Now showing items 1-10 of 10

    • type-icon

      กรอบแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี (Pathumthani Smart City Roadmap) 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-10-07)

      จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ปริมณฑลที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นเมืองมหาวิทยาลัย เมืองของการอยู่อาศัย และเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนถ่ายระบบคมนาคมขนส่งในระดับภูมิภาค ตลอดจนมีแผนพัฒนาโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งมวลชนทางรางเชื่อมต่อศูนย์กลางธุรกิจของเมืองกับชุมชนชานเมืองให้เกิดประสิทธิภาพในการเดินทางในอนาคต ทำให้เกิดแรงดึงดูดให้เกิดความต้องการด้านการเดินทางของประชาชนไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของเขตเมือง ส่งผลต่อรูปแบบการลงทุนทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ของภาครัฐ ในการรองรับความต้องการของประชาชนและแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีเพื่อประชาชน ...
    • type-icon

      การพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจหมุนเวียนเชิงบูรณาการด้วยนวัตกรรมการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางน้ำ 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-11-17)

      โครงการการพัฒนาชุมชนเศรษฐกิจหมุนเวียนเชิงบูรณาการด้วยนวัตกรรมการเชื่อมต่อระบบขนส่งทางน้ำมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการศึกษาเพื่อต่อยอดองค์ความรู้สู่การพัฒนาพื้นที่ด้วยการสร้างรูปแบบกาบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนภายในชุมชนเชิงบูรณาการด้านการท่องเที่ยวและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงบูรณาการของระบบกิจกรรมชุมชนกับการสร้างการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับชุมชนผู้มีรายได้น้อย งานวิจัยนี้ได้ทำการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้ระเบียบของการวิจัยในเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และสถิติเชิงวิเคราะห์ (Analytical Statistics) ...
    • type-icon

      การศึกษาเชิงนโยบายเกี่ยวกับศักยภาพของรถโดยสารไฟฟ้าโทรลลีล้อยาง กรณีศึกษาเมืองพัทยา 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      แผนการพัฒนาระบบการสัญจรในประเทศไทยนั้นที่ได้มีการดำเนินการในการกระตุ้นจากภาครัฐผ่านกรอบนโยบายระดับต่าง ๆ ทั้งความเป็นไปได้ในเชิงของเทคโนโลยี จนถึงความสนใจของผู้ประกอบการและหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาและวิเคราะห์ด้านความคุ้มทุนในเชิงของนโยบายและการนำไปใช้ให้เกิดขึ้นจริงและชัดเจนในปัจจุบัน งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษากรอบนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนเมือง การคมนาคมขนส่ง การอนุรักษ์พลังงานสิ่งแวดล้อม และสถานการณ์การพัฒนาเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยต่อความเป็นไปได้ในการใช้รถโดยสารไฟฟ้าโท ...
    • type-icon

      จัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศการขนส่งและจราจรเพื่อประเมินขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินโครงการศึกษาจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการขนส่งและจราจรเพื่อประเมินขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านการขนส่งและจราจร และการพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการขนส่งและจราจรสำหรับการพัฒนาตัวชี้วัด ขั้นตอนของการศึกษาเริ่มจากการทบทวน/รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของนโยบายแผนยุทธศาสตร์ โครงการต่างๆ การทบทวนตัวชี้วัดด้านการขนส่งและจราจรของต่างประเทศ การจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระดับสากล รวมถึงการทบทวนตัวชี้วัดประสิท ...
    • type-icon

      จ้างที่ปรึกษาเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาของเทศบาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลเมืองปู่เจ้าสมิงพราย) 

      วิมลสิทธิ์ หรยางกูร; ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      Poochaosamingprai Strategic Development Plan has been prepared in compliance with the National Economic and Social Development Plan. However, due to the dynamic change of urban environment, the direction of development plan could not meet the needs of local people. Furthermore, the continuing and emerging environment problems in the municipality area required a public mobilization in a sense of great urgency. On the other hand, with low public’s awareness and lack of sense of ownership, it cannot succeed in putting several concerns of the ...
    • type-icon

