Now showing items 1-10 of 10

    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      ในการสำรวจและวิเคราะห์สภาพทางทั้งชนิดผิวลาดยางและผิวคอนกรีตจำเป็นต้องใช้ข้อมูลความเสียหายของผิวทางเป็นข้อมูลตั้งต้นในการวิเคราะห์เพื่อนำมาจัดทำแผนงานบำรุงทางที่เหมาะสมและมีความถูกต้อง โดยการสำรวจจะมีการวางแผนงานให้เหมาะสม และเป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้ที่ปรึกษาได้พิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการจัดเก็บและสำรวจข้อมูลบนถนนผิวลาดยางและผิวคอนกรีตและเลือกใช้ยานพาหนะที่ติดตั้งอุปกรณ์เลเซอร์และกล้องถ่ายภาพที่มีความคมชัด ทำการบันทึกข้อมูลในสนามพร้อมทำการประมวลผลข้อมูลความเสียหายชนิดต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลกลาง ...
    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2563 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-31)

      กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทาง ในความรับผิดชอบประมาณ 74,786.100 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 73,165.825 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 66,711.865 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,406.886 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 47.074 กิโลเมตร นอกจากนั้นยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,614.275 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563) ที่ผ่านมากรมทางหลวง ได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทางโดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง TPMS Budgeting Module เป็นโปรแกรมที่ใช้วิ ...
    • type-icon

      ค่าสำรวจและประเมินสภาพโครงข่ายทางหลวงเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการใช้จ่ายงบประมาณบำรุงรักษาทางหลวงในระยะยาว ปี 2564 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-01-19)

      กรมทางหลวง เป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบประมาณ 76,200.640 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นทางบำรุง 74,740.721 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยผิวลาดยางประมาณ 67,921.906 กิโลเมตร ทางผิวคอนกรีตประมาณ 6,777.792 กิโลเมตร และทางผิวลูกรังประมาณ 41.023 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีทางก่อสร้างและทางรักษาสภาพอีก 1,450.684 กิโลเมตร (ข้อมูลบัญชีลักษณะผิวทาง ณ วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564) ข้อมูลระยะทางดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงทุกปีและเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงเพิ่มระยะทาง เนื่องมาจากสาเหตุของการพัฒนาประสิทธิภาพโดยก ...
    • Thumbnail

      จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการเงินทุนหมุนเวียนค่าเครื่องจักรกลของกรมทางหลวง (พ.ศ.2566-2570) 

      จตุรงค์ นภาธร (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2023-04-04)

      รายละเอียดตามเอกสารแนบ
    • type-icon

      ศึกษาและจัดทำข้อมูลการจำแนกลำดับชั้นของโครงข่ายทางหลวงแผ่นดินทั่วประเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวางแผนพัฒนาและบริหารจัดการทางหลวง 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      โครงข่ายทางหลวงแผ่นดินเชื่อมโยงพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขนส่งและการเดินทางของผู้ใช้ทางให้มีความสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงในประเทศไทย ในปัจจุบันมีอยู่ 3 แนวทาง คือ (1) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามหน่วยงานที่ควบคุมดูแล (2) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามบทบาทของการเชื่อมโยง และ (3) การจำแนกลำดับชั้นทางหลวงตามการใช้งาน แต่เนื่องด้วยความซับซ้อนของโครงข่ายทางหลวงที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วิธีการจำแนกลำดับชั้นถนนในโครงข่ายทางหลวงที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ...
    • type-icon

      ศึกษาและประเมินการเพิ่มประสิทธิภาพมาตรฐานการเคลื่อนตัวของจราจรบริเวณทางแยกระยะที่ 1 

