Now showing items 1-6 of 6

    • type-icon

      จ้างเหมาจัดทำคู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร โดยวิธีเฉพาะเจาะจง 

      อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2022-12-06)

      กรุงเทพมหานครโดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักปลัดกรุงเทพมหานครร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนของกรุงเทพมหานครได้จัดทำ “คู่มือการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตของกรุงเทพมหานคร” เพื่อรองรับการบริหารจัดการในภาวะวิกฤตและเตรียมความพร้อมกรุงเทพมหานครตามกรอบแนวทางการสร้างเมืองปลอดภัยและหยุ่นตัวต่อวิกฤตการณ์ อีกทั้ง ยังเป็นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับการเตรียมความพร้อมของเมืองต่อวิกฤตการณ์ในรูปแบบต่างๆ ทั้งนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2566 – 2570 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2564 – 2570 นอกจากนี้ เป็นไปตามข้อกำหนดของประกา ...
    • type-icon

      พัฒนาระบบรวบรวมความคิดเห็นของประชาชนและสังเคราะห์ประเด็นข้อเสนอแนะการปฏิรูปผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น 

      ธีรยุทธ โหรานนท์; ทวิดา กมลเวชช; อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      เพื่อให้การดำเนินงานด้านการรวบรวมข้อมูลและการสังเคราะห์ข้อมูลเป็นระบบคณะกรรมาธิการวิสามัญการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน สภาปฎิรูปแห่งชาติได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการสังเคราะห์ประเด็นการปฎิรูปขึ้น เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2557 โดยได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการ มีหน้าที่ในการสังเคราะห์ประเด็นข้อเสนอแนะของหน่วยราชการ องค์กรภาคเอกชน และประชาชนทุกภาคส่วนเกี่ยวกับประเด็นการปฎิรูปและรวบรวมประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเพื่อรายงานต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญประจำสภาที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากข้อมูลข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมีจำนวนมาก ...
    • type-icon

      รัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย 

      วรรณภา ติระสังขะ; ประจักษ์ ก้องกีรติ; อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการรัฐศาสตร์กับวิกฤตการเมืองไทย แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก เป็นการผลิตผลงานวิชาการที่ครอบคลุมประเด็นปัญหาที่สำคัญและถือเป็นข้อท้าทายในแง่มุมทางรัฐศาสตร์ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ เรื่องวิกฤตประชาธิปไตยโลก วิกฤตประชาธิปไตยไทย: องค์ความรู้และบทเรียนจากการศึกษาประชาธิปไตยเชิงเปรียบเทียบ เรื่องความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย และเรื่องการสร้างความเป็นสถาบันขององค์กรอิสระ: ศึกษาคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ดำเนินมาอย่างยืดเยื้อต่อเนื่องตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาด ...
    • type-icon

      วิเคราะห์เนื้อหารายการเล่าข่าวทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล 

      อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-03)

      การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ผังรายการและเนื้อหาของรายการเล่าข่าว ทั้งในด้านการจัดผังรายการ เนื้อหาของข่าว ผู้ดำเนินรายการ และภาพข่าวที่นำเสนอ และทำการเปรียบเทียบเนื้อหาที่แต่ละช่องนำเสนอ พร้อมทั้งนำเสนอแนวทางในการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์ภาคพนดินระบบดิจิทัล โดยคณะที่ปรึกษาได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผังรายการเล่าข่าวที่มีการออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิทัล รวมทั้งหมด ๒๕ ช่อง ซึ่งแบ่งเป็นหมวดหมู่ ประกอบด้วย ๑) ประเภทรายการเด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวน ๒ ช่อง ๒) ประเภทรายการข่าวสาร และสาระ จำนวน ๖ ช่อง ๓) ประเภทรายการทั่วไป ...
    • type-icon

      วิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินงานรับฟังความเห็นต่อ (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... 

      อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      รายงานฉบับนี้เป็นการรวบรวมความคิดเห็นของการทำประชาพิจารณ์(ร่าง)พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยเป็นการรวบรวมข้อมูลจากการทำเวทีทั้งหมด 3 ช่องทาง ด้วยกัน คือ (1) การจัดรับฟังความเห็นผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือเวที online สำหรับประชาชนทั่วไป (2) การจัดเวทีประชาพิจารณ์ (Public hearing) และ (3) การจัดเวทีปรึกษาสาธารณะ (Public consultation) ในภาพรวมของความคิดเห็น คือ รับรู้ว่าเป็นกฎหมายที่ใช้มา 15 ปี สำหรับส่วนที่เห็นด้วยมองว่า พรบ. ฉบับนี้จำเป็นต้องมีแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการบริการสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพ ...
    • type-icon

      ศึกษาวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพเนื้อหารายการ ที่มีการนำสื่อโซเชียลมีเดีย (Social Media) มาใช้ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 

      อรรถสิทธิ์ พานแก้ว (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-07-29)

      ปัจจุบันสังคมไทยมีการนำสื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ในกิจการโทรทัศน์ โดยมีการหยิบยกเรื่องที่เป็นกระแสต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมจากสื่อออนไลน์ มาเผยแพร่ทางสื่อโทรทัศน์ ซึ่งอาจไม่ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องและแหล่งที่มาของข้อมูล จึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพเนื้อหารายการที่มีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในกิจการโทรทัศน์ และการศึกษาสำรวจทัศนคติ และความพึงพอใจของประชาชนในการนำใช้สื่อโซเชียลมีเดียมาใช้ในกิจการโทรทัศน์ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นการศึกษาเพื่อนกําหนดแนวปฏิบัติที่เหมาะสมต่อการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในกิจการโทรทัศน์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ...