Now showing items 1-3 of 3

    • type-icon

      จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ว่างให้เช่าและประเภทธุรกิจในพื้นที่เจริญกรุง-คลองสาน 

      พีรดร แก้วลาย; ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การจัดงาน Bangkok Design Week ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงศักยภาพทางด้านการออกแบบ ศิลปะ วัฒนธรรม เศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร อีกทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการก่อให้เกิดการสนับสนุนผู้ประกอบการ นักออกแบบ และชุมชนในพื้นที่ ทั้งในด้านของการพัฒนากายภาพ และการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการจัดเตรียมงานที่มีศักยภาพ และเหมาะสมกับพื้นที่ ดังนั้น โครงการจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ว่างให้เช่า และประเภทธุรกิจในพื้นที่เจริญกรุง-คลองสานจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดรายละเอียดในการเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมทั้งในเชิงกายภาพของพื้นที่ และรูปแบบหรือประเภทธุรกิจในพื้นที่สำหรับการจัดทำ ...
    • type-icon

      ศึกษาศักยภาพอุตสาหกรรมการออกแบบของประเทศไทย 

      พีรดร แก้วลาย; ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบจึงได้จัดทำโครงการศึกษาศักยภาพอุตสาหกรรมการออกแบบของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นข้อมูลแสดงถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมการออกแบบ และกำหนดแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการออกแบบได้อย่างครอบคลุม ประกอบด้วย 8 อุตสาหกรรมการออกแบบคือ (1) สาขาสถาปัตยกรรม (2) สาขาสถาปัตยกรรมภายใน (3) สาขาภูมิสถาปัตยกรรม (4) สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ (5) สาขาเรขศิลป์ (6) สาขาแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (7) สาขาออกแบบนิทรรศการ และ (8) การออกแบบบริการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดเก็บ ...
    • type-icon

      แนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณรอบสถานีขนส่งมวลชนระบบรางที่เอื้อต่อการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน 

      ภาวิณี เอี่ยมตระกูล; พีรดร แก้วลาย; ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า; มานัส ศรีวณิช; ดารณี จารีมิตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      แนวทางการพัฒนาพื้นที่แบบระบบขนส่งมวลชนระบบราง (Transit Oriented Development) เป็นที่ยอมรับในระดับสากลอย่างกว้างขวาง ซึ่งมีหลักการในการพัฒนาพื้นที่แบบเข้มข้น โดยมีรูปแบบการพัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย การพัฒนาศูนย์กลางที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรมบริเวณสถานีขนส่งมวลชน หรือโดยรอบเส้นทางระบบขนส่งมวลชน เน้นการออกแบบการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนอย่างมีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ โดยเฉพาะการเดินเท้าในรัศมี 800 เมตร จากสถานีขนส่งมวลชน รวมถึงการใช้มาตรการอื่นที่ส่งเสริมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน ทั้งนี้ระบบขนส่งมวลชนทางราง ...