศ; กรกมล ตันติวนิช (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (Construction Sector Transparency : CoST) เป็นโครงการที่ริเริ่มโดย Department for International Development ของประเทศอังกฤษ ภายใต้ การสนับสนุนจากธนาคารโลกในปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน เอลซัลวาดอร์ เอธิโอเปีย กัวเตมาลา ฮอนดูรัส มาลาวี บอตสวานา ฟิลิปปินส์ แทนซาเนีย ยูกันดา ยูเครน เวียดนาม แซมเบีย อังกฤษ และประเทศไทย ทั้งนี้ หลักการสร้างความโปร่งใสในโครงการก่อสร้างภาครัฐ ได้รับการวางระบบให้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างสู่สาธารณชนในทุกระยะที่ดำเนินการ พร้อมทั้งมีกระบว ...
    • type-icon

      คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร บริษัท โปรเจค แพลนนิ่ง เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโลกอย่างรุนแรงและต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาภาวะโลกร้อนนั้น เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มากเกินไปสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) จึงเป็นแนวคิดในการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั้งทางตรงและทางอ้อม การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กรเป็นการวัดผลกระทบด้านภาวะโลกร้อนที่ปล่อยจากกิจกรรม ...
    • type-icon

      คุณค่าของการใช้ Five time sit to stand สำหรับการคัดกรองและการประเมินการหกล้มในผู้สูงอายุไทย 

      สุขวิดา มโนรังสรรค์; Manorangsan, Sukwida (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2012)

      วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่า sensitivity และ specificity รวมถึงหาค่าจุดตัด (cutoff score) ของการทดสอบ Five Times sit to stand (FTSTS) สําหรับคัดกรองผู้สูงอายุไทยสุขภาพดีที่มีแนวโน้มจะเสี่ยงต่อการหกล้ม วิธีการวิจัย อาสาสมัครผู้สูงอายุ60 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยตามชุมชนในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานี จำนวน 330 คน สามารถเดินและทำกิจวัตรประจําวันได้ตามปกติได้รับการอธิบายขั้นตอนและยินดีเข้าร่วมวิจัย ตอบแบบสอบถาม ข้อมูลสุขภาพและบันทึกประวัติการหกล้ม จากนั้นรับการทดสอบ FTSTS และการติดตามข้อมูลการหกล้ม โดยโทรศัพท์ สอบถามผู้สูงอายุทุก ๆ สองเดือน จนครบหกเดือน ...