Now showing items 238-257 of 1119

    • type-icon

      การให้คำปรึกษาการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ให้แก่โรงไฟฟ้า ของ บริษัท กัลฟ์ ทีเอส3 จำกัด 

      บริษัท กัลฟ์ ทีเอส3 จำกัด (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-06-19)

      การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นนับเป็นวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในระดับโลก ประเทศ และวิถีชีวิตของทุกคน และยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการใช้ทรัพยากรค่อนข้างมาก ทั้งปริมาณการใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ สารเคมี และพลังงาน โดยเฉพาะเชื้อเพลิง และน้ำ ถือเป็นปัจจัยการผลิตหลักในกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงมลภาวะที่เกิดขึ้นจากตัววัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง ...
    • type-icon

      การให้คำปรึกษาการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ให้แก่โรงไฟฟ้า ของ บริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จำกัด 

      หาญพล พึ่งรัศมี (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-19)

      การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นนับเป็นวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในระดับโลก ประเทศ และวิถีชีวิตของทุกคน และยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการใช้ทรัพยากรค่อนข้างมาก ทั้งปริมาณการใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ สารเคมี และพลังงาน โดยเฉพาะเชื้อเพลิง และน้ำ ถือเป็นปัจจัยการผลิตหลักในกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงมลภาวะที่เกิดขึ้นจากตัววัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง ...
    • type-icon

      การให้คำปรึกษาการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ให้แก่โรงไฟฟ้า ของ บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด 

      ไพรัช อุศุภรัตน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-08-21)

      การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นนับเป็นวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ และก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในระดับโลก ประเทศ และวิถีชีวิตของทุกคน และยังมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุหลักของภาวะโลกร้อนเกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีการใช้ทรัพยากรค่อนข้างมาก ทั้งปริมาณการใช้ทรัพยากร วัตถุดิบ สารเคมี และพลังงาน โดยเฉพาะเชื้อเพลิง และน้ำ ถือเป็นปัจจัยการผลิตหลักในกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า รวมถึงมลภาวะที่เกิดขึ้นจากตัววัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มลภาวะที่เกิดจากกระบวนการผลิต การขนส่ง ...
    • type-icon

      กำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานลมและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ของประเทศไทย 

      พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร; วรรัตน์ ปัตรปรประกร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2014)

      ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558-2579 (PDP2015) กำหนดให้มีกำลังผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลมรวม 9,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2579 ถึงแม้พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากโรงไฟฟ้าประเภทนี้เป็นพลังงานไฟฟ้าสะอาดที่ไม่ปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อม แต่กำลังผลิตที่ได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งสองประเภทมีความไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดและลมด้วยสาเหตุของความไม่แน่นอนของกำลังผลิตและการกำหนดปริมาณกำลังผลิตตามแผน จึงมีความจำเป็นที่ต้องหาปริมาณกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ ...
    • type-icon

      กำลังผลิตติดตั้งสูงสุดที่เหมาะสมของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทยเมื่อพิจารณาผลกระทบด้านความถี่ 

      พรระพีพัฒน์ ภาสบุตร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-03-04)

      ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2558-2579 (PDP2015) กำหนดเป้าหมายการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ที่ 6,000 เมกะวัตต์ ภายในปี พ.ศ. 2579 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11 ของกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าทุกประเภท แต่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์มีความไม่แน่นอนของกำลังผลิตซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้ากำลังโดยเฉพาะเสถียรภาพด้านความถี่ นอกจากนี้ในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการติดตั้งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงพื้นที่ที่ไม่สามารถคาดการณ์ตำแหน่งของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ก็จะส่งผลกระทบต่อการตอบสนองด้านความถี่เพิ่มขึ้น ในการศึกษานี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างก ...
    • type-icon

      กำหนดแนวทางพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการในสถาบัน 

      ระพีพรรณ คำหอม (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-11)

      การวิจัยเรื่อง โครงการแนวทางพัฒนารูปแบบและการบริหารจัดการในสถาบัน กองคุ้มครองสวัสดิภาพและพัฒนาคนพิการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทบทวนรูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบันที่เหมาะสมในแต่ละช่วงชีวิต พัฒนากระบวนการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการที่มีประสทธิภาพและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงตามสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลง และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนารูปแบบการคุ้มครองสวัสดิภาพคนพิการในสถาบัน ระเบียบวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสนทนากลุ่มย่อย และการสัมภาษณ์เชิงลึก ประชากรที่ศึกษาประกอบด้วยได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองแล ...
    • type-icon

      กิจกรรม ติดตามและประเมินผลโครงการ โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล ประจำปีงบประมาณ 2559 

      พีระ เจริญพร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล (Enhancing Thai Halal Food) ประจำปีงบประมาณ 2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตสินค้าอาหารฮาลาลให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสอดคล้องตามหลักการศาสนา และสนับสนุนด้านการตลาดโดยการให้เครื่องหมายรับรอง ฮาลาล โดยให้เครื่องหมายรัลนองเป็นที่ยอมรับและเพิ่มความน่าเชื่อถือในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฮาลาลสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้โครงการฯ แบ่งกิจกรรมออกเป็นกิจกรรมย่อยภายใต้การดำเนินโครงการทั้งสิ้น 11 กิจกรรม (ไม่รวมกิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการ) โดยรายงานฉบับนี้เป็นผลการ ...
    • Thumbnail

