Now showing items 262-281 of 1119

    • type-icon

      กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งสมาคมการค้าตามแนวทาง Balanced Scorecard (BSC) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สมาคมการค้า 

      อภิวัฒน์ มุตตามระ; Muttamara, Apiwat (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      การพัฒนาศักยภาพสมาคมการค้าเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายสมาคมการค้าให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการ โดยการนำแนวคิด Balanced Scorecard มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบในการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยมุมมอง (Perspectives) 4 ด้าน คือ มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective) มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective) มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective) และมุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective) การพัฒนาศักยภาพสมาคมการค้าและสร้างเครือข่ายสมาคมการค้า โดยมีการดำเนินการ ...
    • type-icon

      กิจกรรมสำรวจและประเมินการดำเนินงานของร้านอาหารไทย งานวิจัยเรื่องการศึกษาคุณค่าตราสินค้า (Brand equity) ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่น และการวัดความภักดี ในตราสินค้า (Brand loyalty) ต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ ภายใต้โครงการเสริมสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมอาหารและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่คุณค่าอาหารของไทย (Thailand Food Forward) 

      แก้วตา โรหิตรัตนะ; ธนวัต ลิมป์พาณิชย์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการการศึกษาคุณค่าตราสินค้า ร้านอาหารไทยในญี่ปุ่นและการวัดความภักดีในตราสินค้าต่อการใช้บริการร้านอาหารไทยแบบบริการเต็มรูปแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดคุณค่าตราสินค้าร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่นศึกษาการรับรู้ทัศนคติ และปัจจัยส่วนบุคลของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นที่มีผลต่อการใช้บริการร้านอาหารไทย และเสนอแนะกลยุทธ์การส่งเสริมร้านอาหารไทยในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงแนวทางการปรับปรุงการให้บริการของร้านอาหารไทย โดยมีขอบเขตงานวิจัย คือ พื้นที่เมืองซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด โดยมีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากการเก็บแบบสอบถาม และเชิงคุณภาพ จากการศึกษา พบว่า ประเทศญี่ปุ่นมี ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Global Value Chain) ด้วยแพลทฟอร์ม T-GoodTech ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 

      มานิต สาธิตสมิตพงษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs เข้าสู่ห่วงโซ่มูลค่าระดับโลก (Global Value Chain) ด้วยแพลทฟอร์ม T-GoodTech ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเพิ่มช่องทางการค้าและการจับคู่ทางธุรกิจผ่านช่องทางเว็บไซต์ T-GoodTech เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มช่องทางการตลาด โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือระบบ IT มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ เพื่อสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงวิสาหกิจสู่ห่วงโซ่อุปทานระดับสากลต่อไป ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ Social Media เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและการสร้างแบรนด์ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2560 

      มานิต สาธิตสมิตพงษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการส่งเสริม SMEs ใช้ Social Media เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ SMEs ได้มีความรู้ความเข้าใจในการนำ Social Media มาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการประยุกต์ใช้ในกิจการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น 2) เพื่อให้มี Success Case ในการประยุกต์ใช้ Social Media ในธุรกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาด เผยแพร่ออกสู่สาธารณะเพื่อเป็นต้นแบบการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี โดยได้แบ่งหลักสูตรการถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเป็น 2 หลักสูตรดังนี้ หลักสูตรที่ 1. การถ่ายทอดองค์ความรู้และให้คำปรึ ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital 

      สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      กิจกรรม “ส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP” ซึ่งได้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 บรรลุวัตถุประสงค์การดำเนินการ เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อ SMEs ร่วมโครงการ 40 กิจการ จากนำระบบ ERP by DIP ไปใช้งานสามารถช่วยลดต้นการประกอบการเป็นมูลค่าต่อปีถึง 13,241,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.70 เพิ่มยอดขายหรือเพิ่มกำไรเป็นมูลค่าต่อปีถึง 28,480,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 16.65 ลดขั้นตอนการทำงานในกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญลงร้อยละ 32.81 ลดเวลาที่ใช้ในการทำงานในกระบวนการทางธุรกิจที่สำคัญลงร้อยละ 31.61 และทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มถึง 3,194,000 บาท สรุปผลความคุ้มค่าของโครงการเป็นอัตราส่วน ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP และพัฒนาศักยภาพด้วยระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2559 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการพัฒนาส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ SME ด้วย ERP by DIP และด้วยระบบรายงานผู้บริหารมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม SMEs ใช้ระบบ ERP by DIP ซึ่งเป็นระบบ ERP ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ย่อขนาดจากระบบ ERP ขนาดใหญ่ในปัจจุบัน แต่สามารถใช้งานที่เพียงพอต่อความต้องการของ SMEs ขนาดเล็ก (มีข้อจำกัดในการใช้งานในระดับหนึ่ง) และระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ที่จะสามารถช่วยธุรกิจในการวิเคราะห์และการวางแผนธุรกิจของผู้บริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารและจัดการ โดยเป็นการให้บริการผ่าน Cloud Computing ซึ่ง SMEs สามารถใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่ต้องติดตั้งระบบเซิร์ฟเวอร์ ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบรายงานผู้บริหาร (BI) ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบ Digital ปีงบประมาณ 2560 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ตามนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยมุ่งการวางรากฐานของเศรษฐกิจดิจิทัลให้เริ่มขับเคลื่อนได้อย่าง จริงจังซึ่งจะทำให้ทุกภาคเศรษฐกิจก้าวหน้าไปได้ทันโลกและสามารถแข่งขันในโลกสมัยใหม่ได้ ซึ่งหมายรวมถึง การผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์ดิจิทัลโดยตรงทั้งฮาร์ดแวร์ซอฟต์แวร์อุปกรณ์สื่อสารดิจิทัลอุปกรณ์โทรคมนาคม ดิจิทัลและการใช้ดิจิทัลรองรับการให้บริการของภาคธุรกิจการเงินและธุรกิจบริการอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างการ ใช้ดิจิทัลรองรับการบริหารจัดการการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรร ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพของ SMEs ด้วยระบบ Visualize ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital for SMEs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 