      พัฒนามาตรฐานผู้ตรวจสอบความปลอดภัยงานทางสำหรับกรมทางหลวงชนบท 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศไทยที่ต้องป้องกันอย่างเร่งด่วนและอย่างเป็นระบบ คือ อุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากอุบัติเหตุทางถนนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุปัจจัยและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้สูญเสียทรัพย์สินและทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก อุบัติเหตุบนท้องถนนในเมืองไทยนับว่ามีความรุนแรงเป็นอย่างมาก จากสถิติขององค์การอนามัยโลกได้ออกรายงาน Global Status Report on Road Safety 2015 เกี่ยวกับผู้เสียชีวิตจากการเกิดอุบัติเหตุของประเทศไทยเป็นอันดับ 2 ของโลกโดยมีอัตราการเสียชีวิต 36.2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน ...
    • type-icon

      พัฒนาหลักสูตรการสืบสวนอุบัติเหตุเชิงลึกและการพัฒนาบุคลากรด้านความปลอดภัย โดยวิธีตกลง 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      สถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยทางถนนในโลก รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ.2558 (Global Status Report on Road Safety, 2015) โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) การเสียชีวิตบนท้องถนนโดยแบ่งประเภทของผู้ใช้ถนนในแต่ละภูมิภาคของโลก และในภูมิภาคเอเชีย การเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดกับยานพาหนะชนิด 2 ล้อ รวมถึง ปัจจุบันประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 2 ของประเทศที่มีอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดในโลก ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิต 36.2 คนต่อประชากรหนึ่งแสนคน (รองจากประเทศลิเบียที่เสียชีวิต 73.4 คน ต่อประชากรหนึ่งแสนคน) โดยมีผู้เสียชีวิตตามที่คาดการณ์เท่ากับ 24,237 ...
    • type-icon

      ศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์ เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภายใต้โครงการศึกษาจัดทำแผนจัดการขนส่งที่ยั่งยืนสำหรับเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์เพื่อเป็นเมืองต้นแบบในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในภาคคมนาคม ได้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และเศรษฐศาสตร์การเงินที่เกิดจากการขนส่งทางถนนจากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อจัดทำแผนการจัดการขนส่งที่ยั่งยืน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสำหรับเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเมืองที่เป็นจุดเชื่อมต่อเส้นทางอาเซียนไฮเวย์สำหรับเมืองต้นแบบ ...
    • type-icon

      แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล; พีรดร แก้วลาย; ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า; มานัส ศรีวณิช; ดารณี จารีมิตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      แนวทางการพัฒนาพื้นที่แบบระบบขนส่งมวลชนระบบราง (Transit Oriented Development) เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีหลักการในการพัฒนาพื้นที่แบบเข้มข้น โดยมีรูปแบบการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย การพัฒนาศูนย์กลางที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมบริเวณสถานีขนส่งมวลชน หรือโดยรอบเส้นทางระบบขนส่งมวลชน เน้นการออกแบบการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ โดยเฉพาะการเดินเท้าในรัศมี 800 เมตร จากสถานีขนส่งมวลชน รวมถึงการใช้มาตรการอื่นที่ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ทั้งนี้ระบบขนส่งมวลชนทางราง ...
    • type-icon

      แนวทางการลดอัตราการตายและบาดเจ็บของการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-10-11)

      สำหรับประเทศไทยการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุทางถนนอยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งอุบัติเหตุจราจรทางถนนถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับกลุ่มผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นเสนอแนะแนวทางการลดอัตราการตายและบาดเจ็บของการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยการบูรณาการนวัตกรรมด้านความปลอดภัยทางถนน โดยทำการรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ทั้ง 3 ระดับ คือ 1) ระดับเมือง: รวบรวมข้อมูลสถิติอุบัติเหตุจากข้อมูล 3 ฐาน (จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (POLIS)) กระทรวงมหาดไทยและ ...