      กิจกรรมการติดตามประเมินผลโครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ/การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาค 

      กริช เจียมจิโรจน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)

      โครงการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ/การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรในภูมิภาคในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน) ปี 2560 มีสถานประกอบการเข้าร่วมจำนวน 10 แห่ง แยกเป็นสถานประกอบการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย 3 แห่ง พะเยา 3 แห่ง แพร่ 2 แห่ง และน่าน 3 แห่ง ผลการดำเนินโครงการติดตามและประเมินผลโครงการ พบว่า ที่ปรึกษาโครงการมีการดำเนินกิจกรรมครบถ้วนตาม TOR ที่กำหนดไว้ จากการสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพในการดำเนินการจำนวน 10 ด้าน สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจระดับมาก โดยได้รับคะแนนพึงพอใจเฉลี่ย ...
    • type-icon

      กิจกรรมการพัฒนาโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาโมเดลการส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ 2562 

      วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      การดำเนินงานกิจกรรมการพัฒนาโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 ภายใต้โครงการศึกษาและพัฒนาโมเดลการส่งเสริมอุตสาหกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนผังการดำเนินโครงการและกิจกรรมของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และเพื่อจัดทำโมเดลในการส่งเสริม SME สู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยคาดหวังผลผลิตและผลลัพธ์ เพื่อเกิดโมเดลใหม่ที่เหมาะสมในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม SME ของประเทศไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างน้อย 2 โมเดล โดยการศึกษานี้ได้ดำเนินสอบถามและสัมภาษณ์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ประกอบการ SME ผู้ปฏิบัติงานส่งเสริม ...
    • type-icon

      กิจกรรมการวิจัยและทดสอบตลาดสู่เชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ “ สร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ (NEC) ” 

      ชัยวัฒน์ อุตตมากร; สุรพิชย์ พรหมสิทธิ์; สุวรรณ จันทิวาสารกิจ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-09-15)

      กิจกรรม “การวิจัยและทดสอบตลาดสู่เชิงพาณิชย์” ภายใต้โครงการ “สร้างและบ่มเพาะผู้ประกอบการรายใหม่ (NEC)” ประจำปีงบประมาณ 2563 เพื่อที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จนั้น ทีมที่ปรึกษาได้จัดทำแผนปฏิบัติงานทั้งหมดของโครงการ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 5 เดือน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา (150 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา) พบว่า 1. ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดและการส่งเสริมการขาย จำนวน 5 วัน มีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวนทั้งสิ้น 1,352 คน มีค่าผลคะแนนก่อนเรียน (Pre-Test) รวมที่ 3.24 (ร้อยละ 32.4) มีค่าผลคะแนนหลังเรียน (Post-Test) ...
    • type-icon

      กิจกรรมการวิเคราะห์และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะเฝ้าติดตามและตรวจสอบดูแล การทำงานของเครื่องจักร Machine Monitoring System ในสถานประกอบการ พร้อมระบบดิจิทัล ภายใต้โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมระบบอัจฉริยะเฝ้าติดตาม และตรวจสอบดูแลการทำงานของเครื่องจักร (Machine Monitoring System) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2018)

      จากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทยตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นการประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นเพื่อให้สอดรับกับประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนา SMEs ให้เข้าสู่ประเทศไทย 4.0 ...
    • type-icon

      กิจกรรมการส่งเสริม SMEs เข้าสู่ระบบการผลิตดิจิทัลด้วยจรวดสามลูก ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs ด้วยระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Value chain) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล; อิศเรศ ธุชกัลยา; นภดล อุชายภิชาติ; ดุลยโชติ ชลศึกษ์; อภิวัฒน์ มุตตามระ; จักร ชวนอาษา; สวัสดิ์ ภาระราช; พิศาล แก้วประภา; สมศักดิ์ วงษ์ประดับไชย; ชลดา เหลืองอาภา; ศุภกิจ พฤกษอรุณ; อนินทยา คำกันยา; สนันตน์เขม อิชโรจน์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2564-09-15)

      จากนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในประเทศไทยตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป็นการประสานความสามารถของเทคโนโลยีการผลิตเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น เพื่อให้สอดรับกับประเทศไทย 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้กำหนด 10 อุตสาหกรรม เป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานส่งเสริม และพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนพัฒนา SMEs ให้เข้าสู่ ประเทศไทย 4.0 ...
    • type-icon

      กิจกรรมการส่งเสริม พัฒนา โรงงานต้นแบบแปรรูปสมุนไพร (Support Center Model) ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs สมุนไพรเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ 2560 ประเด็นเมืองสมุนไพร 

      กิตติพงศ์ ไชยนอก (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      อุตสาหกรรมสมุนไพรเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและสามารถสร้างความยั่งยืนในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของสินค้าและเทคโนโลยี สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยได้ ประกอบกับความต้องการใช้สมุนไพรในประเทศไทยและทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์และสารสกัดสมุนไพร จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยให้ความสนใจสมุนไพรมากยิ่งขึ้น แต่การบริหารจัดการอุตสาหกรรมส ...
    • type-icon