      จักร ชวนอาษา (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      จากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทยตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นการประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนา SMEs ให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ...
    • type-icon

      กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(DIP e-learning for e-commerce) หลักสูตร e-commerce ในระบบ e-learning 

      ศราวุธ แรมจันทร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้พัฒนาอีเลิร์นนิงแพลตฟอร์มขึ้นมาส่งเสริมทักษะทางธุรกิจของภาคเอกชน ดังนั้นโครงการนี้จึงได้ทำการพัฒนาเนื้อหาเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ดิจิทัลได้ หลังจากที่โครงการเสร็จสมบูรณ์ มีประชาชนจำนวน 345 รายซึ่งลงทะเบียนเป็นนักเรียนของระบบการเรียนรู้ดิจิทัล โดยส่วนมากนักศึกษามาจากภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทยสอดคล้องกับจำนวนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย โดยร้อยละ 17.41 ของนักเรียนสามารถนำทักษะเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจ ...
    • type-icon

      กิจกรรมเตรียมความพร้อมกลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมโยงกับ Super Cluster กลุ่มอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง ภายใต้โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายและการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมในรูปแบบคลัสเตอร์ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ปีงบประมาณ 2560 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-04-23)

      สำนักงานศูนย์วิจัย ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์ และรับสมัครวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มอุตสาหกรรมมันสำปะหลังเข้าร่วมโครงการ โดยมี SMEs ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 ราย เป็นไปตามเป้าหมาย โดยได้มีการจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรม เพื่อสร้างความสัมพันธ์และสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรม จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 2 วัน จากนั้นได้จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบเพชรในการประเมินศักยภาพกลุ่มอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลา 1 วัน และให้คำปรึกษาแนะนำในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบเพชรในการประเมินศักยภาพกลุ่มอุตสาหกร ...
    • type-icon

      กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยี ปีงบประมาณ 2565 

      สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2565-09-10)

      กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยีปีงบประมาณ 2565 เป็นกิจกรรมฯ ที่มุ่งเน้นในการเพิ่มทักษะการใช้เครื่องดิจิทัล โดยกิจกรรมฯครั้งนี้เลือกใช้โปรแกรม Microsoft Power BI เป็นเครื่องมือในการประมวลผลข้อมูล และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหลายมุมมองสำหรับผู้บริหารซึ่งส่งผลทำให้ผู้ประกอบการสามารถใช้ข้อมูลขององค์กรที่มีอยู่มาทำรายงานในรูปแบบ visualization ทำให้ช่วยตัดสินใจในการบริหารธุรกิจ อีกทั้งยังสามารถช่วยลดต้นทุนหรือเพิ่มยอดขาย และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจประเภทเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเครื่องมือดิจิทัล ...
    • type-icon

      กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC และ SEC) ยุคดิจิทัล 

      จิรพล สังข์โพธิ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-08)

      การจัดกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (EEC และ SEC) ยุคดิจิทัล ในครั้งนี้ ทำให้ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจ เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีในการบริการจัดการธุรกิจ ได้ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูล การออกแบบรายงาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการมีแนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในองค์กรของตนเอง และเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวเกิดความต่อเนื่องและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการ จึงมีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการนำเทคโนโ ...
    • type-icon

      ขยายผลการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรในภาคอุตสาหกรรม ระยะที่ 6 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน (Global Warming) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโลกอย่างรุนแรงและต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาภาวะโลกร้อนนั้นเกิดจากการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มากเกินไปสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์องค์กร (Carbon Footprint for Organization) จึงเป็นแนวคิดในการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ เพื่อให้ทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั้งทางตรงและทางอ้อม คำนวณออกมาให้อยู่ในหน่วย “คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2 equivalent)” ซึ่งจะทำให้ ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ 

