Now showing items 1-11 of 11

    • type-icon

      การคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      งานวิจัยนี้นำเสนอระบบรู้จำมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาอย่างอัตโนมัติโดยใช้โครงข่ายประสาทสังวัตนาการเดนซ์เน็ต (Densely Connected Convolutional Network: DenseNet121) และโครงข่าย Wasserstein Generative Adversarial Network (WGAN-GP) ในการสร้างภาพรอยโรคผิวหนังเทียมเพื่อใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกฝนโครงข่ายที่มีจำนวนข้อมูลในการฝึกฝนน้อย วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้คือ การสนับสนุนการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยมะเร็งผิวหนังโดยใช้ภาพถ่ายรอยโรคผิวหนัง โครงข่าย DenseNet121 ถูกนำมาใช้และประเมินผลเปรียบเทียบกับโครงข่ายเรสเน็ต (Deep Residual Neural Network: ResNet50) ...
    • type-icon

      การประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายโดยใช้กฎ ABCD ในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาขั้นตอนวิธีการประเมินความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายโดยใช้กฎ ABCD กล่าวคือ A คือ ความไม่สมมาตรของรอยโรคผิวหนัง (Asymmetry) B คือ ลักษณะขอบของรอยโรคผิวหนัง (Border) C คือ สีของโรยโรคผิวหนัง (Color) และ D คือ ลักษณะโครงสร้างของรอยโรคผิวหนัง (Dermoscopic Structure) ในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟน โดยขั้นตอนวิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งผิวหนังจากภาพถ่ายรอยโรคโดยใช้การประมวลผลภาพดิจิทัล การเรียนรู้เชิงลึกและการเรียนรู้เครื่อง ในการสกัดลักษณะเด่นจากภาพถ่ายรอยโรคและจำแนกประเภทรอยโรคผิวหนังว่าเป็นเ ...
    • type-icon

      การพัฒนาชุดตรวจคัดกรองผู้มีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย: เฟสที่ 1 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง paper based 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      ความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD) คือความบกพร่องของกลุ่มบุคคลที่ประสบปัญหาทางด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การให้เหตุผล และทักษะเชิงคณิตศาสตร์ โดยเด็กที่ป่วยเป็นโรค LD จะเริ่มแสดงอาการผิดปกติตั้งแต่ช่วงอายุ 3-5 ปี สำหรับชุดตรวจคัดกรองผู้ป่วย LD ในระยะแรกเริ่มมีการพัฒนาขึ้นใช้สำหรับในหลายภาษา เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาเดนิช แต่ยังไม่มีการพัฒนาขึ้นสำหรับภาษาไทยคณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบและพัฒนาชุดตรวจคัดกรองสำหรับเด็กไทยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค LD โดยใช้หลักการทางภาษาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และความจำ โดยแบ่งเป็น 6 หัวข้อ ได้แก่ การอ่านอย่างรวดเร็ว ...
    • type-icon

      การพัฒนาเครื่องมือประเมินความเสี่ยงที่จะมีความบกพร่องในการเรียนรู้โดยใช้เสียงพูดภาษาไทยและการตอบคำถามการคำนวณสำหรับคนไทย : เฟสที่ 2 พัฒนาชุดตรวจคัดกรอง Computer Based 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-28)

      พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับคัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงต่อความชุดทดสอบในรูปแบบแอปพลิเคชันบนแท็บเลตเสร็จสิ้น โดยนำแอปพลเคชันที่พัฒนาขึ้นมาใช้สำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลจากอาสาสมัครกลุ่มปกติจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 60 ราย และกลุ่มเสี่ยงจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีก 50 ราย (ภายใต้เอกสารรับรองโครงการวิจัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หมายเลขที่ 448/61) ข้อมูลเสียงพูดที่เก็บรวบรวมจากอาสาสมัครถูกนำมาวิเคราะห์ โดยการสลัดลักษณะเด่น 988 ลักษณะเด่นจากเสียงพูดโดยใช้โปรแกรม openSMILE และสร้างแบบจำลองโดยใชhโปรแกรม Weka โดยใช้วิธีการตรวจสอบไขว้ 5 ส่วน พบว่าสำหรับการว ...
    • type-icon

      การออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 

      บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ; ศุภชัย วรพจน์พิศุทธิ์; จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2013)

      In it is the leading cause of death and the second leading cause of adult disability. We have to pay over 20 billion Baht a year for stroke-related medical costs and disability. Stroke rehabilitation should be started as quickly as possible and done consistently. Because of the lack of physical therapist and rehabilitation machines, daily rehabilitation exercises are rarely successful. Therefore, the simple designed machine with required less physical therapist is considerably needed. There are two main objectives of this research plan. First ...
    • type-icon

      การเรียนรู้เชิงลึกสำหรับการตรวจคัดกรองและจำแนกประเภทโรคมะเร็งปอดและวัณโรค 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-11)

      แต่ละปีมีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากวัณโรค มะเร็งปอด และหัวใจผิดปกติเป็นจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกได้ทำการประมาณว่า มีจำนวนผู้ติดเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) สูงถึง 1,800 ล้านคนทั่วโลก(เทียบเท่า 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรโลก) โดยในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยวัณโรคมากกว่า 10 ล้านคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.6 ล้านคน สำหรับมะเร็งปอด มีผู้ป่วยเกิดขึ้นใหม่ประมาณ 2.1 ล้านคนทั่วโลกและมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 1.8 ล้านคน สำหรับหัวใจผิดปกติ (heart failure) มีผู้ป่วยมากว่า 26 ล้านคนทั่วโลกเอกซ์เรย์ทรวงอกเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อใช้ว ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบ AI Edge Service และ AI Cloud Service สำหรับ AlChest4All เพื่อรองรับการตรวจคัดกรองภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกของโรงพยาบาลทั่วประเทศ 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-11)

      เนื่องจากการติดตั้งระบบ AIChest4All ในปัจจุบันโรงพยาบาลที่ขอใช้งานจำเป็นต้องมีเครื่องแม่ข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับใช้ประมวลผลภาพถ่ายเอกซ์เรย์ทรวงอก ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายสำหรับโรงพยาบาลในชนบทและพื้นที่ห่างไกล อีกทั้งระบบ AIChest4All ในปัจจุบันทำงานในรูปแบบออฟไลน์ ทำให้ยากต่อการดูแลและแก้ไขในกรณีที่มีการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเวอร์ชั่นของซอฟท์แวร์ จึงเกิดแนวคิดในการออกแบบและพัฒนาระบบการให้บริการส่วนขอบ (Edge Service) และกลุ่มเมฆ (AI Cloud Service) โดยแยกหน่วยประมวลผลส่วนกลางมาติดตั้งไว้ที่โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานีเพื่อรองรับการประมว ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบอำนวยความสะดวกในการจดบันทึกทางการแพทย์และการจดบันทึกทางการพยาบาลบูรณาการร่วมกับการรู้จำเสียงพูดสำหรับการถอดรหัสทางการแพทย์ภาษาไทย: เฟสที่ 2 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565)

      การรู้จำเสียงพูดถูกพัฒนาและแข่งขันโดยหลายบริษัททั่วโลกจนสามารถนำมาใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน มีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่ายกูเกิล (Google) คือผู้บริการเกี่ยวกับการรู้จำเสียงพูดเช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า Speech-to-Text: Automatic Speech Recognition ซึ่งรองรับภาษาต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวนมากกว่า 125 ภาษา รวมถึงภาษาไทย แต่ปัญหาหลักคือ บริบทของแบบจำลองใน Speech-to-Text API เป็นบริบททั่วไป (general) ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน แม้ว่าจะสามารถเลือกแบบจำลองโดยระบุบริบทได้ แต่บริบทนั้นไม่ครอบคลุมถึงบริบทในการทำหมายเหตุแพทย์และพยาบาล ซึ่งมีคำศัพท์เฉพาะทางการแ ...
    • type-icon

      ระบบคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอตาและผู้ป่วยโรคจอประสาทตาเสื่อมอย่างอัตโนมัติ 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-11-03)

      โรคเบาหวานขึ้นจอตาและโรคจอประสาทตาเสื่อมสามารถป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคได้ หากพบแนวโน้มการเป็นโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ จะนำไปสู่การรักษา ลดการสูญเสีย ลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานขึ้นจอตาและโรคจอประสาทตาเสื่อมนั้นต้องได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์โดยการตรวจจอตา อย่างไรก็ตามจักษุแพทย์ในประเทศไทยยังขาดแคลนไม่เพียงพอต่อความต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวทำให้การตรวจวินิจฉัยโรคมีข้อจำกัด บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ...
    • type-icon

      ระบบอำนวยความสะดวกในการจดบันทึกทางการแพทย์และการจดบันทึกทางการพยาบาลบูรณาการร่วมกับการรู้จำเสียงพูดสำหรับการถอดรหัสทางการแพทย์ภาษาไทย: เฟสที่ 1 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-07-22)

      งานวิจัยนี้พัฒนาการทําหมายเหตุแพทย์และพยาบาลอย่างอัตโนมัติจากเสียงพูดบนสมาร์ตโฟน โดยใช้ เทคนิคการเรียนรู้เชิงลึกสําหรับสร้างแบบจําลองรู้จําเสียงพูด โดยพัฒนา 4 ส่วนที่สําคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาแอปพลิเคชันสําหรับเก็บข้อมูลสําหรับเก็บเสียงพูดบนสมาร์ตโฟนด้วยวิธีการส่งข้อมูลต่อเนื่อง ให้สามารถรองรับหลายคน เก็บบันทึกเสียงข้อมูล และแสดงผลการถอดความได้อย่างต่อเนื่องและทัน ท่วงที 2) การเก็บรวบรวมข้อมูลเสียงพูดจากแพทย์และพยาบาลที่ปฎิบัติงานในโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี จากข้อมูลทั้งหมดที่เก็บรวบรวมได้จะมีเวลาของข้อมูลเสียงทั้งสิ้น 233 ชั่วโมง 1 นาที 33 วินาที ...
    • type-icon

      ระบบเฝ้าระวังอัตโนมัติในการประเมิน ติดตาม ป้องกัน และเเสดงแนวทางการบริหารจัดการเมื่อเกิดภาวะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำในระหว่างการให้ยาหรือสารน้ำชนิดยานอร์ริพิเอฟฟรินจากภาพถ่ายผิวหนังโดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมเชิงลึกในรูปแบบแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน 

      จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต; ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์; บวรลักษณ์ ทองทวี; พัดชา พงษ์เจริญ; ดุษฎี สกลยา; ปรารถนา สิทธิวัฒนาวงศ์; สินี เวศย์ชวลิต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-08-17)

      การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยา คือ ภาวะที่ยาที่มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดในระหว่างการให้ยาทางหลอดเลือดดำ ส่งผลอันตรายต่อเนื้อเยื่อบริเวณโดยรอบที่ให้ยาทางหลอดเลือดดำ และอาจลุกลามถึงเส้นประสาท เส้นเอ็น ข้อของอวัยวะต่าง ๆ ที่ได้รับหรือสัมผัสกับยาดังกล่าว ในกรณีที่รุนแรง อาจทำให้สูญเสียอวัยวะบริเวณนั้นได้ ปัจจุบันการตรวจคัดกรองภาวะการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยา พยาบาลในห้องผู้ป่วยจะต้องสังเกตผู้ป่วยในทุกช่วงระยะหลังการฉีดสารน้ำ ซึ่งมีข้อจำกัดคือ เมื่อมีการเปลี่ยนช่วงเวลาทำงาน ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากพยาบาลท่านอื่น ...