      กิจกรรมการส่งเสริมการรวมกลุ่มสมุนไพร (Cluster) โครงการเพิ่มศักยภาพ SMEs สมุนไพรเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย กลุ่มเป้าหมาย วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) วิสาหกิจชุมชน จำนวน 4 เครือข่าย 

      กิตติพงศ์ ไชยนอก (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2017)

      จากนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สู่แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เพื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายใน อุตสาหกรรมสมุนไพร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทั้งสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ ภูมิปัญญาที่สั่งสมเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคและดูแลสุขภาพของตนเอง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มความต้องการของโลกอนาคต ทางรัฐบาลจึงตั้งเป้าพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเมืองสมุนไพร โดยมีนโยบายการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรอย่างเป็นระบบและยั่งยืนตลอดห่วงโซ่ ให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจอย่า ...
    • type-icon

      กิจกรรมการเชื่อมโยงระบบ e-commerce และแสดงผลงานผ่านเว็บไซต์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ปี 2559 

      ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2016)

      สถาบันได้ดำเนินการวิเคราะห์กลุ่มผู้ประกอบการเป้าหมาย และได้ทบทวนหลักสูตรฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) และการเปิดและการจัดการร้านค้าผ่านเว็บไซต์ตลาดสินค้าออนไลน์ (e-market place) คือ lnwshop และ Alibaba ซึ่งเป็นเว็บไซต์ตลาดสินค้าออนไลน์ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว ในปี 2558 เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่ผ่านกระบวนการให้คำปรึกษาแนะนำการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ปี พ.ศ. 2559 รวมระยะเวลา 12 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ...
    • type-icon

      กิจกรรมการเพิ่มศักยภาพธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปสู่ Smart Factory ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) 

      ธีร เจียศิริพงษ์กุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-10-29)

      ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ผลักดันกิจกรรมการเพิ่มศักยภาพธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูปสู่ Smart Factory ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพและยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เกษตรแปรรูป) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป โดยการนำเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) มาใช้ในการดำเนินธุรกิจและปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) ได้อย่างเหมาะสม และเพื่อให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒน ...
    • type-icon

      กิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ภายใต้โครงการปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร) ตามแนวประชารัฐ ประจำปีงบประมาณ 2561 

      คมน์ พันธรักษ์ (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-02-13)

      สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น (Value Added) ให้กับกองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรมกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการ“ปั้นนักธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไทย (SMEs เกษตร)” แก่วิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก จำนวน 150 กลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร โดยการแปรรูปและพัฒนาวัตถุดิบ จากผลิตผลทางการเกษตร โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ...
    • type-icon

      กิจกรรมติดตามประเมินผลโครงการพัฒนาศูนย์ประสานงาน (Command Center) และนำร่องการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศ นอร์ทเทิร์นไทยแลนด์ฟู๊ดวัลเลย์ ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 (เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน) 

      อุรุยา วีสกุล (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2563-09-21)

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอาหารและอุตสาหกรรมเกษตรเชิงนวัตกรรม ตลอดจนแผนงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้อง และเพื่อสรุปผลการดำเนินงานของที่ปรึกษา พื้นที่ดำเนินการ คือ จังหวัดในกลุ่มพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 2 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ...
    • type-icon

      กิจกรรมติดตามและประเมินผลโครงการภายใต้ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality to the World) ประจําปีงบประมาณ 2558 

      พีระ เจริญพร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2015)

      โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก (Thailand Food Quality to the World) ปี 2558 มีการดำเนินงานโครงการได้แบ่งออกเป็นกิจกรรมย่อยทั้งหมด 10 กิจกรรม โดยรายงานฉบับนี้เป็นผลการดำเนินงานของกิจกรรมที่ 10 ซึ่งเป็นกระบวนการติดตามและประเมินผลกิจกรรมที่ 1 – 9 ภาพรวมการติดตามและประเมินผลโครงการ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2558 พบว่า กิจกรรมทั้งหมดทั้งหมดดำเนินการได้เสร็จสิ้นตามแผนการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว โดยมีผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดของโครงการ คือ 1) ผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 190 ผลการติดตามพบว่า มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น ...
    • type-icon

      กิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักธุรกิจบริการมืออาชีพและนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูง ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชนและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประจำปี 2562 

      พีระ เจริญพร (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2020-05-08)

      ธุรกิจบริการมีความสำคัญต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก รัฐบาลจึงมีนโยบายพัฒนาขีดความสามารถของธุรกิจ โดยมุ่งเน้นการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน สร้างงาน สร้างรายได้ และการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้รับมอบหมายในการส่งเสริมพัฒนาผลักดันด้านการตลาดของธุรกิจบริการของประเทศ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2562 ได้จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพธุรกิจบริการให้มีศักยภาพพร้อมยกระดับผู้ประกอบธุรกิจบริการสู่ความเป็นมืออาชีพ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ 1) นักธุรกิจบริการมืออาชีพ (Smart Professional ...