      ชวนัสถ์ เจนการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      โครงการขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์แห่งชาติในครั้งนี้ เป็นการดำเนินการระยะที่สองตามกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี ของกระทรวงยุติธรรมที่กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างพื้นที่และส่วนกลาง สำหรับการประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงเพื่อให้เกิดการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และสันติวัฒนธรรมควบคู่กันไป โดยในระยะที่สองนี้ ทางโครงการได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพิ่มเติมอีก 5 แห่ง ภายใต้ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ 

      พ.ต.ต. ดร.ชวนัสถ์ เจนการ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      การจัดตั้งศูนย์ประสานงานการเสริมสร้างความสามัคคีปรองดองและlมานฉันท์เป็นโครงการของกระทรวงยุติธรรมโดยสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายการสร้างความสามัคคีปรองดองและความสมานฉันท์ตามกรอบยุทธศาสตร์20 ปี กระทรวงยุติธรรม ที่กำหนดให้มีหน่วยงานประสานงานระดับพื้นที่กับส่วนกลางเป็นศูนย์ประสานงานในการประสานความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ และส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และสันติ วัฒนธรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองวางระบบในการจัดการความขัดแย้งให้กับสำนักงานคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉ ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนการบริหารราชการ แบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง 

      วสันต์ เหลืองประภัสร์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-28)

      โครงการขับเคลื่อนการบริหารราชการแบบประชารัฐที่เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือ เพื่อศึกษารูปแบบหรือวิธีการเปิดให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมในการจัดบริการสาธารณะ รวมถึงเพื่อเป็นแนวทางและต้นแบบในการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหวางภาครัฐกับภาคประชาสังคม/ชุมชน อันจะเป็นกลไกในการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งมอบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพให้กับประชาชนหรือผู้รับบริการอย่างทั่วถึง โดยโครงการวิจัยนี้มีขอบเขตการศึกษา คือ การสร้างภาคความร่วมมือจากส่วนราชการภาคประชาสังคม/ชุมชนที่เกี่ยวข้อง โดยนำรูปแบบหรือวิธีการในการเปิดให้ภาคประชาสังคม/ชุมชนเข้า ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านจังหวัดและกลุ่มจังหวัด กิจกรรมที่ 3 การดำเนินการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ : จัดทำห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab) ในระดับพื้นที่ 

      ศิญาณี หิรัญสาลี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      การจัดทำห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐในระดับพื้นที่นำร่อง 4 จังหวัดอันได้แก่ 1) อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ในประเด็นสังคมผู้สูงอายุ 2) อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน 3) อำเภอ เลิงนกทา จังหวัดยโสธร ในประเด็นเกษตรอินทรีย์ และ 4) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ในประเด็นวิสาหกิจชุมชน โดยได้ใช้เครื่องมือในกระบวนการคิดเชิงออกแบบเข้าไปสร้างให้เกิดการระดมความคิดเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหา ผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 5 เดือนที่ผ่านมาเกิดขึ้นใน 2 ระดับ ทั้งในระดับ ผลลัพธ์ในเชิงกระบวนการ ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูเเลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน 

      นิฤมน รัตนะรัต (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-20)

      โครงการวิจัย "การขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน" เป็นโครงการวิจัยระยะที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อเนื่องมาจากโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อผลักดันนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อหนุนเสริมเครือข่ายภาคีความร่วมมือ ในการนำนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครสู่การปฏิบัติ และ 3) เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระบบการดูแล ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนบูรณาการเพื่อช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน (ระยะที่ 1) 

      ณรงค์ ใจหาญ; Narong Jaiharn (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกคือ ศึกษารูปแบบ มาตรการ กลไก หรือเครื่องมือในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดอาญา และปัญหาอุปสรรคที่มีในประเทศไทย และพัฒนากฎหมายไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสอดคล้องกับแผนปฏิรูปการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความผิดอาญาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ประการที่สอง ศึกษาและพัฒนากฎหมาย รูปแบบ มาตรการ กลไก เครื่องมือในการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับประเทศไทยและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ...
    • type-icon

      ขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ CSR ไปสู่ CSR 4.0 และแผนการดำเนินงานด้าน CG/CSR ปี 2562-2564 

      สานิตย์ หนูนิล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      การดำเนินการให้คำปรึกษาในโครงการยกระดับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม CSR ปี 2562-2564 ทีมที่ปรึกษามีบทสรุปและข้อเสนอ ดังนี้ ข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์ : CG/CSR สอดคล้องกับยุทธศาสตร์องค์กรฉบับล่าสุด และมีความต่อเนื่องกับงาน CG/CSR ที่องค์กรได้พัฒนามาในช่วง 3-5 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันเน้น CSR 4.0 ซึ่งมีการบูรณาการงานของฝ่ายต่าง ๆ โดยใช้ยุทธศาสตร์องค์กรเป็นตัวตั้ง ลดโครงการย่อย ๆ ที่เป็นงานเพิ่มและไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และเพิ่มโครงการใหญ่ ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และจะก่อให้เกิดผลกระทบในมุมกว้างเพื่อตอบสนอง ...