      วินัย รักสุนทร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางแยกในพื้นที่เขตเมืองที่มีลักษณะเป็นโครงข่าย ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ซึ่งการศึกษาพบว่า ระบบการควบคุมการจราจรแบบทำงานประสานสัมพันธ์กันที่มีระบบปรับเปลี่ยนตามสภาพการจราจร (บน 5 ทางแยกบนถนนประเสริฐมนูกิจ) ช่วยทำให้ระบบการควบคุมทางแยกทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการทำงานของตำรวจจราจรลดลงจากเดิมที่เคยทำงาน 13 ชั่วโมงต่อวันเหลือเพียง 8 ชั่วโมงต่อวันในวันธรรมดา (คิดเป็นลดลงร้อยละ 37.7) และลดจาก 7 ชั่วโมงต่อวันเป็นเหลือเพียง 2 ชั่วโมงต่อวันในวันอาทิตย์ (คิดเป็นร้อยละ 71.4) ...
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวลาดยางและผิวคอนกรีต 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      ปัจจุบันกรมทางหลวงมีโครงข่ายทางหลวงทั่วประเทศเป็นระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 70,077.043 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) และด้วยสภาพความเสียหายของถนนในโครงข่ายของกรมทางหลวงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา กรมทางหลวงจึงต้องทำการสำรวจสภาพเส้นทางในความรับผิดชอบเป็นประจำทุกปี และนำข้อมูลสำรวจสภาพทางมาจัดทำเป็นระบบฐานข้อมูลกลาง (Central Road Database, CRDB) และระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง (Road Net) เพื่อใช้สำหรับการสืบค้นวิเคราะห์ การให้บริการข้อมูลต่อหน่วยงานอื่น และการเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ โดยการนำเข้าข้อมูลการสำรวจที่กรมทางหลวงได้นำระบบบริหารงานบำรุงทาง ...
    • type-icon

      สำรวจและวิเคราะห์สภาพทางหลวงผิวแอสฟัลต์ปี 2557 ส่วนที่ 2 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-30)

      กรมทางหลวงเป็นหน่วยงานหลักที่ต้องดูแลโครงข่ายสายทางทั่วประเทศ ปัจจุบันมีระยะทางในความรับผิดชอบกว่า 67,793 กิโลเมตร (ต่อ 2 ช่องจราจร) โดยแบ่งเป็นผิวทางลาดยาง 61,834 กิโลเมตร ผิวทางคอนกรีต 5,605 กิโลเมตร และผิวทางลูกรัง 354 กิโลเมตร ที่ผ่านมากรมทางหลวงได้นำเอาระบบบริหารงานบำรุงทาง โดยใช้โปรแกรมบริหารงานบำรุงทาง (Thailand Pavement Management System, TPMS) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้วิเคราะห์วิธีการซ่อมบำรุงทางจากสภาพความเสียหายของทางผิวแอสฟัลต์มาใช้ตั้งแต่ปี 2530 เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำแผนบำรุงทางของสำนักงานทางหลวงและแขวงการทาง โปรแกรมดังกล่าววิเคราะ ...
    • type-icon

      เพิ่มประสิทธิภาพระบบการติดตามการบริหารงานบำรุงปกติ 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การปรับปรุงระบบหมายเลขทางหลวงทุกสายทางทั่วประเทศ ส่งผลให้ข้อมูลทางหลวงเปลี่ยนแปลงไปจากบัญชีสายทางเดิมในฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทาง สำนักบริหารบำรุงทางจึงได้ทำการปรับปรุงข้อมูลในระบบฐานข้อมูลกลางงานบำรุงทางให้เป็นระบบหมายเลขทางหลวงใหม่ ตลอดจนได้ปรับปรุงรายละเอียดรหัสงาน งานพัฒนาทางหลวง งานบำรุงรักษาทาง และงานอำนวยความปลอดภัย รองรับลักษณะการทำงานที่เปลี่ยนไป อีกทั้งได้ทำการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทรัพย์สินทางหลวงให้เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลทรัพย์สินตามบัญชีสายทางใหม่ โดยการปรับปรุงระบบดังกล่าวส่งผลให้เจ้าหน้าที่ในส่วนกลางสามารถใช้งานได้ง ...
    • Thumbnail

      โครงการศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะสภาพความเสียหายของทางพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : รายงานขั้นสุดท้าย 

      อุรุยา วีสกุล; พิสณฑ์ อุดมวรรัตน์; ชินชัย มหาแสน; วีรยา ฉิมอ้อย; กิตติยง อัศวรุจานนท์; สืบศักดิ์ นันทวานิช; เทอดศักดิ์ รองวิริยะพานิช; อำนาจ คำพานิช; กีรติ เสนปิ่น; สิทธิศักดิ์ แจ่มนาม; สราวุธ ลอยวานิช; ดวงทิพย์ ทองมี; Dinoy, Antonio P., Jr. (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2007)

      วัตถุประสงค์ของรายงานจัดทำขึ้นเพื่อเสนอแผนพัฒนาระบบบริหารงานบำรุงทางของกรมทางหลวงให้เหมาะสมทั้งทางด้านวิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์ จัดทำข้อมูลสภาพความเสียหายของผิวจราจรในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้สามารถบันทึกลงฐานข้อมูลของระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ตลอดจนจัดทำข้อมูลให้นำไปวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สภาพความเสียหายและวิธีซ่อมบำรุงทางได้